“เศรษฐา” แถลงหลังประชุมคกก.ดิจิทัล ให้คณะทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงตามความข้อสังเกตกฤษฎีกา-ป.ป.ช. 30 วัน เผย ผู้ว่าฯธปท. เพิ่งจะเห็นข้อเสนอแนะป.ป.ช. จึงขอไปศึกษาก่อน ไม่ชัด ได้เร็วหรือช้า
15 ก.พ.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 1/2567 ว่า ที่ประชุมรับทราบถึงหนังสือจากคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยคณะกรรมการฯ มีมติให้ดำเนินการตามข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาและข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. โดยการตั้งคณะทำงานและมอบหมายให้ตามข้อสังเกตต่างๆ โดยมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ขยายขอบเขตการพัฒนาให้เกิดการโปร่งใสและป้องกันการทุจริตในโครงการ ให้เป็นไปตามข้อสังเกตต่างๆ
“โดยที่ประชุมมีมติตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำอาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ ซึ่งจะมีบุคคลที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งคณะกรรมการทุกท่านเห็นด้วยกับรายชื่อของอนุคณะกรรมการชุดนี้ ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านต่างๆจะเริ่มดำเนินการโดยทันที โดยคณะทำงานด้านการรวบรวมข้อเท็จจริง กำหนดระยะเวลาไว้ 30 วัน ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นจะมีการนัดประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet อีกครั้ง เพื่อเอาข้อเสนอแนะของป.ป.ช.เข้าอย่างเป็นทางการและพิจารณาเดินหน้าโครงการ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป”นายเศรษฐา กล่าว
นายกฯ กล่าวว่า ทั้งนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการหลายท่าน เช่น ผู้ว่าฯธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เพิ่งเห็นรายละเอียดจากคณะกรรมการกฤษฎีกาและป.ป.ช.ในวันนี้ ก็ขอเข้าไปพิจารณาศึกษาก่อน ซึ่งตนยืนยันว่าได้ให้ผู้ว่าธปท.ไปศึกษาให้เต็มที่และพิจารณาตามข้อเท็จจริง ถ้าหากมีข้อสังเกตการณ์ หรือมีข้อเสนอแนะอะไรให้บอกมา นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีการถกเถียงกันในวงกว้าง ไม่ใช่แค่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (สศช.) แต่ยังมีกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงดีอีเอสที่มาให้ข้อมูล ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน วันนี้เป็นการประชุมในวงกว้างและไม่มีการตัดความเห็นหรือข้อเสนอแนะของใคร ซึ่งได้มีการพูดคุยกันอย่างครบถ้วน แต่เนื่องจากข้อมูลของป.ป.ช.เพิ่งมาถึงมือและหลายข้อมูลเป็นข้อมูลลับ ซึ่งนำมาเปิดเผยในที่ประชุมวันนี้ ซึ่งหลายท่านก็ขอนำไปศึกษาก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่คณะกรรมการทุกท่านต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ครบถ้วน เพราะเป็นนโยบายสำคัญ
เมื่อถามว่า ในข้อเสนอของ ป.ป.ช. ระบุว่าไม่ควรที่จะกู้เงินควรใช้งบประมาณปกติ นายเศรษฐา กล่าวว่า ทุกอย่างเรามีการพิจารณาใหม่หมดให้ทุกท่านได้มีการเสนอแนะในวงกว้าง มีการพูดคุยถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ เรื่องจีดีพีที่ต่ำกว่าปกติ เรื่องดอกเบี้ยและหลายๆ เรื่อง
ถามว่า ครบ 30 วันจะมีการคุยกันอีกครั้งใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ทางคณะกรรมการระบุจะต้องมีการประชุมกันอีกครั้ง ไม่ใช่แค่การพูดคุยกันในวงนอก เพื่อความโปร่งใสและทุกฝ่ายจะได้มีข้อเสนอแนะที่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังกรอบเวลา 30 วันจะเกิดความชัดเจนใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ก็น่าจะต้องมี เพราะเป็นข้อกำหนดแล้วเมื่อสักครู่ในที่ประชุมก็ตกลงกันอย่างนั้น เมื่อถามว่า ยังยืนยันจะออกเป็นพ.ร.บ. เงินกู้ใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ยังไม่ทราบเลยซึ่งต้องมีความคิดเห็นว่าจะใช้วิธีไหน
เมื่อถามว่า นายกฯจะบอกอะไรไรกับประชาชน และห่วงความรู้สึกประชาชนหรือไม่ว่าจะช้าออกไปอีก นายเศรษฐา กล่าวว่า มันคือข้อเท็จจริง หากเร่งทำไป ก็จะมีหลายภาค ส่วนถามว่าทำไมต้องเร่ง และอาจจะมีข้อสังเกต เรื่องการกระทำไม่ถูกต้องหรือเปล่า เราเข้าใจความเดือดร้อนของประชาชน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ได้แถลงถึงสถานการณ์จากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกำลังซื้อหด และได้มีการช่วยพยุงราคาค่าครองชีพต่างๆ หากเรามัวแต่ทำเรื่องเก่าๆ มันก็จะเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ หากจะต้องช้าไปเพื่อความถูกต้อง เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง ตนเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องและจำเป็น
ถามว่า กรอบเวลา 30 วันหากศึกษาแล้วสามารถทำได้ ไทม์ไลน์ จะขยับไปจากเดิมหรือไม่ และถ้าศึกษาแล้วบอกไม่ควรกู้เงิน อาจจะขยับไปปีงบประมาณ 68 เลยหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า คิดว่าคงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับข้อสรุปว่าจะสรุปอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า ใช้คำว่าช้าแต่ชัวร์ที่จะได้เงินดิจิทัลใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า "ค่อนข้างเป็นไปได้ ใช่ครับ ไม่แน่ใจด้วยว่าจะช้าหรือเปล่า เพราะตอนนี้ยังไม่ทราบว่าข้อเสนอแนะคืออะไร หากทุกคนมองออกมาแล้วบอกว่า จำเป็นเร่งด่วน เป็นเรื่องที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว มีคณะกรรมการที่ตั้งมาแล้ว ทุกภาคส่วนสบายใจว่าสามารถกำกับดูแลเรื่องนี้ให้มีความโปร่งใสได้ คณะกรรมการที่ต้องรับผิดชอบในหน่วยงานของเขา ต้องตอบปัญหาพี่น้องประชาชนให้ได้ ถ้าเขาสามารถอธิบายได้ ผมเชื่อว่าน่าจะเดินต่อได้เร็ว "
เมื่อถามว่า ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า "ยังไม่ได้ครับ"
ถามอีกว่า ป.ป.ช.เห็นว่าควรแจกเฉพาะกลุ่มเปราะบาง จะต้องมีการทบทวนกลุ่มผู้แจกหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนได้ทบทวนไปแล้วหากย้อนเวลาไปได้ตอนต้น ซึ่งมีหลายท่านแนะนำว่า อย่าแจกคนรวย เหตุผลที่ล่าช้ามา ตนได้ถามกลับไปจากคนที่แนะนำว่า บอกหน่อยว่าคนรวยนั้นเงินเดือนเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครบอก เราเองก็ไปคิดมาว่าคนรวยคือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ก็ถูกต่อว่าว่า70,000 แต่ยังมีหนี้ล้นพ้นตัวอยู่ ตนไม่ใช่คนรวยอยากได้ด้วย แล้วจะให้ตัดตรงไหน นโยบายทีแรกเราบอกว่าแจกทุกคน ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป แต่พอได้รับฟังความคิดเห็นมาบอกว่า ให้แจกเฉพาะกลุ่มเปราะบาง จึงอยากให้บอกมาเป็นเอกฉันท์เลย ว่ากลุ่มเปราะบางนั้นเท่าไหร่ แล้วมานั่งพูดคุยกันดีกว่า
เมื่อถามว่า การแจกเงินดิจิทัล จะเกิดขึ้นแน่นอนใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เดี๋ยวต้องฟังจากที่คณะกรรมการประชุมกัน เมื่อถามย้ำว่าไทม์ไลน์ ขยับออกไป นายกฯ รีบกล่าวสวนว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะขยับหรือเปล่า ซึ่งต้องฟังความคิดเห็นก่อน จะมีวิธีไหนอย่างไร เมื่อถามอีกว่า กระทบแผนฟื้นศรษฐกิจที่นายกฯบอกว่าวิกฤตหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ข้อสมมติฐานนั้นผิด ที่บอกว่าจะล่าช้าออกไป ตนยังไม่ได้บอกว่าจะล่าช้าออกไป ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลสรุปจะออกมาอย่างไร ต้องฟังจากคณะกรรมการฯ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยคงต้องตายกันยกแผง! ‘สมหมาย ภาษี’ ซัดตรงรัฐบาล ไม่เห็นทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เรื่องที่เป็นนโยบายจะทำโน่นทำนี่เพื่อแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งการยกระดับคนจนระดับล่างให้ดีขึ้น ไม่เห็นรัฐบาลนี้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
‘เทพไท’ ชี้เปรี้ยง บทบาทโกอินเตอร์ ‘แพทองธาร-เศรษฐา’ ต่างกันราวฟ้ากับดิน
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “บทบาท อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา ต่างกันราวฟ้ากับดิน โกอินเตอร์” ระบุว่าบทบาทของนางสาวแพทองธาร ชิน