'พิธา' ลุยเชียงใหม่ บอกไม่ใช่เวลามาวัดพลัง 'เศรษฐา-ทักษิณ'

16 มี.ค.2567 - นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เพื่อปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าร่วมกับภาคประชาสังคม

โดยทันทีที่นายพิธามาถึงได้มีแฟนคลับจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน ผู้โดยสาร ผู้ประกอบการและลูกจ้างร้านอาหารในสนามบินที่ทราบมารอต้อนรับ พร้อมขอถ่ายรูปด้วย และไปส่งถึงรถ

นายพิธาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงประเด็นที่มีการเปรียบเทียบการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ของนายพิธากับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ช่วงเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะมาเปรียบเทียบกัน เราเอาปัญหาของประชาชนมาเป็นที่ตั้ง แล้วข้อมูลก็เห็นชัดกันอยู่ว่าปีนี้หนัก เราในฐานะฝ่ายค้าน เป็น สส. เป็นผู้แทนราษฎร ถ้าจะพูดได้ก็ต้องเห็นจริง

เมื่อถามว่าอาจจะถูกมองว่าเป็นการวัดพลังมวลชน นายพิธา กล่าวว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวัดพลัง มันไม่ใช่เวลาที่จะมาเปรียบเทียบอะไร เราต้องคิดว่าจะแก้ปัญหาให้ประชาชนเร็วที่สุดได้อย่างไร แต่ถอดบทเรียนได้อย่างไร ที่ปีหน้าเวลาเดิมปัญหาฝุ่นจะทุเลาลงกว่านี้

“ข้อเท็จจริงที่เถียงไม่ได้ก็คือตอนนี้เชียงใหม่แย่ที่สุด ข้อเท็จจริงที่เถียงไม่ได้คือก้าวไกลมี สส. 7 คนจาก 10 คน เถียงไม่ได้คือพรรคก้าวไกลเป็นประธานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม สส. เป็นฝ่ายค้านมันก็ต้องทำหน้าที่ เพราะฉะนั้น เราเอาประชาของประชาชนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เอาใครมาเป็นตัวตั้ง” นายพิธา กล่าว


ส่วนจะเป็นการปูทางไปสู่การเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า การมาครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกัน ที่ผ่านมา การเดินสายของตน วันเสาร์อาทิตย์จะลงพื้นที่เพื่อดูปัญหาประชาชน ตอนนี้ยังไม่ได้คิดเรื่องการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เราเอาไฟป่าเป็นที่ตั้ง เพราะมีความฉุกเฉินจริงๆ พร้อมถามกลับผู้สื่อข่าวด้วยความตกใจว่า หนักขนาดนี้โรงเรียนยังไม่หยุดใช่หรือไม่ นอกจากนี้ยังไม่มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ทำให้ไม่สามารถใช้งบได้ ดังนั้นการเป็นผู้แทนราษฎร ก็ต้องเข้าใจเรื่องนี้

“ฝ่ายค้านก็ต้องทำงานเหมือนกัน ไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียว มีออก พ.ร.บ. ห้ามฝ่ายค้านทำงานหรือไม่ มันก็ไม่ใช่ เราก็มีหน้าที่ต้องทำงานเหมือนกัน” นายพิธา กล่าว

นายพิธา กล่าวอีกว่า สัปดาห์หน้าจะอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วาระที่ 2-3 แล้ว พรรคก้าวไกลจะอภิปรายเรื่องนี้อย่างแน่นอน ส่วนจะอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 หรือไม่ ต้องรอดู ยังไม่ถึงเวลาเฉลย

เมื่อถามว่าการเคลื่อนไหวของนายทักษิณ ทำให้กระแสของพรรคก้าวไกลลดลงหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า ตอนนี้ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องกระแส คงทำงานให้เต็มที่ เพราะปัญหาสำคัญมีเยอะ

“วิกฤตของเชียงใหม่ตอนนี้สำคัญมากกว่ากระแสของพรรคอยู่แล้ว เดี๋ยวก็จะมีอภิปรายงบประมาณ อภิปรายทั่วไป ต้องบินไปประชุมรัฐสภาสากลที่เจนีวาอีก ทำงานในช่วงเวลาสำคัญ และในวิกฤตของพรรคไม่ได้เป็นความลับอะไร เรื่องยังอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นทำหน้าที่ให้ดีที่สุด” นายพิธา กล่าว


นายพิธา ย้ำว่า ไม่ได้คิดถึงกระแสของนายทักษิณ จะทำให้กระแสของพรรคก้าวไกลลดลง เรื่องคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้ายังเร็วเกินไป ที่ยังจำได้ไม่ลืมก็คือการเลือกตั้งที่ผ่านมาคนเชียงใหม่ออกมาใช้สิทธิ์กันเยอะ 81% แล้วพรรคก้าวไกลก็ได้มาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นตรงนี้ไม่ได้มองไปในอนาคต แต่มองที่ปัจจุบันและย้อนไปที่อดีต และไม่ลืมความไว้วางใจที่พี่น้องชาวเชียงใหม่ให้ไว้กับพวกเรา


“ถึงเวลาจะผ่านมา 8 เดือน ก่อนที่ท่านให้ความไว้วางใจเป็นอย่างไร หลังจากที่ท่านให้ความไว้วางใจมาแล้ว ก็ยังเหมือนเดิม ยิ่งตอกย้ำเหตุผลว่าทำไมอดีตหัวหน้าพรรคหรืออดีตแคนดิเดตนายกฯคนนั้น ต้องมาเชียงใหม่ในช่วงที่เขาลำบากมากที่สุดด้วย” นายพิธา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489