'ชลน่าน' ฟุ้งเห็นข้อสอบ สว.หมดแล้ว รอสวนแจงผลงานแทน

19 มี.ค.2567- ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการอภิปรายมาตรา 153 ของสว. มีการเก็งข้อสอบอย่างไรว่า คงไม่ต้องเก็งอะไร เพราะเขาเปิดข้อสอบแล้ว มี 7 ประเด็นที่เขาเปิดเผยออกมา ที่ซักถามและเสนอแนะปัญหากับรัฐบาล เราจะดูตามนั้นว่า รัฐบาลจะต้องเตรียมตอบและชี้แจงข้อเท็จจริงอะไร หรือปัญหาที่เขาเสนอแนะมาเรามีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร แต่หลักกระทรวงและคนที่เกี่ยวข้องจะเตรียมการเรื่องเหล่านี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ไม่ห่วงว่าจะกระทบความน่าเชื่อถือของรัฐบาลใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เรามอง 2 มุม การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ หากใช้ตรงนี้ให้เป็นประโยชน์ เชื่อว่ารัฐบาลจะได้คะแนนจากตรงนี้ ถ้าเรามีความมั่นใจ เชื่อมั่น กระบวนการ วิธีการ และหน้าที่ในการทำงาน ที่สุดแล้ว ก็เอาผลงานที่ได้ทำกับประชาชน มาชี้แจงในสภา เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

มติ 153 สว. ยืนประชามติ 2 ชั้น! อบรม 'ไอติม' พูดได้ไงจะมีผู้รณรงค์ให้ปชช.นอนหลับทับสิทธิ์

สว. ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่านกม.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น ก๊วนสว.พันธุ์ใหม่ โวยดัดจริต สองมาตรฐาน โธ่! "ไอติม" โชว์กึ๋นนักเรียนนอก บอกสองชั้นเปิดช่องรณรงค์ให้ประชาชนนอนหลับทับสิทธิ์ สว.สีน้ำเงิน สวนทันควันใครจะกล้าทำแบบนั้น

กกต. ยื้อเชือด 'หมอเกศ' สั่งสอบเพิ่มปมวุฒิการศึกษา

มีรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ มีวาระพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย  สมาชิกวุฒิสภา ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ

‘สว.เปรมศักดิ์’ โวย ‘รมต.’ เมินตอบกระทู้ ประชดต้องฟ้อง ‘รัฐมนเอก’ ปรับจาก ครม.

รัฐบาลน่าจะแสดงความรับผิดชอบให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาตอบ ส่วนกระทู้สดไม่ได้ถามเลยแม้แต่กระทู้เดียวโดยรัฐบาลอ้างว่ามอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทยมาตอบ แต่ทางรัฐมนตรีก็เลื่อนออกไปอีก

มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,