'ธีรยุทธ' หอบคำวินิจฉัย 'ก้าวไกล' กัดเซาะบ่อนทำลายชง ป.ป.ช.

แฟ้มภาพ
 
23 ก.พ.2567 -  นายธีรยุทธ สุววรรณเกษร ทนายความ ผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ขณะนั้น และพรรค ก.ก.เสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีการรณรงค์ใช้หาเสียงเลือกตั้ง โดยนำสำเนาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 คดีดังกล่าวฉบับเต็มที่รับรองโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมายื่นแก่ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อใช้ประกอบคำร้องที่ได้ยื่นเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ขอให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของนายพิธา และ 44 สส.พรรคก้าวไกลที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว 
 
นายธีรยุทธยังกล่าวว่า ในการยื่นสำเนาดังกล่าวได้สอบถามเจ้าหน้าที่และได้รับแจ้งว่า เป็นความเมตตาของประธาน ป.ป.ช.ที่จะรับเรื่อง และจะเร่งรีบรวบรวมพยานหลักฐาน โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานหรือคณะไต่สวนต่อไปเร็ว ๆ นี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่นาน ส่วนการดำเนินการกับ 44 สส. ที่ร่วมลงชื่อและขับเคลื่อนนั้น ขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานและข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เบื้องต้นจะเตรียมการเรื่องคำชี้แจงของนายพิธาและนายชัยธวัช  ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะขออนุญาตศาลคัดถ่ายคำให้การในชั้นไต่สวนพยานเปิดเผย ก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยเพื่อยื่นต่อคณะกรรมกาสรการเลือกตั้ง (กกต.) และ ป.ป.ช. เพื่อทั้ง 2 หน่วยจะมีคำสั่งเรียกนายพิธาและนายชัยธวัชเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง โดยทั้ง 2 หน่วยงานสามารถใช้คำชี้แจงหรือคำให้การที่เคยให้ไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญมาประกอบการพิจารณาไต่สวนได้
 
นายธีรยุทธกล่าวว่า นอกจากการติดตามเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 แล้ว   ขณะนี้ยังติดตามความพยายามผลักดันความผิดตามมาตรา 112  ให้ไปอยู่ในกฎหมายนิรโทษกรรม เนื่องจากความผิดตามมาตรา 112 ไม่ใช่ความผิดในทำนองทางการเมือง แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง ซึ่งอยู่คนละหมวดกัน  เพราะศาลวินิจฉัยว่าการกระทำลักษณะ 112 ภายนอกสภา มีผู้รับทอดเข้ามาสู่สภา โดยผ่านกระบวนการซ่อนเร้น ใช้การเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าสู่สภาฯ
 
“การรณรงค์มาตรา 112 การตั้งม็อบ การตั้งขบวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น  เมื่อเจตนาต้องการทำลายการปกครองก็เท่ากับว่ามีเจตนาที่ไม่ดี มีเจตนาไม่ให้การเมืองมีอยู่  ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าเป็นข้อขัดแย้งทางการเมือง ผมมองว่าไม่ใช่ เมื่อคุณทำลายการปกครอง ไม่ให้การเมืองมีอยู่ ข้อขัดแย้งก็ไม่มีอยู่ตามมาด้วย  แต่คณะนิติบัญญัติที่กำลังพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมในชั้นกรรมาธิการกำลังมองว่า การปกครองยังมีอยู่  ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันในทางการเมืองก็เลยยังมีอยู่  หากประสงค์จะล้างความขัดแย้ง ปลดปล่อยความวิตกกังวลต่าง ๆ เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ต่างกับคณะรณรงค์ 112 ผมจึงเห็นว่าหากได้บรรจุความผิดมาตรา 112 เข้าสู่กฎหมายนิรโทษกรรมจะตามไปดำเนินการบางอย่าง แต่ยังไม่ขอเปิดเผย”นายธีรยุทธกล่าว   
 
เมื่อถามว่า มองว่าการแก้มาตรา 112 โดยชอบ ตามที่ศาลวินิจฉัยเอาไว้ควรจะเป็นอย่างไร นายธีรยุทธ กล่าวว่า ยังเชื่อตามที่ศาลวินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่ได้ปิดประตูการแก้กฎหมาย แม้กระทั่งการแก้มาตรา 112 เพียงลักษณะที่พรรคก้าวไกลเสนอและประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อสารมวลชน ใช้เป็นนโยบายหาเสียงมาตลอด ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นทำไม่ได้ เช่น การย้ายหมวด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' ประเดิม 18 ธ.ค. บุก ป.ป.ช. หึ่งล็อบบี้หนักล้มคดีชั้น 14

วงหารือฝ่ายต้านรัฐบาล ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' นำร่อง 18 ธ.ค. บุกตึก ป.ป.ช. หลังได้กลิ่นล็อบบี้หนัก 3 กรรมการฯ ล้มคดีชั้น 14

รวมพลังไทย “สู้ให้สุด หยุดการโกง” ในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย)

ฮอลล์ 7 อาคารศูนย์การประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี : 9 ธันวาคม 2567 - รัฐบาล ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

ป.ป.ช.แจงยังไม่ชี้มูลปม 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์ชั้น 14 เผยอยู่ในชั้นตรวจสอบเบื้องต้น

กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อออนไลน์ว่า ฝ่ายตรวจสอบไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยมีนายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน

ระทึก!'ทักษิณ'ขาสั่น 'จตุพร' เผยอนุไต่สวนชั้น 14 มติเอกฉันท์ชี้มูลผิด ยื่น ปปช.ฟ้องศาล

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ระบุถึงความคืบหน้าคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต