2 มี.ค.2567 - นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กล่าวว่า เห็นข่าวเรื่องนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร บุกทำเนียบรัฐบาล จนมีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายไปคนละทิศละทาง โดยไม่ได้อ้างอิงบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 มติคณะรัฐมนตรี
นายเรืองไกร กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว พบว่า นายปดิพัทธ์ ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 แล้ว และก่อนหน้านั้นได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รวม 2 ฉบับ คือ หนังสือที่สภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ 0001.03/18 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 และหนังสือที่สภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ 0001.03/26 ลงวันที่ 21 ก.พ. 2567 ด้วย
นายเรืองไกร กล่าวว่า เรื่องนี้จึงควรพิจารณาถึงหน้าที่และอำนาจของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 ที่ได้มีมติรับทราบแนวทางป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
นายเรืองไกร กล่าวว่า ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/152 วันที่ 23 พ.ย. 2566 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบนั้น หน้า 4 ข้อ (2.2) ระบุว่ากรณีสงสัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา กระทำการอันมีลักษณะเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 185 (1) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอาจเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้น สิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (7) หรือมาตรา 111 (7) แล้วแต่กรณี ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งต่อผู้มีหน้าที่เพื่อดำเนินการให้มีการวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ ตามนัยมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ต่อไป”
นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า ยังไม่พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 หรือไม่ อย่างไร ดังนั้น ตนจึงมีเหตุอันควรทำหนังสือไปถึง กกต. แทน เนื่องจาก มาตรา 82 วรรคสี่ ให้อำนาจ กกต. ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้ด้วย
นายเรืองไกร กล่าวว่า วันนี้ (2 มี.ค.) ตนจึงได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS ถึง กกต. เพื่อขอให้ตรวจสอบและพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงนามออกหนังสือไปถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับและการเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ดังกล่าว เข้าข่ายขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 หรือไม่ และเข้าข่ายอันควรสงสัยตามข้อ (2.2) ตามหนังสือของสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3/152 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 หรือไม่ และการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายจะทำให้สมาชิกภาพของนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (7) เพราะเข้าข่ายกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 185 (1) หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สนธิ-ปานเทพ' บุกทำเนียบฯทวงถามข้อเรียกร้อง 'MOU44-JC44' ขัด รธน. หากยังนิ่งเฉยจ่อลงถนนหลังปีใหม่
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พร้อมมวล
เรืองไกร ไล่บี้นายกฯทวงหลักฐานการลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท
เรืองไกร ทวงข้อมูลหลักฐานการลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทต่าง ๆ จากนายกรัฐมนตรี
'เรืองไกร' ขอข้อมูลงบแปรญัตติ สพฐ. ปูดมีชื่อ นายกฯปู ได้ 20 ล้าน
เรืองไกร ขอข้อมูลงบแปรญัตติ สพฐ. 2555 จากนายกฯอิ๊ง มาตรวจสอบว่า กรณีมีชื่อนายกฯปู ได้งบ 20 ล้านบาท ชอบหรือไม่
'ภราดร' โต้ 'โรม' ฉะแซงคิวแถลงข่าว ยืนยันไม่ใช้อภิสิทธิ์ เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน
จากรายงานข่าวที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กล่าวตำหนินายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าแซงคิวแถลงข่าวที่ห้องแถลงข่าวของสภาฯ
'มาริษ' แจงโอนหุ้นก่อนรับตำแหน่ง รมต.แล้ว หลังถูก 'เรืองไกร' ยื่นสอบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวั
‘อัลไพน์’ ยังไม่เงียบ กกต. เรียก เรืองไกร ตอกฝาโลง อังคารนี้
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ตามหนังสือที่ ลต 0020/3702 กกต. ได้เชิญไปให้ถ้อยคำตามคำร้อง 4 เรื่อง หนึ่งในนั้น คือ เรื่องร้องกรณีการถือหุ้นในบริษัท อัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด อยู่ด้วย