นายกฯ กล่าวถ้อยแถลง ความจำเป็น 3 ด้าน ต้องส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ ต้องส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ และต้องร่วมกันจัดการกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
06 มี.ค.2567 - เวลา 13.45 น. (ตามเวลาท้องถิ่นนครเมลเบิร์น ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 4 ชม.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย (Leaders’ Retreat) ณ ห้อง State Ballroom ที่ Government House Victoria โดยนายแอนโทนี แอลบาเนซี (The Honourable Anthony Albanese MP) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะเป็นผู้กล่าวเปิด และกล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ต่อภูมิภาค ประเด็น สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และแนวทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนและออสเตรเลียในการรับมือ กับปัญหาท้าทายร่วมกัน” (Vision for the Region, Strategic Issues and How ASEAN and Australia Can Work Together to Address Shared Challenges) จากนั้น ผู้นำประเทศอาเซียนจะกล่าวถ้อยแถลง
โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยสาระสำคัญจากถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้ ว่านายกฯ เชื่อมั่นว่าความมั่นคงในภูมิภาค ภูมิทัศน์ของโลก และการร่วมกันจัดการกับข้อห่วงกังวลร่วมกันจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ โดยนายกฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายที่สำคัญ
1. จำเป็นต้องส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคท่ามกลางการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ ซึ่งเชื่อว่าเราทุกคนมีวิสัยทัศน์เดียวกัน คือภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง ยึดตามกฎ และครอบคลุม โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่สหรัฐฯ และจีนใช้ไทยในการเป็นเวทีสำหรับการหารือเพื่อรักษาเสถียรภาพของความสัมพันธ์ นอกจากนี้ จำเป็นต้องเสริมสร้างสถาบันระดับภูมิภาคและพหุภาคีเพื่อส่งเสริมการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่น เราหวังว่าออสเตรเลียจะสนับสนุนกลไกของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมของ AUKUS และ Quad ด้วย
อินโดแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ โดยความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองขึ้นอยู่กับการเดินเรือที่เสรี เปิดกว้าง และเป็นไปตามกฎ จึงยินดีให้ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้ the ASEAN Outlook ในส่วนของตะวันออกกลาง มีความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในฉนวนกาซา ต้องการย้ำข้อเรียกร้อง ให้ยุติความรุนแรง และการสู้รบ เรียกร้องให้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดทันที ซึ่งรวมทั้งคนไทยด้วย
โดยนายกฯ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในเมียนมา เชื่อว่าทางออกที่สันติ มั่นคง และเป็นหนึ่งเดียว ของเมียนมาคือทางออกด้านการเมือง อย่างไรก็ดี เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ไทยได้ริเริ่มโครงการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันของอาเซียนในการผลักดันฉันทามติ 5 ข้อ หวังว่าจะเป็นเส้นทางสู่การเจรจาที่สร้างสรรค์ และเป็นเวทีสำหรับการมีส่วนร่วมของเมียนมากับประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่อาเซียนสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ และหวังว่าออสเตรเลียจะสนับสนุนความคิดริเริ่มนี้ด้วย
2. ความจำเป็นในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและการพัฒนาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างรวาดเร็ว เราจึงต้องป้องกันเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานของเราด้วยการกระจายตลาดและการลงทุน ซึ่งอาเซียนและออสเตรเลียสามารถเสริมจุดแข็งของกันและกันเพื่อยกระดับความมั่นคงของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพ และความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งไทยในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาที่สำคัญอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเชื่อว่าการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมของออสเตรเลียในการเสริมสร้างศักยภาพและสนับสนุนเครือข่ายของหน่วยงานความมั่นคง รวมถึงผ่านกระบวนการบาหลี มีความจำเป็นอย่างมาก
และ 3. ความจำเป็นในความร่วมมือเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นความท้าทายที่ชัดเจน และเป็นปัจจุบัน เราต้องพยายามมากขึ้นในการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดชั้นนำ และเป็นศูนย์กลางของรถยนต์ไฟฟ้า โดยไทยได้เพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งเป็น 50% ภายในปี 2040 รวมทั้งออกพันธบัตรด้านความยั่งยืน และได้ระดมทุนไปแล้ว 12.5 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด และ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความท้าทายเร่งด่วนอีกประการ คือปัญหา PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้ ไทยร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Plan of Action: CLEAR Sky) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันข้ามพรมแดน ซึ่งหวังว่าจะได้ร่วมมือออสเตรเลียในด้านนี้
ในตอนท้าย นายกฯ กล่าวว่า ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลียได้ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นหุ้นส่วน สู่ภูมิภาคที่มีสันติสุข มั่นคง และมีเสถียรภาพ นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าที่ประชุมจะประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ได้แลกเปลี่ยนกันวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'
กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
ตามสูตร! ฟื้นคณะกรรมการ 6 ชุดแก้ปัญหาสมัชชาคนจน
'ชูศักดิ์' ถก คกก.สมัชชาคนจน ตั้ง 6 กก. สมัยเศรษฐา เร่งวางแนวทางแก้ 4 เรื่องด่วน
'คำนูณ' เตือนอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย! ชี้ไทยไม่รับอำนาจศาลโลกมา 64 ปีแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
'สมศักดิ์' เชื่อไม่ซ้ำรอยรัฐบาลเศรษฐา โยนฝ่ายกฎหมายแจง 6 ประเด็นคำร้องยุบพท.
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว. สาธารณสุข ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ประเด็นทางการเมืองในขณะนี้โดยเฉพาะกรณีนายธีรยุทธ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้องในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องขอศาลรัฐธรรมนูญโปรดวินิจฉัยวินิจฉัยยุบพรรคเพื่อไทย(พท.)
ย้อน ลมปาก 'ณัฐวุฒิ' ประกาศทิ้ง 'เพื่อไทย' อยู่ด้วยไม่ได้กับพรรค 2 ลุง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Live “กรรมกรข่าว คุยนอกจอ”