'ชยพล' ชี้ รัฐบาลคิดผิด ค้าน ‘กองทัพเรือ’ ซื้อเรือฟริเกต เหตุมีประโยชน์ความมั่นคงทางน่านน้ำ มองไกลพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้ ไล่ไปอยู่บ้านดีกว่า ถ้ากลัวก้าวพลาด บอกคงไม่ทันบรรจุเข้างบ 68 หวั่น เสี่ยงเกิดภัยความมั่นคงระหว่างรอเรือ โอด เสียดายไทยพลาดโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจ
15 มี.ค.2567- ที่อาคารอนาคตใหม่ ที่ทำการพรรคก้าวไกล คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 สัดส่วนพรรคก้าวไกล โดยนางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรค , นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และนายชยพล สท้อนดี สส.กทม. จัดแถลงข่าว Policy Wach ในหัวข้อ "รวบตึงงบฯ 67 จากห้อง กมธ.“
โดยนายชยพล กล่าวถึง การจัดซื้อเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือ ว่า อาจจะถือเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ที่จะปกป้อง โอกาสทางธุรกิจและโอกาสทางด้านความมั่นคงของประเทศ โดยตนขอใช้ชื่อว่าไร้เรือ ไร้รั้ว ไร้ความรับผิดชอบ ในการประชุม กมธ.งบ ทางกองทัพเรือได้ตั้ง งบประมาณจำนวน 1,700 ล้านบาท เพื่อขอซื้อเรือฟริเกตลำใหม่รุ่นที่ผ่านมากองทัพเรือสื่อสารมาตลอดว่าเป็นการซื้อเพื่อเป็นเรือคู่แฝดกับเรือรบภูมิพลที่ซื้อมาจากประเทศเกาหลี
ทั้งนี้ ในชั้นอนุกรรมาธิการงบด้านความมั่นคง กองทัพเรือได้นำเอกสารมาชี้แจงถึงความจำเป็น และวัตถุประสงค์ของการจัดหาเรือในครั้งนี้ แต่สุดท้ายห้องอนุกรรมาธิการงบความมั่นคง ได้ลงมติให้ตัดงบ ประมาณในการจัดหาเรือ ฟริเกต ลำนี้ไปและถึงแม้กองทัพเรือได้ขออุทธรณ์เข้ามาที่ห้องกรรมาธิการงบใหญ่และ ชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น ทั้งความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจแต่ก็ถูกมติของห้องใหญ่ปัดตกอีกรอบหนึ่ง
โดยตามการประเมินของกองทัพเรือได้ประเมินไว้ว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีเรือฟริเกตทั้งหมด 8 ลำ เพื่อปกป้องน่านน้ำประเทศไทย โดยแบ่งพื้นที่เป็นฝั่งอันดามัน 4 ลำ และฝั่งอ่าวไทย 4 ลำ แต่ในปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือฟริเกตใช้งานเพียง 4 ลำเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงรัตนโกสินทร์อายุ 38 ปี , เรือหลวงนเรศวรอายุ 30 ปี , เรือหลวงตากสินอายุ 29 ปี และเรือหลวงภูมิพลอายุ 5 ปี
ซึ่งจากการชี้แจงของกองทัพเรือ อายุของเรือฟริเกตจะใช้กันอยู่ที่ราวๆ 30 ปีเท่านั้น แต่เนื่องจากว่ากองทัพเรือไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ซื้อเรือฟริเกตลำใหม่ จึงจำเป็นต้องส่งซ่อมเรือและยืดอายุการใช้งานยาวไปจนถึง 40 ปี ค่อยปลดระวาง หรือเหลือเวลาใช้งานเรือหลวงรัตนโกสินทร์ที่อายุ 38 ปีแล้ว เพียงแค่ 2 ปี และจะปลดระวางในปี 69 ทำให้ไทยกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่จะเหลือเรือฟริเกตใช้งานเพียงแค่ 3 ลำเท่านั้น ซึ่งการต่อเรือฟริสเกตจะต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปี ซึ่งถ้าได้รับอนุมัติโครงการภายในงบประมาณปี 67 ไทยจะเหลือเรือฟริเกตใช้งานเพียง 3 ลำ ในระยะเวลา 2 ปี ก่อนที่จะได้รับเรือลำใหม่
"เมื่อไม่ได้รับการอนุมัติงบภายในปี 67 นี้ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะได้รับการอนุมัติงบอีกทีในงบปี 69 เนื่องจากช่วงเวลาในการส่งคำของบปี 68 ได้ปิดลงไปแล้ว ทำให้เราอาจจะได้รับเรือช้าในปี 73 เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเราจะมีเรือฟริเกตเพียง 3 ลำ ที่จะใช้งานยาวถึง 4 ปี ซึ่งเป็นความเสี่ยงทางความมั่นคงอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับจำนวนยุทโธปกรณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน มีเรือฟริเกต ตั้งแต่ 3-14 ลำ หากเกิดภัยความมั่นคงทางทะเลขึ้นมาในช่วงเวลาตรงนี้กองทัพเรือจะไม่มีเรือใช้งานเราก็คงจะโทษใครไม่ได้นอกจากการตัดสินใจและการบริหารของตัวรัฐบาลเอง" นายชยพลกล่าว
สำหรับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กองทัพเรือได้ชี้แจงว่า การจัดหาเรือฟริเกตในครั้งนี้ กองทัพเรือมี นโยบายทางเศรษฐกิจด้านการป้องกันประเทศ เป็นสำคัญ เพราะมีความตั้งใจให้มีการต่อเรือลำนี้ในไทย โดยทำสัญญาความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อรับองค์ความรู้ในการต่อเรือไปใช้ในการต่อยอดอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือ การเพิ่มองค์ความรู้ในการต่อเรือ , เกิดการจ้างงาน , เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในประเทศ , เพิ่มโอกาสในการลงทุนและสนับสนุนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ , พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ,พัฒนาความสามารถของอู่ต่อเรือ , สามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีป้องกันประเทศ , สร้างอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
นายชยพล กล่าวอีกว่า การจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ไม่เหมือนกับการจัดซื้อเรือดำน้ำ เพราะการจัดซื้อเรือลำนี้ จะมาพร้อมกับโอกาสทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สร้างโอกาสให้ประเทศไทยเกิดประโยชน์ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ซึ่งกองทัพเรือยืนยันว่าโครงการจัดหาซื้อเรือฟริเกตในครั้งนี้จะสามารถทำให้ไทยต่อเรือเองได้ซ่อมเองได้ และผลิตขายต่อได้ในอนาคต กองทัพเรือยืนยันว่าโครงการนี้จะถ่ายทอดองค์ความรู้ระดับสูงให้กับ แรงงานไทยไม่ใช่เพียงแค่การจ้าง และจะแตกต่างกับกรณีเรือดำน้ำแน่นอน รวมถึงผู้บัญชาการกองทัพเรือ (ผบ.ทร.) เองก็ได้ยืนยันว่า พิจารณาเรื่องของการจ่ายมูลค่าโครงการนี้เป็นผลผลิตอื่นของประเทศด้วยไม่จำเป็นจะต้องเอาแค่เงินสดไปแลก
"ดังนั้น ข้อมูลทั้งหมดนี้จึงเห็นว่า เราขาดยุทโธปกรณ์ในการปกป้องน่านน้ำไทยจริง ไม่ใช่สถานการณ์ของการเสริมสร้างรั้วของความมั่นคงเช่น การซื้อยุทโธปกรณ์ครั้งอื่น แต่ครั้งนี้เป็นสถานการณ์ที่ประเทศไทยเราไม่มีรั้วในการป้องกันน้ำน้ำทะเลไทยแล้ว จึงเป็นจะต้องจัดซื้อให้ทันการใช้งานและลดช่องว่างที่ไทยจะอ่อนแอทางด้านการปกป้องน่านน้ำไทยให้น้อยที่สุด "
นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจก็สำคัญ เพราะเงินทั้งหมด 17,000 ล้านบาท จะถูกใช้เพื่อจุดประกายอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ในการต่อเรือให้ตอบโตได้ขึ้นได้จริงในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการผลิตขายต่อให้กับต่างประเทศในอนาคต เช่นเดียวกับที่ประเทศเกาหลีได้ทำสำเร็จแล้ว ในตอนนี้จึงบอกว่าการลงทุนครั้งนี้ ถ้ากองทัพเรือสามารถ ทำตามวัตถุประสงค์ ที่ตนเองวางไว้ได้ทั้งหมดก็สมควรที่จะสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว
แต่อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่กรรมาธิการสัดส่วนอื่นๆไม่ได้มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบอกว่า ไม่จำเป็นไม่เร่งด่วนรอบรรจุในงบปีถัดไป ,TORไม่ชัดเจน , แผนวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน
"ผมคิดเป็นอื่นไม่ได้ว่าไม่ได้อ่านเอกสาร และมีการตั้งธงมาแล้วว่าจะต้องมีการตัดเท่านั้น จึงไม่ได้มีการเดินออกมาอ่านเอกสารเลย มีแต่ออกความคิดเห็นไปในเชิงลบอย่างเดียว และไม่ได้ฟังความจำเป็นทางด้านความมั่นคงและเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต" นายชยพลกล่าว
ขณะที่พรรคก้าวไกลสนับสนุนให้มีการซื้อเรือฟริเกตก็มี สส.ฝั่งรัฐบาลออกมาให้ความคิดเห็นต่อท่าทีของพรรคก้าวไกล ที่บอกว่าเลื่อนลอย หวังดิสเครดิตรัฐบาล ซึ่งตนก็มองว่าเลื่อนลอยในตัวมันเอง เพราะเราได้ดูข้อมูลแล้วเห็นภาพใหญ่ของโครงการแล้วว่าสามารถสร้างประโยชน์ต่อประเทศได้และตนมีหลักฐาน จากมติ ครม.วันที่ 5 ตุลาคมปี 66 โดยรัฐบาลนี้เองเป็นคนออกความคิดเห็นว่าเห็นด้วยกับตัวโครงการ โดยผู้ที่ได้รับทราบกับโครงการนี้มีกระทรวงกลาโหม,กระทรวงการคลังกระทรวงคมนาคม,สำนักงบประมาณ,สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
"ผมไม่แน่ใจว่าได้มีการคุยกันเองกันก่อนหรือไม่ ที่จะออกมาค้านที่พรรคก้าวไกลสนับสนุนโครงการนี้เพราะมันก็คือ มติของครม. ของรัฐบาลเอง แล้วกลายเป็น สส. ของรัฐบาลเองที่ออกมาค้าน แล้วกลายเป็นกรรมาธิการของรัฐบาลเองที่ออกมาค้าน ผมขอแนะนำให้ทุกคนไปคุยกันเองก่อนดีกว่า ไม่ใช่อนุมัติมาอย่างนี้แล้วมา ตีตกทีหลัง แล้วไม่รับผิดชอบอะไรอย่างนี้เลย แล้วปล่อยให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง สูญเสียโอกาสทาง เศรษฐกิจในระดับนี้ได้" นายชยพลกล่าว
นอกจากนี้ สส.ฝ่ายรัฐบาล ยังบอกว่าพรรคก้าวไกลขัดหลักการพรรคตนจึงขอทำความเข้าใจใหม่ว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้มีจุดยืนต่อต้านการจะซื้อยุทโธปกรณ์ เพียงแต่จุดยืนของเราคือการที่ยุทโธปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจความจำเป็นทางด้านความมั่นคงที่มีหลักฐานประกอบอย่างแท้จริง นั่นคือเหตุผลที่พรรคก้าวไกลไม่ได้ตั้งเป้าในการตัดงบ
"นี่เป็นการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง การที่เข้าใจว่าพรรคก้าวไกลตั้งตัวเป็นปรปักษ์ต่อกองทัพ เพราะความจริงแล้วเราตั้งเป้าไว้เพียงแค่ให้กองทัพเป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพ กะทัดรัด และสมเหตุสมผลและทำงานทุกอย่างได้อย่างคุ้มค่าคุ้มงบประมาณให้เหมาะสมกับเม็ดเงินที่ลงทุนไปกับกองทัพ" นายชยพลกล่าว
ส่วนที่สส.ฝั่งรัฐบาลบอกว่า หากไม่เกิดการจ้างงานจริงหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีจริงจะเป็นข้ออ้างในการโจมตีรัฐบาล ตนมองว่า ฝหน้าที่ในการบริหารประเทศและหน่วยงานรัฐบาลเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้วที่จะต้องดูแลจัดการบริหารให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้จริง แต่กลับมาออกความคิดเห็นแบบนี้เป็นความคิดเห็นในแง่ลบ กลัวว่าตัวเองจะก้าวพลาดเลยไม่เลือกที่จะก้าวเลย แล้วมาเป็นรัฐบาลทำไม ถ้าจะมาเสนอตัวมาบริหารประเทศ แต่จะไม่เลือกที่จะพาประเทศก้าวหน้า เพราะกลัวว่าตัวเองจะก้าวพลาดนั่งอยู่กับบ้านดีกว่า ไม่รู้จะมาเป็นรัฐบาลทำไม
"กองทัพเรือกำลังบอกเราอยู่ว่าเราไม่มีเรือแล้ว กองทัพเรือ ไร้เรือ ไร้รั้ว และไร้ความรับผิดชอบจากรัฐบาล เป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลอย่างยิ่ง แผนของโครงการนี้เป็นเพียงการจัดหายุทโธปกรณ์ตามแผนขั้นพื้นฐานที่เราได้เห็นหลักฐานแล้ว พร้อมนำพาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาให้ แต่รัฐบาลเองกลับไม่มีวิสัยทัศน์พอที่จะมองเห็นได้ ซ้ำร้ายยังมีความคิดเห็นของบางคนสะท้อนให้เห็นถึงความกลัวที่จะพาประเทศเดินหน้าต่อเพราะกลัวการบริหารประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพของตนเองเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะพลาดโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจครั้งนี้ไป แล้วปล่อยให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ไร้เรือ ไร้รั้ว ไร้ความรับผิดชอบ" นายชยพลกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
'ทร.' เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 'วันลอยกระทง' ดูแลตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
ทร. เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยวันลอยกระทง จัดกำลังพล 239 นาย เรือ 44 ลำ ดูแลความปลอดภัยตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
'ภูมิธรรม' ไม่ขีดเส้นตาย 'ทัพเรือ' ชี้แจงเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำเป็นของจีน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ หลังสั่งการให้กองทัพเรือไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ CHD620 ของจีน และการขยายสัญญา 1,217 วัน
ศรชล.-ทรภ.3 ร่วมดูแลเรือใบอิตาลี สวยที่สุด อายุเก่าแก่ เทียบท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค3) เปิดเผยว่า พลเรือโทสุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ทรภ.3)/ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3)
จ่อร้องยุบรัฐบาล! ‘วีระ’ อ้างเป็นกบฏทำ เสียดินแดน / ‘ผบ.ทร.’ ลงพื้นที่เกาะกูด
ผบ.ทร.ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกำลังพลหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด กำชับกำลังพลหากมีเรื่องใดขัดข้องให้รีบแจ้งเพื่อแก้ไข ขณะที่นายอำเภอเกาะกูดลั่นเป็นของไทยมากว่า
'บิ๊กแมว' ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด ยืนยันพร้อมดูแลประชาชนอยู่กินอย่างสงบสุข
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญ