'ปลอดประสพ'ย้ำปม สปก.เขาใหญ่ เป็นพื้นที่ สปก.มาแต่ปี 2534 ลั่นต้องมีคนเจ็บตัว แนะฝ่ายการเมืองให้ชะลอแผนเปลี่ยนสปก.เป็นโฉนด ที่มีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ป่าไม้ไว้ก่อนทั้งหมดอย่าเน้นเฉพาะเขตกันชน
28 ก.พ.2567 - นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก หัวข้อ เรื่องที่ดิน มาคิดใหม่ ทำใหม่ ดีไหมครับ มีเนื้อหาดังนี้
ดังที่ผมพูดว่า ไม่ต้องกรมแผนที่ทหารหรอกครับ ที่สุดกรณี สปก. และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ก็เป็นไปตามที่ผมพูดทุกประการ (100%) คือ เป็นพื้นที่ สปก.มาแต่ปี 2534 (33ปีมาแล้ว) เรื่องนี้ต้องขอขอบคุณคนของสปก.ในยุคนั้นที่ไม่มอบ สปก.4-01ให้กับผู้ใด จนมาในปี 2542 ในขณะผมเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ก็ได้ทำถนนลำลองเพื่อแสดงแนวเขตเขาใหญ่ในเชิงภูมิประเทศและระบบนิเวศน์อีกครั้ง และก็ต้องขอบคุณผู้คนของทั้ง 3 กรมรวมถึงจนท.ท้องถิ่นและราษฎรที่ได้ให้ความเคารพ ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดตลอดมา
แต่ก็จนได้ ในปลายปี 2566 ด้วยลมชั่วและความละโมบ ทำให้ข้าราชการกลุ่มหนึ่ง สมคบกับนายทุนสามานย์ บุกเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว แล้วทำการแผ้วถาง ตัดต้นไม้ป่าซึ่งรกชัฏมานานนับสิบปี แถมปลูกต้นมะม่วงลงไปเพื่อแสดงสิทธิ์ครอบครอง
ด้วยบารมีเจ้าพ่อเขาใหญ่ที่ได้ดลใจให้หัวหน้าอุทยานเขาใหญ่ล่วงรู้แผนการ ส่วนผู้อำนวยการสำนักอุทยานก็ลงมาจัดการทันทีภายใต้การสนับสนุนคุ้มครองของอธิบดีกรมอุทยานฯ ยอดเยี่ยมจริงๆน้องเอ๋ย!
เรื่องนี้ต้องมีคนเจ็บตัว ขอบอกว่า แม้เป็นที่สปก. แต่ก็ยังมีสถานะเป็นป่าจำแนกเพราะยังไม่มีการออกสปก.4-01ที่ถูกต้อง (คนที่สมควรจะได้ตายไปนานแล้ว) ดังนั้น ความเป็นป่าก็ยังดำรงอยู่ ต้นไม้ทุกต้นเป็นต้นไม้ธรรมชาติ เป็นทรัพย์สินของกรมป่าไม้ ใครไปตัดทำลายถือเป็นความผิดตามพรบ.ป่าไม้ (กฤษฎีกาได้ตีความไว้แล้ว) เรื่องนี้หากยังสงสัยความเป็นป่า ก็ให้ไต่ถาม“เจ้าด้วน” เจ้าของป่าตัวจริงก็แล้วกัน
ส่วนในทางการเมือง ผมขอแนะนำให้ชะลอแผนการเปลี่ยนสปก.เป็นโฉนด ที่มีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่ป่าไม้ไว้ก่อนทั้งหมด อย่าเน้นเฉพาะเขตกันชนเลย เพราะไม่รู้ว่า เขตกันชนจริงๆมันอยู่ที่ไหน และมันจะกว้างยาวอย่างไร สำรวจใหม่หมดเถิดครับ ดูให้ครบ เช่น ความลาดชัน ความสูง ชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ระบบน้ำและเส้นทางคมนาคม คิดเสียว่า ทำทั้งทีก็ทำเสียให้ถูกต้องทั้งทางวิชาการและความเป็นไปได้จริงๆในการทำเกษตรกรรม
สุดท้าย อีกเรื่องที่น่าคิด พื้นที่บางแห่งกลับไปเป็นป่าไม่ได้อีกแล้ว ครั้นจะเอาไปแจกเป็นที่ทำกินเช่น สปก.ก็ไม่ได้อีกเพราะดินไม่ดีและไม่มีน้ำ มาคิดกันใหม่ กำหนดประเภทที่ดินอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน แล้วออกกฎหมายมารองรับเสีย ที่ประเภทนี้มีไว้ให้เช่าอย่างเดียว ให้เช่าสัก 30ปีแล้วคิดแพงๆก็ได้ ขอเสนอให้เรียกว่า “ที่ดินสันทนาการท่องเที่ยวในเชิงนิเวศน์”
ในรูปเป็นไม้ฉำฉาในบ้านเมืองนนท์นะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทนายอนันต์ชัย' ไล่บี้คนด่า-กล่าวหาพระ ว.วชิรเมธี ออกมาขอโทษ อย่าเงียบเป็นเป่าสาก
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ มูลนิธิทนายกองทัพธรรม โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า วันนี้ กรมป่าไม้ ชี้แจงแล้ว ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่าไม้
เคลียร์ชัด! 'กรมป่าไม้' ตรวจสอบแล้ว 'ไร่เชิญตะวัน' พระ ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่า
นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ กล่าวว่า จากกรณีที่สาธารณชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจและติดตามข่าวการอนุญาตใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย
โค่นสวนยางพาราทิ้ง 407 ไร่ ในเขตป่าสงวนฯ ตรวจพบตั้งแต่ปี 58 แต่ไม่มีผู้ต้องหา
นายวิทยา ณวิพันธ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการให้ นายธวัชชัย ปุริเกษม ผอ.ส่วนป้องรักษาป่าและควบคุมไฟป่าและนายธีรพล กาญจนโกมล เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า
กรมป่าไม้ อนุรักษ์ “พลองใหญ่” ต้นไม้ทรงปลูกในสมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดพรรณไม้ให้เพิ่มมากขึ้น
การอนุรักษ์พรรณไม้มีค่าให้คงอยู่ และสามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญที่จะทำให้พรรณไม้มีค่าได้เจริญเติบโตและงอกงามสมบูรณ์ ดังนั้นในปี 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ จึงได้ร่วมกับ
กรมป่าไม้ ชวนคุณลูกพาคุณแม่ท่องเที่ยว 3 ป่านันทนาการ ฟรี! เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหานี้
นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2567
'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก
จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง