15 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ เข้าสู่วาระการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) ตามที่กมธ.วิสามัญฯ พิจารณาศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ที่มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว โดยสส.หลายคน โดยเฉพาะฝ่ายค้าน และสส.ภาคใต้ คัดค้านเนื้อหาในรายงานของกมธ.ที่ไม่มีความชัดเจนในหลายทั้งเรื่องความคุ้มทุนของโครงการ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถตอบคำถามได้เรื่องการประหยัดระยะเวลา ค่าใช้จ่ายในเส้นทางเดินเรือพร้อมแสดงความเป็นห่วงเรื่องพื้นที่ป่าไม้ และวิถีชีวิตคนในพื้นที่ต้องสูญเสียไปจำนวนมาก อาทิ นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า รายงานฉบับนี้พูดแต่ผลดี แต่ไม่พูดถึงผลเสีย มีคำถามมากมายที่สำนักนโยบายและแผนการขนส่ง(สนข.)ตอบไม่ได้ เช่น ผลกระทบต่อการถมทะเล ป่าต้นน้ำหายไป ไม่ใช่ไม่อยากพัฒนาภาคใต้ แต่เคยถามคนภาคใต้หรือไม่อยากได้อะไร รายงานฉบับนี้ประชุมแค่ 10ครั้ง เป็นการมัดมือชก มีข้อบกพร่องมากมาย ไม่มีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการพัฒนาท่ามกลางความเดือดร้อนประชาชน วิถีชีวิตชาวบ้านที่ต้องสูญเสียวิถีทำกินไม่ใช่เรื่องเล็ก
นายณัฏฐ์นนท์ ศรีก่อเกื้อ สส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การลงทุนโครงการนี้เป็นของเอกชน 100%หรือไม่ มีทางเลือกอื่นหรือไม่ หากเอกชนไม่ให้ความสนใจ และใช้หลักอะไรกับการให้สัมปทานโครงการ 50ปี แม้โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อภาคใต้ แต่สิ่งที่ต้องตระหนักมี 4ข้อคือ 1.ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2.ค่าตอบแทนเวนคืนต้องเป็นธรรม 3.การจัดการไฟฟ้า แหล่งน้ำในพื้นที่พาดผ่าน จะจัดการอย่างไรไม่ให้กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ 4.การอ้างข้อมูลการจ้างงานในพื้นที่จะหลอกชาวบ้านหรือไม่ สิ่งที่ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นโครงการคือ ข้อมูลหน่วยงานรัฐมีความสมบูรณ์แบบ 100%หรือไม่ ขอให้กมธ.ทบทวน ฟังความเห็นต่างของสส.ด้วย
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ที่ระบุว่า อาจช่วยลดเวลาและรยะทางขนส่ง ก็เกิดคำถามที่ไม่มีคำตอบมากมาย รัฐบาลต้องตอบคำถามสำคัญ 3ข้อคือ 1.ไม่มีออปชั่นอื่นที่ดีกว่านี้แล้วใช่ไหม นอกเหนือจากการดำเนินโครงการนี้ เม็ดเงิน 1ล้านล้านบาทที่จะใช้ในโครงการ ยกระดับความสามารถการแข่งขันอะไรของประเทศได้บ้าง 2.จะจัดการความเสี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างไร พื้นที่ดำเนินการโครงการเป็นพื้นที่มรดกโลก 6แห่ง เต็มไปด้วยศักยภาพทั้งทางบก ทางน้ำ ต้องเวนคืนพื้นที่หลายหมื่นไร่ สูญเสียพื้นที่ประมง ป่าไม้ พื้นที่ปลูกทุเรียน และผลไม้มากมายคือต้นทุนที่ต้องจ่าย 3.โครงการนี้ต้องวางสมดุลและแสดงวิสัยทัศน์ชัดเจนเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน เป็น 3คำถามสำคัญสุดที่ยังไม่มีคำตอบในรายงานฉบับนี้ ถ้ารัฐบาลเลือกโครงการแลนด์บริดจ์ หวังจะแชร์ส่วนแบ่งการเดินเรือในภูมิภาค ต้องตอบคำถามให้ได้ชัดเจนใน3องค์ประกอบคือ เส้นทางดำเนินโครงการต้อง1.เร็วกว่า 2.สะดวกกว่า 3.ถูกกว่า แต่เนื้อหาในรายงานแค่บอกว่า อาจจะลดเวลา ไม่สามารถอนุมานได้จะเร็วกว่า หรือการขนส่งที่ต้องใช้ทั้งทางเรือ ทางราง ทางรถ จะสะดวกในการขนส่งสินค้าหรือไม่ ส่วนเรื่องถูกกว่ายังไม่มีคำตอบในรายงาน ต้องรอรายละเอียด ดังนั้นถ้ารัฐบาลตอบคำถามไม่ได้ ก็ไม่สามารถรับรายงานฉบับนี้ได้
ด้านน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ตนเป็นอดีตกมธ.ฯ เหตุผลที่ลาออกเป็นเพราะไม่สามารถให้ความเห็นกับตัวรายงานฉบับนี้ได้ ซึ่งแทนจะไม่มีการแก้ไขอะไรเลยจากวันที่ตนได้ลาออกมา ทั้งนี้ไม่ใช่เรื่องผิดที่กมธ.ฯส่วนใหญ่ที่มาจากฝั่งรัฐบาลมีธงมาจากบ้านแล้วว่าเราควรจะทำโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นมติครม.หรือนโยบายที่กลายเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลไปแล้ว แม้จะไม่มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก็ตาม แต่สิ่งที่เราจำเป็นที่จะต้องกังวลใจต้องดูว่าสิ่งที่เราศึกษามานั้นรอบคอบ ถูกต้องหรือไม่ และที่ผ่านมาตนถามในห้องกมธ.ฯหลายรอบก็ไม่ได้รับคำตอบจาก สนข.ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางการเดินเรือ การคำนวณการเติบโตของท่าเรือ ซึ่งตนยังไม่รู้ว่าจะเชื่อรายงานของสนข.ได้หรือไม่ และรายงานฉบับนี้ที่อ้างอิงรายงน สนข.ไปเต็มๆแบบนี้ เราจะยังเชื่ออะไรอยู่หรือไม่ รวมทั้งการประเมิณความคุ้มค่า ที่บอกว่าความคุ้มค่าทางการเงินสามารถคุ้มทุนได้ภายใน 24 ปี โดยที่มีผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ 8.62 % จริงหรือไม่
“รายงานฉบับนี้กำลังรับรองความผิดพลาดอะไรอยู่ ดิฉันกังวลมากจริงๆ ท่านอาจจะไม่อายแต่ดิฉันอายเวลาที่นายกฯ ต้องออกไปพูดกับต่างชาติเรื่องโครงการนี้โดยที่เนื้อในเป็นแบบนี้ จริงๆ แล้วดิฉันไม่ได้ทำเพราะเป็นฝ่ายค้านแล้วต้องค้านทุกเรื่อง แต่เรายังต้องรักษาภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของนายกฯไว้บ้าง และดิฉันไม่ได้มีปัญหาต่อการพัฒนาภาคใต้ และยินดีพร้อมใจถ้าจะมีการรื้อรายงานของสนข.และรื้อรายงานของกมธ.ฯใหม่อีกครั้ง และสามารถศึกษาใหม่มีแนวทางใหม่ขึ้นมาและคุ้มค่าดิฉันก็ยินดีที่จะสนับสนุนโครงการใหม่นั้น”น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
จากนั้นเวลา 17.00น. หลังสมาชิกใช้เวลาอภิปรายแสดงความคิดเห็นนานเป็นเวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที ที่ประชุมมีมติ 269 ต่อ 147 งดออกเสียง 2 ไม่ออกเสียง 1 เสียง เห็นชอบรายงานผลการพิจารณาศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของคณะกมธ. และจะได้ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ท้ารัฐบาลอยากตั้ง ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ แน่จริงก็เอาสิ เชื่อพลังแผ่นดินจะเกิดขึ้น
'จตุพร' ท้ารัฐบาลอยากตั้ง ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ แน่จริงก็เอาสิ ชี้แม้ลาออกจากพท.แล้วแต่ความสัมพันธ์ยังแนบแน่น ยุรีบตั้งทั้งบ่อน ทั้งแลนด์บริดจ์ ซุกที่ดิน 99 ปี เชื่อพลังแผ่นดินจะเกิดขึ้น ถึงคราต้องลุกต่อต้านรัฐบาลขายแผ่นดิน
สภาฯผ่านฉลุยกฎหมายห้ามตีเด็ก
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา
'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้
'ประเสริฐ' โลกสวย! 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ฟาดกันกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่
'ประเสริฐ' ชี้ 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ปะทะคารมกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่ ปัดตอบ สส. เพื่อไทย โหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม โยนถามวิปรัฐบาล
จบข่าว! สภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม 'ชลน่าน-พิเชษฐ์' หวิดวางมวย
ประชุมสภาฯ หวิดปะทะ “ชลน่าน” อารมณ์ขึ้นชี้หน้า “รองพิเชษฐ์” โต้ “อยากเป็นให้ขึ้นมา” สุดท้ายได้โหวต คว่ำข้อสังเกตรายงานนิรโทษกรรม ส่งให้รัฐบาลเฉพาะตัวรายงานอย่างเดียว
สมชัย แนะ 5 ทางออก อย่ากลัวหาก ‘สว.’ จะแก้ กม.ประชามติ จากร่างเดิม ‘สส.’
ประเด็นที่หวาดหวั่นกันคือ การแก้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) สำหรับการทำประชามติเรื่องสำคัญ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ว่า ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง และชั้นที่สอง มติที่ชนะก็ต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ