'เศรษฐา'กล่าวถ้อยแถลงบอกประชาธิปไตยที่ใช้ในที่หนึ่งอาจไม่เหมาะใช้ในทุกที่!

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงในการประชุม Summit for Democracy ย้ำจุดยืนไทยมุ่งขับเคลื่อนประชาธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวและเป็นสากลตามหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่อง

20 มี.ค.2567 - เวลา 11.27 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงโซล ซึ่งเร็วกว่ากรุงเทพฯ 2 ชั่วโมง) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย ครั้งที่ 3 (The 3rd Summit for Democracy) ภายใต้หัวข้อหลัก Democracy for Future Generations ในรูปแบบการบันทึกวีดิทัศน์ ตามคำเชิญของนายยุน ซ็อก ย็อล (H.E. Mr. Yoon Suk Yeol) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เป็นตัวแทนของประเทศร่วมงาน การประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยเป็นก้าวสำคัญในการตอกย้ำค่านิยมประชาธิปไตย รัฐบาลไทยมุ่งมั่น ให้ความสำคัญกับบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ทุกวันนี้ประชาธิปไตยเผชิญหน้ากับความท้าทาย ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มมากขึ้น และผลจากโซเชียลที่ทำให้เกิดความแตกแยก โดยนายกฯ ได้กล่าวถึงความท้าทายเหล่านี้

1.ประชาธิปไตยภายใต้หลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของพลเมือง สังคมที่มีส่วนร่วม หลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชน นายกฯ ย้ำว่าประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนในนหลากหลายมิติ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมถึงสิทธิทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม พร้อมทั้งยอมรับความท้าทายและข้อจำกัดในอดีต ซึ่งรัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิดังกล่าวด้วยการต่อยอดความสำเร็จที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า Universal Health Coverage และการศึกษาสำหรับทุกคน Education for All ทั้งนี้ นายกฯ ภาคภูมิใจกับความคืบหน้าของร่างกฎหมายความเท่าเทียมในการแต่งงาน โดยกล่าวว่าร่างกฎหมายนี้จะช่วยผสานความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์และส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคทางสังคมในไทยมากขึ้น

2.ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการต่อเนื่องมิใช่จุดหมายปลายทาง (democracy is an ongoing process, not a final destination) การมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต้องใช้ความพยายามและการบำรุงเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติมเต็มความคาดหวังของประชาชน อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศที่เคยเผชิญบาดแผลทางประชาธิปไตย การจัดการกับความคาดหวังของสาธารณชนและการบำรุงเลี้ยงประชาธิปไตย ถือเป็นความพยายามที่ต้องใช้ความทุ่มเทและความมุ่งมั่นอันแน่วแน่

3.ประชาธิปไตยที่ใช้ในที่หนึ่งอาจจะไม่ได้เหมาะกับการใช้ในทุกที่ แต่ส่วนสำคัญ คือ หลักการประชาธิปไตยต้องเป็นหนึ่งเดียวและเป็นสากล เราเชื่อในคุณค่าของประชาธิปไตย แต่ทั่วโลกมีประชาธิปไตยและระบบการเมืองที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายเดียวกัน ซึ่งเป็นความท้าทายระหว่างรุ่น ครอบคลุมตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความแตกแยกทางดิจิทัล นายกฯ รีจึงเห็นว่าสิ่งที่ทั่วโลกต้องการในขณะนี้คือความร่วมมือระหว่างประเทศ ความร่วมมือพหุภาคี และความร่วมมือด้านมนุษยธรรมที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ในช่วงท้าย นายกฯ กล่าวว่า ผู้นำต้องรับฟังและเคารพเจตจำนงของประชาชน รวมถึงต้องฟังจากเยาวชนมากขึ้น เพราะนั่นคือวิธีที่รับประกันได้ว่าประชาธิปไตยจะเติบโตต่อไปและเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาของคนรุ่นต่อไปในอนาคต

อนึ่ง การประชุม Summit for Democracy จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 มีนาคม 2567 โดยจัดขึ้นใน 3 ระดับได้แก่ 1.ระดับผู้นำผ่านระบบการประชุมทางไกล หรือกล่าวถ้อยแถลงในรูปแบบการบันทึกวีดิทัศน์ 2.ระดับรัฐมนตรี ในหัวข้อปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีดิจิทัล แบบ In-person และ 3.การประชุมของภาคประชาสังคมและเยาวชนในรูปแบบ In-person

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่ง ปปง.เร่งยึดทรัพย์แก๊งค้ายา

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ สั่ง ปปง.มีอำนาจพิเศษสูงต้องทำงานแบบล้วงลูก เร่งยึดทรัพย์ตัดตอนขบวนการค้ายาฯ อย่ามัวแต่ช้า หวั่นโอนเงินหนี กำชับอย่าทำงานแบบไซโลให้เป็นข้อครหา

'เศรษฐา' ฟุ้งเตรียมถกมะกันตัดตอนยาเสพติด

นายกฯ มอบอุปกรณ์ป้องกันและตอบโต้กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ย้ำให้ความสำคัญถือเป็นความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ กำชับดูแลการจ่ายรางวัลนำจับเหมาะสม ไม่ใช่รอนานจนเกษียณถึงได้ เตรียมคุย 'ทูตมะกัน' ตัดตอนยาบ้า

งงตรรกะประหลาด 'อานันท์' มี 'พล.อ.สุนทร' ได้ 'เศรษฐา 'ก็มี 'ทักษิณ' ให้คำปรึกษา

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ และประธานกรรมการนโยบายขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส โพสต์ข้อความว่า