’วิโรจน์‘ ลั่นไม่เคยสนใจ ‘ทักษิณ’ ขอสบายใจ ‘ก้าวไกล‘ ไม่คิดเอาใครมาอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง

’วิโรจน์‘ ลั่น ไม่เคยสนใจ ‘ทักษิณ’ ขอสบายใจ ‘ก้าวไกล‘ ไม่คิดเอาใครมาอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โยนถาม ’ราชทัณฑ์‘ กลับบ้านเชียงใหม่ ถ้าเดินตลาดเหมาะสมหรือไม่ เห็นด้วยใช้ ’ทักษิณโมเดล‘ กับนักโทษอื่น แง้ม ’อภิปราย ม.152’ เน้นทวงถามความคืบหน้านโยบาย-เสนอแนะปัญหา

10 มี.ค. 2567 – นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ว่า มีเรื่องให้อภิปรายหลายประเด็น จะเป็นการทวงสัญญารัฐบาลว่าจะทำหรือไม่ทำ ตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ มีความคืบหน้าไปถึงไหน รวมถึงสิ่งที่ทำมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นลักษณะของการเสนอแนะว่าสิ่งที่รัฐบาลควรทำ และไม่ทำคืออะไร นอกจากนี้ยังมีปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งเรื่องมาเฟียข้ามชาติ อิทธิพลท้องถิ่น รวมถึฃการเรียกรับผลประโยชน์จากข้าราชการบางกลุ่ม ทุนสีเทา คอลเซ็นเตอร์ ไปจนถึงปัญหายาเสพติด การใช้อำนาจรัฐที่ไม่มีหลักนิติธรรม ระบบสองมาตรฐาน 

เมื่อถามว่ามองเรื่องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเตรียมเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่อย่างไรบ้าง นายวิโรจน์กล่าวว่า เป็นเรื่องของนายทักษิณ พวกเราไม่เคยสนใจประเด็นของนายทักษิณเลย แต่สนใจเนื้อหาสาระ และสิ่งที่นายทักษิณได้รับ ว่าเป็นสิทธิพิเศษหรือไม่ หรือคนอื่นที่มีเงื่อนไขคล้ายนายทักษิณพึงจะได้รับด้วย  ถ้าเป็นเรื่องสิทธิมาตรฐานเราเองก็ไม่ได้ติดใจอะไร 

ส่วนจะเป็นโมเดลให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกลับมาด้วยหรือไม่นั้น คงต้องติดตามดู แต่ตนคิดว่าสังคมไทย บาดเจ็บจากการเอบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาเป็นเงื่อนไขในการขัดแย้งมากพอแล้ว สมัยก่อนก็มีเรื่องนายปรีดี พนมยงค์ , จอมพลถนอม กิตติขจร , จอมพลประภาส  จารุเสถียร ไล่มาจนถึงพลเอกสุจินดา คราประยูร และนายทักษิณ ตนคิดว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล แต่อยู่ที่ตัวโครงสร้าง 

“ขอให้สบายใจว่าพรรคก้าวไกลไม่เคยมีความคิดเลย ที่จะหยิบยกเอาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งในหมู่ประชาชน และใช้วิธีการเช่นนั้น ทำให้สังคมกลับมาแตกแยกอีก แต่เราจะมุ่งแก้ไขที่โครงสร้าง วิพากษ์วิจารณ์และแก้ไขเนื้อหาสาระเป็นหลัก ดังนั้นยังยืนยันว่าทั้งนางสาวยิ่งลักษณ์และนายทักษิณ ไม่ได้อยู่ในสารบบคิดของพรรคก้าวไกลแต่เราให้ความสนใจ ใส่ใจ กับสิ่งที่คุณทักษิณได้รับ ถ้าเกิดได้รับบุคคลอื่นที่อยู่ในเงื่อนไขเดียวกันก็ควรได้รับด้วย“ นายวิโรจน์ กล่าว 

นายวิโรจน์ ย้ำว่า นายทักษิณควรได้รับความยุติธรรม ไม่ใช่ได้รับอภิสิทธิ์ ส่วนที่มีคนมอบว่าเกี๊ยเซียะกันนั้น ถ้าดูบทบาทตนก็คิดว่าไม่ได้เกี๊ยเซียะยังจัดหนัก จัดเต็ม

เมื่อถามว่าการไปเชียงใหม่ของนายทักษิณครั้งนี้ มีกระแสข่าวว่าอาจไปตลาดพบประชาชนด้วย จะเหมาะสมหรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า ต้องย้อนถามกรมราชทัณฑ์ว่าทำได้หรือไม่ ก้าวไกลคงไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ 

ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่หากนำโมเดลของนายทักษิณมาใช้กับนักโทษคนอื่น นายวิโรจน์กล่าวว่า เห็นด้วย เพราะเป็นสิทธิ์ตามมาตรฐาน นักโทษคนอื่นก็ควรได้รับสิทธิ์นั้น เป็นเรื่องง่ายมาก ในยุคที่นายทักษิณถูกขับไล่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จำได้หรือไม่ว่าคนเสื้อแดง ต่อสู้ในบริบทไหน ดังนั้นเราไม่ควรเลือกปฏิบัติ ซึ่งตนคิดว่าทุกวันนี้การต่อสู้นั้นก็ยังอยู่ คำว่าสองมาตรฐานก็ยังหลอนตนอยู่ ซึ่งประเทศไทยต้องการมาตรฐานเดียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)

'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49