29 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง แถลงข่าวถึงร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินที่ยังไม่บรรจุในวาระการประชุมสภาฯ ว่า สถานะของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ที่ยังรอนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามรับรอง มีทั้งหมด 31 ฉบับ ฉบับที่รอความเห็นนานที่สุด คือ ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. .... ที่เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล จำนวน 6 เดือน 11 วัน , ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 พ.ศ. .... ที่เสนอโดยนายรอมฎอน ปันจอร์ จำนวน 6 เดือน 4 วัน ซึ่งไม่ได้มีร่างของฝ่ายค้านเท่านั้น แต่ยังมีร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน พ.ศ. .... ที่เสนอโดยนายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง จำนวน 5 เดือน 25 วัน และร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล จำนวน 4 เดือน 17 วัน
“ผมทำได้เพียงนำข้อเท็จจริงเหล่านี้มาแถลงต่อสาธารณะ เพราะนี่เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ากฎหมายที่เสนอโดย สส. ตอนนี้ทำได้เพียงเสนอกฎหมายที่ไม่ได้เป็นร่างการเงิน ซึ่งการตีความว่าเป็นทางการเงินนั้น ครอบคลุมได้หลายมิติมากไม่ว่าจะเป็นการเปิดกองทุน การเพิ่มภาระงานบางอย่าง เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จะทำให้ผมอยากจะมีความเห็นต่อสาธารณะว่าเรามีความคิดว่ารัฐบาลต้องจริงใจกว่านี้ในการส่งทางการเงินเข้ามาถกเถียงที่สภา” นายปดิพัทธ์ กล่าว
นายปดิพัทธ์ กล่าวอีกว่า แน่นอนว่าร่างการเงินเหล่านี้กระทบฝ่ายบริหาร แต่ถ้าหน่วยงานไม่รับรองสักที แล้วตนส่งเรื่องไปทวงถามสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีหลายรอบแล้วว่าติดที่หน่วยงานไหน ปรากฏว่าไม่เคยได้รับคำตอบ แล้วถ้าหน่วยงานหนึ่งไม่ส่งคำตอบสักหน่วยงาน ร่างของ สส.ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนจะไม่มีวันได้บรรจุเข้าสภา
“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่เราบอกชัดเจนว่าสภานิติบัญญัติจะต้องไม่อยู่ใต้อาณัติของฝ่ายรัฐบาล แต่การพิจารณากฎหมาย ซึ่งเป็นงานที่พวกเราทำได้ กลับถูกเทคนิคหรือไม่ ในการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ส่งความเห็นให้นายกรัฐมนตรี หรือทำเป็นไม่ส่งความเห็น เพื่อทำให้ร่างที่จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหน่วยงานของตัวเองเป็นหมันไป” นายปดิพัทธ์ กล่าว
นายปดิพัทธ์ กล่าวต่อว่า วันพรุ่งนี้ (1 มี.ค.67) ตนและสำนักรองประธานสภาคนที่หนึ่งจะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อพูดคุยปัญหาเรื่องนี้โดยตรงกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
“เรามีความพยายามจะเข้าพบหลายครั้งแล้ว ที่จริงจะเข้าไปในวันศุกร์ที่แล้ว แต่ไม่มีใครอยู่ ทำให้ไม่แน่ใจว่าพรุ่งนี้จะต้องไปดูด้วยตาตัวเองว่าไม่มีใครอยู่แปลว่าอะไร ผมต้องการพบผู้ที่รับผิดชอบด้านกฎหมายของรัฐบาล ไม่ได้ไปพบเพื่อที่จะมีความกระทบกระทั่ง แต่พบเพื่อประสานความร่วมมือ ไม่อย่างนั้นถ้าฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลยังทำงานแบบนี้ เราจะเห็นว่ากฎหมายจำนวนมากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเสนอนั้นไม่สามารถเข้าสภาได้” นายปดิพัทธ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พรรคส้ม ไม่ได้ดั่งใจ! สว.งดประชุม ทำกม.ล่าช้า ติงควรให้เกียรติผู้นำฝ่ายค้าน
ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาชน ในฐานะวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการประ
'วรงค์' อัด 'ไอ้สัสอ๋อง' รองประธานสภาฯ แสดงออกน่าทุเรศ
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
'คารม' แจง ป.ป.ช. พยานคดี สส.ก้าวไกล แก้ 112 ชี้นิรโทษยกเข่งรอดหมด
'คารม' แจง 'ป.ป.ช.' ในฐานะพยาน ปม สส.ก้าวไกล ลงชื่อแก้ ม.112 พร้อมถามใครเจ้ากี้เจ้าการ เชื่อนิรโทษล้างผิดยกเข่ง 'ผู้นำจิตวิญญาณ - สส.พรรคส้ม' รอดหมด
ร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล
ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเป็นอันมาก โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ ของประชาชนได้เข้าสู่การดำเนินการผ่านโลกออนไลน์
'ภูมิใจไทย' ยื่นร่างกฎหมาย รื้อ 'คำสั่ง คสช.'
'ภูมิใจไทย' ยื่นร่างกฎหมายรื้อคำสั่ง คสช. ลั่นไม่ได้ตำหนิ ชี้บางฉบับมีความจำเป็นในการปกครอง ขอเปลี่ยนชื่อเป็น พ.ร.บ. ให้ดูดีในสายตาต่างชาติ
'สว.สมชาย' ชำแหละ! หลักฐานชิ้นสำคัญ 'พิธา-ก้าวไกล' รอดยาก
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า (ep.2) เหตุใดคดีที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ที่ถูกนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้อง