'หมอวรงค์' งงกับ 'ก้าวไกล' ไม่อ่อนก็กำลังกั๊ก

2 มี.ค.2567 - นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ก้าวไกลไม่อ่อนหัดก็กำลังกั๊ก

ผมกำลังงงกับพรรคก้าวไกลมาก

26 มกราคม 2567 นายพิธา ซึ่งถือว่าเป็นเบอร์ใหญ่สุดของพรรค และแคนดิเดทนายกฯ เป็นผู้แถลงเองว่า เดือนเม.ย.นี้ พรรคจะยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลทำงานผ่านมาครึ่งปีแล้ว ในประเด็นความล้มเหลวในการบริหาร ทุจริต ทำงานล่าช้า

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ประธานวิปฝ่ายค้าน เป็นผู้ออกมาพูดเองว่า อาจยังไม่มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรืออภิปรายทั่วไปในสมัยประชุมนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้ใช้งบ

แต่ล่าสุด 29 กุมภาพันธ์ นายชัยธวัช ทั้งหัวหน้าพรรคและ ผู้นำฝ่ายค้าน กลับออกมาบอกว่า

"ที่ผ่านมาฝ่ายค้านคุยกันว่า ให้แต่ละพรรคไปเตรียมข้อมูลอภิปราย ตรวจสอบรัฐบาลอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมา ไม่ได้มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่าจะยื่นหรือไม่" แต่สุดท้ายก็ยังยืนยันว่า จะยื่นซักฟอกในเดือนเมษายนนี้

พี่น้องลองดูคำพูดทั้งสามคนนี้ ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่ง เบอร์สองและเบอร์สามของฝ่ายค้านในสภา พูดไปคนละทิศคนละทาง ทำเหมือนเด็กอ่อนหัด ไร้ประสบการณ์ ทำประชาชนสับสน ทางที่ดีวันนี้ ผมต้องแนะนายชัยธวัชเพราะเป็นผู้นำฝ่ายค้าน

คุณควรเรียกนายพิธาและนายนายปกรณ์วุฒิ มาตีปากคนละที จะพูดอะไรอย่าพูดไปเรื่อย เรื่องใหญ่ๆต้องปรึกษากันก่อน อย่าพูดกลับไปกลับมา เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเรื่องใหญ่มาก เป็นที่สนใจของประชาชน มีโอกาสปีละครั้ง ต้องพูดให้ตรงกัน ขนาดเป็นฝ่ายค้านยังมั่วขนาดนี้ ถ้าเป็นรัฐบาลไม่รู้จะพังขนาดไหน

ขอสอนแถมท้ายสักนิดว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้ไม่ได้ใช้งบประมาณก็อภิปรายได้ สิ่งที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่รัฐบาลแถลง บริหารงานล้มเหลว ประพฤติไม่ชอบ อภิปรายได้หมด ขอให้ทำงานเป็น ตรวจสอบเป็น

ไม่ใช่เอาแต่ท่องว่า อภิปรายไม่ได้เพราะรัฐบาลยังไม่ใช้งบ กลับไปกลับมา แบบนี้เขาเรียกว่า"อ่อนหัด" ถ้าไม่อ่อนหัด เขาเรียกว่า"กั๊ก"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489

'วันนอร์' ชี้นักการเมืองไม่ใช่อาชญากร บทลงโทษไม่ควรรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ-ยุบพรรค 

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีสถานการณ์การเมืองปี 2568 มีโอกาสเกิดคดีความที่นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ สส. ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย

'ชูศักดิ์' ดักคอฝ่ายค้านยื่นซักฟอก บอกปม 'ชั้น14-MOU44' คุยนานแล้วไม่มีน้ำหนัก

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบมีการลงมติตามมาตรา 151 ในสมัยประชุมนี้ว่า ถือเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน แต่ตนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นขึ้นอยู่กับประเด็น