'ยะใส' เผยนิรโทษฯคดี 112 ยังเห็นต่างกัน มอง 'ทักษิณ' ขยับเข้าเส้นการเมืองเร็วไป

14 มี.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ชุมนุมเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เปิดเผยภายหลังการเข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ว่า บรรยากาศภาพรวมดีมาก ทุกฝ่ายพูดความอัดอั้นตันใจและมีข้อมูลใหม่ ที่แม้แต่ตนก็ยังไม่เคยรู้มาก่อน แต่คิดว่าปัญหาอยู่ที่การตั้งหลักการทำงานของ กมธ. ชุดนี้ ว่าจะจัดการโจทย์ทั้งหลายอย่างไร และต้องดูเรื่องของเวลา นโยบายรัฐบาล และการสัมฤทธิ์ผลการปรองดอง ว่าจะไปด้วยกันได้หรือไม่ ถ้าบริหารจัดการดีก็มีโอกาส

นายสุริยะใส กล่าวว่าอย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ยังมีความเห็นต่างกันใน กมธ.อยู่ ตนคิดว่าต้องไปตั้งแท่นดูเรื่องนี้ให้ละเอียด เพราะอย่างข้อมูลจากไอลอว์นำเสนอ บางเรื่องก็เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนตัวมองว่าควรมีการนิรโทษกรรม ม.112 หรือไม่ นายสุริยะใส กล่าวว่า ควรมีกลไกขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เห็นต่างกันสุดขั้ว เพราะคดีการเมืองเป็นเรื่องที่ทำง่ายและไม่มีปัญหา แต่เรื่อง ม.112 มีข้อมูลต่างกัน ซึ่งข้อมูลยังไม่พอ ทาง กมธ. จะตั้งกลไกขึ้นมาดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ และต้องถามไปยังศาลถึงจำนวนและลักษณะคดีทั้งหมด ดังนั้นต้องให้เวลากับ กมธ. ไปตรวจสอบ

เมื่อถามว่า เรื่อง ม.112 จะทำให้กฎหมายนิรโทษกรรมไม่ผ่านทั้งฉบับหรือไม่ นายสุริยะใส กล่าวว่า ตนก็ตั้งคำถาม ทั้งนี้ ต้องดูว่าข้อมูลและลักษณะคดีเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าบางคนก็จาบจ้วงจริง บางคนก็มีอุดมการณ์ และบางทีเขาก็ไม่ได้ต้องการให้นิรโทษกรรม ดังนั้นถ้าเราตั้งหลักเรื่องนี้ดีๆ เริ่มจากข้อมูลที่ตรงกัน จำแนกคดีเป็นกองๆ ก็ยังมีโอกาส ไม่ได้ปิดประตูเสียทีเดียว

นายสุริยะใส ยังให้สัมภาษณ์กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ทุกก้าวย่างของนายทักษิณจากนี้ต่อไปต้องระวังให้ดี การพักโทษเพิ่งผ่านมาได้ไม่กี่สัปดาห์ นายทักษิณเริ่มขยับเข้าสู่เส้นทางการเมืองเร็วไป เมื่อมีการขยับเข้าสู่เส้นทางการเมืองที่เร็วมากเกินไปน ผู้คนก็จะเริ่มรู้สึกว่าช่วงที่ผ่านมาอาการป่วยของนายทักษิณนั้น เป็นเรื่องโกหกจนส่งผลต่อความความรู้สึกไม่พอใจของผู้คน แม้จะมีการขออภัยโทษแล้ว แต่ก็ยังพยายามที่จะมีอิทธิพลเหนือการเมืองไทย ต้องยอมรับว่า คนชอบก็มี แต่ก็ยังมีคนเจ็บแค้นจากปัญหาเก่าๆ อยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ต้องระมัดระวังให้ดี

นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า หากในอนาคต นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดึงนายทักษิณมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หากปลอดจากข้อครหาแล้ว ตนคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา แต่จะสามารถขจัดภาพนายกรัฐมนตรี 2 คนได้อย่างไร ปัจจุบันแม้จะไม่มีตำแหน่งทางการเมือง แต่ก็ยังถูกวิจารณ์ว่า ใครคือนายกรัฐมนตรีตัวจริง เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องศึกษาให้ละเอียด

"ไม่เช่นนั้นเวลาที่ท่านนายกรัฐมนตรีเดินสายไปต่างประเทศจะไม่มีความหมาย เพราะคนบางกลุ่มจะรู้สึกว่า ไม่ได้คุยกับเบอร์หนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยจะต้องระมัดระวัง และต้องพูดคุยกันภายใน เพราะพรรคเพื่อไทยเองก็มีหลายกลุ่ม" นายสุริยะใส กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิพิฏฐ์' เฉลย 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยเป็นไปได้ 'ทักษิณ' ไม่ได้พูดเล่นๆ

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เปิดเผยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯหนีคดีทุจริตจำนำข้าว อาจจะกลับประเทศไทยก่อนสงกรานต์ปีหน้า ว่า ระบุว่า

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14

นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย

เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล

นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476