ปชป. ประเมินผลงานรัฐบาลเศรษฐา 6 เดือนแรกสอบตกแก้เศรษฐกิจ!

24 ก.พ.2567 - นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวถึงรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า มีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ที่ลดลง ในไตรมาสที่สี่ของปี 66 เหลือเพียง 1.7% ทั้งปีโต 1.9% เมื่อเจาะลึกดูรายละเอียดมีตัวเลขที่เป็นบวกอยู่หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคของเอกชน การส่งออก การลงทุน ยกเว้นส่วนที่รัฐบาลรับผิดชอบ คือตัวเลขเงินลงทุนภาครัฐที่ลดลง จึงถือว่ารัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง สอบตก และจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะเหตุการณ์เกิดในช่วงที่มีอำนาจเข้าบริหารประเทศแล้ว ถึงแม้จะแก้ตัวว่าเป็นเงื่อนไขเหตุการณ์ทางการเมืองทำให้งบประมาณล่าช้า แต่รัฐบาลต้องรู้และเตรียมตัว เพราะว่าเข้ามาบริหารประเทศเกือบ 6 เดือนแล้ว ขอให้รัฐบาลตั้งสติโดยเฉพาะนายเศรษฐา อย่ากังวลเรื่องนายกฯเงา

“ในรายงานของสภาพัฒน์ฯจะเห็นถึงปัญหาของเศรษฐกิจไทยที่ทำให้ตัวเลขจีดีพีลดลง ผมต้องย้ำว่าวันนี้ประเทศเราไม่ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เรามีปัญหาเศรษฐกิจ เชื่อว่านโยบายการเงินจะได้รับการตอบสนองจากธนาคารแห่งประเทศไทยเร็วๆนี้ โดยการเริ่มต้นลดดอกเบี้ย แต่ไม่ควรคาดหวังผลระยะสั้น 3เดือน 6เดือนนี้ เพราะการลดดอกเบี้ยได้ผลจริงๆ ก็ควรจะไม่ต่ำกว่า 50 สตางค์ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในระยะสั้นนี้ การลดดอกเบี้ยไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจรากหญ้า เพราะรายใหญ่ลดทันที แต่รายย่อย ผู้ให้กู้มองว่ามีความเสี่ยงอยู่ก็ไม่สามารถลดได้ทันที รัฐบาลจะต้องเร่งคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯได้ นโยบายการคลังไม่ใช่เรื่องงบประมาณเพียงอย่างเดียว ยังมีเรื่องอื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษีต่างๆ ซึ่งอำนาจอยู่ที่รัฐบาลที่จะต้องเร่งดำเนินการให้สอดคล้องกัน” นายชนินทร์ กล่าว

นายชนินทร์ กล่าวอีกว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนั้น ชัดเจนว่าเป็นผลจากการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ที่ผิดพลาด และไม่ควรเบี่ยงเบนความผิดโยนบาปให้แบงค์ชาติเรื่องไม่ลดดอกเบี้ย เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน รัฐบาลชุดที่แล้วบริหารดีกว่านี้ ทั้งที่ปัจจัยบวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยวเรื่องการส่งออกการลงทุนการบริโภคดีขึ้น อัตราการว่างงานต่ำที่สุดในช่วง 32 ไตรมาส ถามว่ารัฐบาลรู้สึกอะไรหรือไม่ที่ผลออกมาเช่นนี้

รองเลขาธิการปชป. กล่าวต่อว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งและต้องทำให้ได้ในระยะสั้นนี้ ต้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณแต่ไม่รั่วไหล ดูแลผู้มีรายได้น้อยและเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น ระยะต่อไปเรื่องการแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจจะต้องชัดเจนเป็นรูปธรรม เดินหน้าได้ทันทีอย่างน้อยไม่เป็นรูปธรรมใน1-2ปี แต่ก็สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและคนทั่วไป ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภคจับจ่ายใช้สอยเงินของผู้ที่มีกำลังจะใช้ออกมา ขณะเดียวกันขอให้นายเศรษฐาเบาเรื่องเดินสายต่างประเทศ ขอให้อยู่ในประเทศตามงานต่างๆให้เรียบร้อยก่อน รวมถึงลดการเดินสายตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ ที่ไม่รู้จะได้ผลเมื่อไหร่ ตัวชี้วัดคืออะไร โดยครั้งหลังสุดมีการอนุมัติงบประมาณถึง 5,000 ล้านเพื่อใช้ในโครงการซอฟต์พาวเวอร์

นอกจากนี้ นายชนินทร์ ยังระบุถึงโครงการดิจิตอล วอลเล็ท ว่า รัฐบาลยังไม่แน่นอน กลับไปกลับมา และต้องมีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่เหมือนจะเป็นเรื่องเดิมที่เคยพิจารณามาแล้ว ถือเป็นการนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง ขอแนะนำให้ปรับไปอยู่ในแผนสองได้แล้วไม่เช่นนั้นนประเทศและประชาชนจะเดือดร้อนในระยะสั้น 3-6 เดือนนี้ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยอาจตายก่อน ต้องเปลี่ยนเงินดิจิตอลวอลเล็ต เป็นแบงค์กงเต็กเผาให้ใช้ชาติหน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมโทรโข่งรัฐบาล ติวเข้มโฆษกกระทรวงส่ง 'ข่าวดี' ทุกสัปดาห์ เร่งตีปี๊บผลงาน 3 เดือน

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายคารม พลพรกลาง นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'ดุสิตโพล' เปิดดัชนีการเมืองล่าสุด พบผลงาน แพทองธาร พุ่งเด่น ฝ่ายค้านคะแนนตก

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน