"ทวี" เผย"ยิ่งลักษณ์" ยังไม่ได้ขอรับอภัยโทษรายบุคคล ชี้ช่องสามารถยื่นขอได้หากเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ปัดตอบคล้ายทักษิณโมเดล
5 มี.ค.2567 - กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษาคดี อม.2/2565 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 6 ราย ในคดีจัดจ้างโครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020 ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ โดยศาลได้มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ยกฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ และจำเลยทั้งหมด พร้อมถอนหมายจับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่หลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สำหรับกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตนขอเรียนว่ายังไม่ได้มีการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษรายบุคคล
เมื่อถามว่าในครั้งที่แล้วมีเพียงนายทักษิณ ชินวัตร รายเดียวใช่หรือไม่ที่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษรายบุคคล พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า การขออภัยโทษรายบุคคล สามารถดำเนินการโดยตรงได้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะต้องมีการส่งเรื่องมาที่กระทรวงยุติธรรม แต่ยืนยันว่า ณ ตอนนี้ตนยังไม่ได้รับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การขอพระราชทานอภัยโทษรายบุคคลก่อนหน้านี้ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ดำเนินการโดยนายวิษณุ เครืองาม ตามที่นายวิษณุได้ออกมาให้สัมภาษณ์ ทั้งนี้หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางกลับมายังประเทศไทย และประสงค์ขอพระราชทานอภัยโทษรายบุคคล ก็สามารถยื่นเรื่องโดยตรงกับกระทรวงยุติธรรมได้ แต่ในกรณีอื่น ๆ กรมราชทัณฑ์ก็จะมีการส่งเรื่องมาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาอยู่แล้วเป็นปกติ
พ.ต.อ.ทวี ได้ปฏิเสธการตอบคำถามถึงกระบวนการการรับตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ หากภายในปีนี้ (2567) เจ้าตัวจะเดินทางกลับเข้าประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่า ส่วนใหญ่ตนจะไม่ตอบคำถามสมมุติ
เมื่อถามถึงประเด็นที่ถ้าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อาจจะเป็นเหมือนทักษิณโมเดลหรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า เราไม่ได้ติดตามในเรื่องนี้ เพราะกรมราชทัณฑ์มีกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ สำหรับความคืบหน้าในเรื่องของการจัดทำระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 หรือระเบียบคุมขังนอกเรือนจำฯ ล่าสุดตนได้รับรายงานว่า คณะทำงานยังคงมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อดูในส่วนของรายละเอียดให้ครบถ้วนรอบด้านว่าจะมีผู้ต้องขังรายคดีใดบ้างที่มีเกณฑ์ได้รับการพิจารณาให้คุมขังยังสถานที่อื่นที่มิใช่เรือนจำฯ และจะต้องมีกิจวัตรประจำวันอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะใช้เวลาสักระยะเพื่อจัดทำระเบียบให้เหมาะสมกับผู้ต้องราชทัณฑ์ทุกราย เพราะตนยังยืนยันว่าระเบียบดังกล่าวที่ประกาศลงนามไม่ได้มีไว้เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เจี๊ยบ อมรัตน์ บอกเห็นภาพนี้แล้วจะอ้วก!
จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล จับมือกับ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใน
ชื่นมื่น! 'ทักษิณ-พิธา' ร่วมงานแต่ง สส.ลำปาง เพื่อไทย-ประชาชน
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เดินทางมาร่วมพิธีฉลองมงคลสมรสระหว่างนายธนาธร โล่ห์สุนทร
'อิ๊งค์' ยัน ทักษิณ-เพื่อไทย หาเสียงเลือกตั้งอบจ. เป็นไปตามกฎหมาย
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะหัวหน้
ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่
"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน
‘ทักษิณ’ กับการติดคุกครั้งใหม่!
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “คุณ ทักษิ
นายกฯ ติดตามศูนย์เฝ้าระวังพะยูน ตรวจอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ผลงานยุคทักษิณ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แวะจังหวัดพังงา ติดตามศูนย์เฝ้าระวังพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ที่หาดบางขวัญ ตำบลโคกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งในพื้นที่นี้ยังมีพะยูนอยู่โดยมีชื่อว่า