'ชัยธวัช' ย้ำต้องคุยเป้าหมายให้ชัด 'นิรโทษกรรม' เพื่ออะไร

23 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางตรากฎหมายนิรโทษกรรม กล่าวภายหลังการประชุม กมธ. ว่า วันนี้วาระหลักคือให้พูดถึงเป้าหมายในการนิรโทษกรรม ที่เราวางแผนพิจารณาคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร จึงให้คณะกรรมาธิการทุกคนได้นำเสนอข้อเสนอของตัวเอง ว่าการนิรโทษกรรมครั้งนี้จะต่างจากการศึกษาเรื่องความปรองดองเกือบทุกชุด ยกเว้นของชุดในสมัยรัฐบาลที่แล้ว

เนื่องจากก่อนหน้านี้ การศึกษาข้อเสนอนิรโทษกรรมนั้น สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ไม่เหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงได้เสนอว่า ครั้งนี้จะต้องไม่พิจารณาแค่นิรโทษกรรมอย่างเดียว แต่ให้มองภาพรวมการสร้างความสมานฉันท์ โดยมีนิรโทษกรรมทางการเมืองเป็นหนึ่งในนั้น และในสถานการณ์ที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่ยุติ เป้าหมายควรทำเพื่อที่จะหยุดการขยายความขัดแย้ง เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือความรุนแรงที่มากขึ้นในอนาคต และเปิดทางเพื่อให้สามารถหาข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกันในทางการเมืองได้

นายชัยธวัช กล่าวต่อว่าดังนั้น หากพูดในแง่นี้ การพิจารณาเรื่องการสร้างสมานฉันท์ โดยเฉพาะเรื่องการออกกฏหมายนิรโทษกรรม และกระบวนการทั้งก่อนและหลังที่จะทำให้ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติลง สามารถทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ ลดการเผชิญหน้า ลดความระแวงลง และสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งกระบวนการนี้มีความสำคัญ อาจเป็นเงื่อนไขที่ต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนจะเสนอให้มีการนิรโทษกรรมก็ได้ เพราะฉะนั้น เนื้อหาในการพิจารณานิรโทษกรรมอาจไม่ได้จำกัดเฉพาะว่า จะนิรโทษกรรมใครบ้าง มีขอบเขตแค่ไหน จะไม่นิรโทษกรรมใคร ก็ควรมีกระบวนการก่อนหน้านั้น เพื่อให้รองรับการนิรโทษกรรมด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ

ส่วนจะรวมคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วยหรือไม่นั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า ทุกเรื่อง แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งตนก็ได้นำเสนอในแง่หลักสำคัญ ส่วนความเห็นของพรรคการเมืองที่มีจุดยืนในเรื่องการนิรโทษกรรม มาตรา 112 และการทุจริต แตกต่างกันนั้นเรื่องการทุจริตไม่ได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่ มาตรา 112 ยอมรับว่า มีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง เห็นด้วยกันในหลักการใหญ่

ดังนั้น วันนี้เป็นวาระที่นำเสนอเป้าหมายก่อนว่า หลักการและเป้าหมายสำคัญของแต่ละคนเป็นอย่างไร จึงค่อยมาถกกันว่า ถ้าออกแบบกลไก และรายละเอียดเช่นนั้นแล้ว จะตอบโจทย์หรือไม่ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน บางคนเห็นว่า ถ้ารวมเข้าไปแล้ว อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคว่าจะทำให้ไม่สามารถนิรโทษกรรมกับใครได้เลย ขณะที่ฝ่ายที่เห็นว่าหากไม่รวม อาจจะไม่ตอบโจทย์ ในการระงับการขยายตัวของความขัดแย้งก็ได้ จึงยังไม่ได้เข้าสู่รายละเอียดของเรื่องนี้ ส่วนแนวโน้มยังไม่มีการสรุปเหลือตัวเลือกเดียวก็ได้อาจจะมีทางเลือกและแนวทางการสร้างโดยเปรียบเทียบข้อเท็จจริง

นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า และแนวโน้ม กมธ. อาจไม่สรุปแค่ตัวเลือกเดียว อาจทำตัวเลือกหลายแนวทางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เราต้องพิจารณากว้างกว่านั้น ไม่เหมือนในต่างประเทศที่เหตุการณ์จบไปแล้ว แต่ตอนนี้ความขัดแย้งยังดำเนินอยู่ ซึ่งในบางกรณีที่เห็นต่างกัน อาจวางเงื่อนไขก่อน เพื่อทำความเข้าใจ และนำไปสู่การนิรโทษกรรม

สำหรับ การดำเนินการของพรรคก้าวไกล ในกรณีที่ผู้ต้องขังในคดีทางการเมืองอดอาหาร เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมนั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า พรรคยังไม่สามารถเกี่ยวข้องได้ เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พรรคก็เป็นห่วง ซึ่งหากเราคิดว่า นิรโทษกรรมแล้วเว้นบางอย่างไว้ เพื่อให้ได้บางส่วนดีกว่า อาจจะไม่ตอบโจทย์ แต่เข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ที่มีความห่วงใยว่า หากนิรโทษกรรมไปแล้ว จะนำไปสู่สภาวะเดิมอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ชี้นักการเมืองไม่ใช่อาชญากร บทลงโทษไม่ควรรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ-ยุบพรรค 

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีสถานการณ์การเมืองปี 2568 มีโอกาสเกิดคดีความที่นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ สส. ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย

'ชูศักดิ์' ดักคอฝ่ายค้านยื่นซักฟอก บอกปม 'ชั้น14-MOU44' คุยนานแล้วไม่มีน้ำหนัก

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบมีการลงมติตามมาตรา 151 ในสมัยประชุมนี้ว่า ถือเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน แต่ตนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นขึ้นอยู่กับประเด็น

เชือดนิ่มแต่เจ็บจี๊ด! 'นิพิฏฐ์' ตอกกลับ 'เด็จพี่-พายัพ' ตำหนิ 'ชวน หลีกภัย'

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สันดานเดียวกัน คบกันได้ ผมอ่านข่าว นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และ นายพายัพ ปั้นเกตุ ออกมาวิจารณ์ท่านชวน

'ภูมิธรรม' มั่นใจรัฐบาลอยู่ครบเทอม 4 ปีแน่!

'ภูมิธรรม' มั่นใจรัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี เชื่อปี 68 ไม่มีเหตุวุ่นวายนำสู่รัฐประหาร ชี้ ปชต.ไม่ควรสะดุดขาดตอน ย้ำสัมพันธ์ทหารดีมาก มอง 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยธรรมดาของคนอยู่ ตปท.