2 มี.ค. 2567 - ที่ จ.อุดรธานี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงคำวิจารณ์ว่าฝ่ายค้านทำหน้าที่แผ่วลง ว่า “ไม่แผ่ว” แต่เรามองเป็นยุทธศาสตร์ การที่ทำอะไรเร็วๆ ลวกๆ จะเป็นเรื่องดีเสมอไป ขอเน้นคุณภาพมากกว่าความเร็ว ไม่ได้หมายความว่าวุฒิสภาอภิปรายแล้ว เราต้องอภิปรายบ้าง ต้องดูข้อมูล และฐานความสำคัญของประชาชน ที่ต้องอธิบายให้ประชาชนฟังว่า ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรืออภิปรายทั่วไป 1 ปีมีแค่อย่างละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องออกอาวุธเมื่อมีประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ตอนที่โดนเร่งเร้าให้ใช้ หากมีเรื่องอภิปรายที่สำคัญก็กลับมาใช้สิทธิ์นั้นไม่ได้แล้ว พร้อมย้ำ 1 ปีต้องมียุทธศาสตร์
สำหรับแนวโน้มที่จะเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ นายพิธา กล่าวว่า ก็เป็นไปได้ ทั้งการอภิปรายทั่วไปและอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากตอบตรงๆ เขาก็รู้
ขณะเดียวกัน นายพิธา ยังประเมินการทำงานของรัฐบาลในช่วงเวลา 6 เดือน ว่า ในใจตนอยากให้รัฐบาลลงมาแก้ไขปัญหาประเทศให้มากขึ้น ข้อดีที่เห็นอยู่คือ เรื่องการต่างประเทศที่ช่วยวิกฤตสงครามในอิสราเอล แต่เข้าใจว่า ขณะนี้ยังมีคนอุดรธานีติดอยู่ที่นั่น ประมาณ 7-8 คน จึงขอฝากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ติดตามเรื่องนี้ให้กับพี่น้องชาวอุดรธานีด้วย
ส่วนเรื่องภายในประเทศ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ มีสิ่งที่จะต้องแก้ และแตะโครงสร้างให้มากกว่านี้ รวมถึงร่างกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ที่เดินทางไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามเรื่องร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นประโยชน์กับรัฐบาล ไม่ได้มีกฎหมายเฉพาะฝ่ายค้าน แต่มีของรัฐบาลด้วย หากรัฐบาลอยากแก้ไขปัญหาอะไร แต่กฎหมายไม่เอื้อ มันก็แก้ไม่ได้ เพราะติดโครงสร้างกฎหมายอยู่ จึงเชื่อว่า นายปดิพัทธ์ ตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและช่วยรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาได้ดีมากขึ้น พร้อมเห็นว่า เป็นการปฎิบัติตามมารยาททุกอย่าง ประสานงานไป 2 ครั้ง โดยส่งหนังสือถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 และ 21 กุมภาพันธ์ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับมาเป็นรูปธรรม จึงไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง เป็นเหตุให้เข้าไปพบที่ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ เป็นเรื่องดี เพราะเป็นการประสานงานให้กับประชาชน ถือเป็นประโยชน์ให้กับรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลด้วยซ้ำ
ส่วนที่รัฐบาลออกมาติงว่าเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่บุกไปทำเนียบรัฐบาล นายพิธา ถามกลับว่า “ไม่เหมาะสมตรงไหน” เพราะเท่าที่ติดตามข่าว ท่านก็ถามว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าประสานก็มีคนต้อนรับแล้ว คำตอบที่ได้ยินต่อมาคือประสานไป 2 ครั้ง โดยย้ำว่า ได้ทำหนังสือไปที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในวันที่ 7 และ 21 กุมภาพันธ์ถูกหรือไม่ จึงไม่เข้าใจว่าที่ไม่เหมาะสมคืออะไร เพราะหากเอาประชาชนมาเป็นที่ตั้ง กฎหมายบางฉบับยื่นไปให้เซ็น ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งมีกฎหมายของพรรคภูมิใจไทย รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งวาระทางนิติบัญญัติ ถ้ารวดเร็ว ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่สภาอย่างเดียว แต่อยู่ที่รัฐบาลและพี่น้องข้าราชการ ที่กฎหมายเอื้อต่อการแก้ไขปัญหา ก็ไม่ทราบว่าไม่เหมาะสมตรงไหน ขอคำอธิบายจากรัฐบาลด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ
นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ