สส.สาวก้าวไกล สุดกังวล 'ขบวนการเก็บตะวัน'

14 ก.พ.2567 - น.ส.พนิดา มงคลสวัสดิ์ สส.สมุทรปราการ พรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาว่า ตนเห็นว่าหากจะพิจารณาเรื่องการถวายความปลอดภัย เราต้องมองอย่างรอบด้านมากกว่าเรื่องอารักขาขบวนเสด็จ จึงอยากชวนทบทวนเรื่องดังกล่าวผ่านเรื่องของน.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน นักกิจกรรมการเมือง เจ้าของคลิปบีบแตรและมีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่บนทางด่วนที่มีขบวนเสด็จฯ​ จนเป็นเหตุของญัตติในวันนี้ ซึ่งการอภิปรายตนไม่ได้ออกความเห็นว่าการกระทำของน.ส.ทานตะวัน เหมาะสมหรือไม่ ถูกผิดอย่างไร แต่ตนอยากชวนให้คิดตามและฝากข้อสังเกตไปยังนายกฯว่าเราเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และจะสร้างการจัดการที่เหมาะสมอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก โดยแรกเริ่มสังคมเห็นชื่อเยาวชนคนนี้ปรากฏช่วงปลายปี 64 จากคลิปเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนถีบมอเตอร์ไซค์ของผู้ชุมนุมที่วิ่งมาด้วยความเร็วล้ม และเข้าใช้กำลังรุมทำร้ายร่างกายผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย ทราบภายหลังว่าหนึ่งในนั้นคือผู้ถูกกระทำในวันนี้ คือน.ส.ทานตะวัน และหลังจากนั้นเห็นน.ส.ทานตะวัน ถือกระดาษสอบถามความเห็นในสถานที่สาธารณะ โพลที่ถามสอดคล้องกับความคิดเห็นของเจ้าตัว โดยข้อเรียกร้องของน.ส.ทานตะวัน หลักๆคือการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เรียกร้องการปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง นำมาสู่การอดอาหารประท้วงในเรือนจำสู่โรงพยาบาล และจากการต่อสู้เหมือนจะเป็นสันติวิธีที่น.ส.ทานตะวันเลือก กลับทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอุ้มไปมากกว่า 5 ครั้ง ถูกคุมขังในเรือนจำ 2 ครั้ง

ทำให้นายศาสตรา ศรีปาน สส.สงขลา พรรครวมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นประท้วงว่า สิ่งที่ผู้อภิปรายได้พูดนอกประเด็นไปแล้ว ขอให้ไปยื่นญัตติใหม่ เพราะวันนี้เราพูดถึงเรื่องการถวายการอารักขาและถวายความปลอดภัย และขอให้ประธานควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในประเด็น โดยนายพิเชษฐ์ วินิจฉัยว่า กำลังฟังว่าผู้อภิรายนั้นจะอภิปรายไปในทางไหน ถ้ามาเล่าเรื่องว่าคนนี้ โดนอย่างโน่น อย่างนี้มา จึงเป็นที่มาของการกระทำในครั้งนี้ ตนว่าทำไม่ถูก และย้ำว่าญัตตินี้คือการหาแนวทางเพิ่มความปลอดภัย ส่วนแนวทางไหนที่จะทำให้แย่ลงตนคิดว่าไม่ตรงประเด็น ขอให้อยู่ในญัตติ

จากนั้น น.ส.พนิดา อภิปรายต่อว่า สิ่งที่ตนกำลังอภิปรายอยู่นั้นคือการสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นการตั้งสมมติฐานว่าปิดกั้นการแสดงออกอย่างสันติวิธีผลักให้ผู้ชุมนุมหรือนักกิจกรรมต้องเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้น

ซึ่งระหว่างที่น.ส.พนิดาอภิปรายอยู่ นายศาสตรา ได้ลุกขึ้นประท้วงอีกครั้งว่า การประกันตัวของผู้ที่กระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ ตนพูดได้หรือไม่ว่าพฤติกรรมมันส่อ ขอให้ท่านประธานช่วยควบคุมด้วย ทำให้นายพิเชษฐ์ วินิจฉัยว่า คนที่อภิปรายเดี๋ยวจะมีอีกหลายคนที่จะพูดในทำนองนี้กัน เราจะประชุมไปต่ออย่างไร ฉะนั้น ขอให้รักษาประเด็นหน่อย

ทำให้นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ลุกขึ้นประท้วงว่า ขอประท้วงประธานในที่ประชุมให้ควบคุมการอภิปรายให้เป็นไปตามข้อบังคับ วันนี้ไม่ได้มีแค่ญัตติเดียว และเป็นญัตติที่มีการตั้งชื่อไว้อย่างกว้างขวางซึ่งญัตติที่เกี่ยวข้องกับขบวนเสด็จไม่ใช่แค่การอารักขา แต่มีเรื่องของที่มาว่าเป็นมาอย่างไร หลังจากเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้น เราจะป้องกันเหตุการณ์นั้นอย่างไร ย้ำว่ารัฐสภาคือพื้นที่ที่ปลอดภัยที่เราจะต้องมาคุยเรื่องความเห็นต่างของคนในสังคม เพื่อหาทางออกร่วมกัน นี่ไม่ใช่การทะเลาะ นี่คือการเห็นต่างแล้วเราต้องมาพูดคุยกันว่าจัดการกับความเห็นต่างอย่างไร เพื่อให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต หากพูดกันได้อย่างเดียว ก็ปล่อยให้ฝ่ายรัฐบาลลุกขึ้นมาด่าคนว่าหนักแผ่นดินได้ แต่ฝั่งพวกตนไม่สามารถหาทางออกว่าเราจะอยู่ด้วยกันในสังคมที่แตกต่างกันได้อย่างไร ตนคิดว่ารัฐสภาจะไม่ใช่พื้นที่ที่ปลอดภัยอีกต่อไป ขอร้องเพื่อนสมาชิกเราอดทนร่วมกัน ไม่ประท้วง ตนเข้าใจว่าทุกคนมีความรู้สึกร่วมกัน เรามาพูดคุยและรับฟังอย่างมีวุฒิภาวะ ขอร้องให้วันนี้เป็นไปอย่างราบรื่น

จากนั้น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ลุกขึ้นประท้วงประธานในที่ประชุมว่า ขอให้ขานญัตติของนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อีกครั้งเนื่องจากเมื่อสักครู่ได้ขานญัตติของนายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ไปแล้ว เพราะจะได้คลี่คลายความไม่เข้าใจของเพื่อนสมาชิก ทำให้นายพิเชษฐ์ ขานชื่อญัตติของนายจุรินทร์อีกครั้ง พร้อมกล่าวว่า ญัตติสร้างสรรค์และประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน และขอให้น.ส.พนิดา อภิปรายต่อ

โดยน.ส.พนิดา อภิปรายต่อว่า ตนมีคำถามฝากไปถึงเพื่อนสมาชิกฝ่ายรัฐบาลว่าเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เราต่างกำลังหาวิธีการแก้ไขปัญหา หลายคนเสนอให้มีการเพิ่มมาตรการให้มีการอารักขาให้เข้มงวดมากขึ้น ตนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งให้มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เหตุการณ์ที่เราไม่อยากให้เกิด ไทม์ไลน์ที่ตนเล่ามาจะเห็นได้ว่าการต่อสู้ของน.ส.ทานตะวันในวันแรกจนถึงวันนี้มีท่าทีที่เปลี่ยนไป นั่นคือการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะ ในพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งหากมองเพียงกระพี้ก็จะเห็นแค่ว่านี่เป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน รำคาญใจหากเยาวชนคนนี้ยังไม่หยุดดื้อรั้น จะต้องกำหราบปราบปรามไปเรื่อยๆ จนกว่าจะยอม แต่อยากให้ทุกคนมองถึงแก่นว่านี่คือผลลัพธ์ของการปิดกั้นการแสดงออกอย่างสันติของประชาชนหรือไม่ เพราะจุดเริ่มต้นของการถูกคดีร้ายแรงของน.ส.ทานตะวันเกิดจากกระดาษแผ่นเดียวที่การทำโพลเท่านั้น

“ดิฉันคิดว่าเวลานี้ยังไม่สายเกินไปที่รัฐบาลจะจัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม สร้างทุกพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย แสดงความคิดเห็นพูดคุยถกเถียงกันได้ หากมีความผิดก็ว่ากันไปตามกฎหมายอย่างเหมาะสมไม่เกินสัดส่วนที่ตีความกันไว้ ซึ่งบทบาทของนายกรัฐมนตรีสำคัญมากในการบริหารความสัมพันธ์ของประชาชนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ของประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงความสัมพันธ์ของประชาชนกับประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บทบลาทหลักของนายกรัฐมนตรีจะต้องถือธงนำในการแก้ไขปัญหานี้ ไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งดำเนินต่อไปจนเกิดความรุนแรง แต่ท่าทีของนายกรัฐมนตรีในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาทำให้ดิฉันเกิดความกังวลว่าท่านอาจจะกำลังจำกัดพื้นที่สนทนาเรื่องนี้ให้แคบลงไปกว่าเดิม และอาจก่อให้เกิดผลลบกว่าเดิม ซึ่งหากลองสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจะพบว่าเวลานี้อาจจะไม่ใช่แค่น.ส.ทานตะวันที่รู้สึกอัดอั้นตันใจ แต่มีหลายคนที่ยังมีคำถาม รวมถึงคนที่เห็นต่างจากน.ส.ทานตะวันก็ยังไม่มีพื้นที่ที่ปลอดภัย” น.ส.พนิดา กล่าว

น.ส.พนิดา กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนกังวลคืออาจจะทำให้เหตุการณ์นี้บานปลายขึ้นคือขบวนการเก็บตะวันที่มีการโพสต์ขู่ว่าคนที่เห็นต่างอย่างเปิดเผย เป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะ ตนเชื่อว่าเราไม่อยากให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เงียบเชียบ ที่ทุกคนไม่กล้าพูดแสดงความคิดเห็นอะไร ออกมาพูดก็ถูกจับ ทั้งที่สังคมประชาธิปไตยต้องยอมรับความเห็นที่แตกต่าง มีพื้นที่ให้ทุกคนได้แสดงออกอย่างปลอดภัยให้ความยุติธรรมต่อหน้ากฎหมายเดียวกัน สุดท้ายนี้น.ส.ทานตะวันเป็นเพียงภาพสะท้อนของชุดความคิดที่ไม่มีการรับฟัง ไม่มีการตอบสนอง ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นปลายเหตุของการสะสมความไม่พอใจต่อระบบนี้เท่านั้น จึงขอฝากไปยังนายกรัฐมนตรีไม่เพียงแค่ทบทวนปรับปรุงมาตรการการรักษาความปลอดภัย แต่ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุความขัดแย้งหรือความเห็นต่างให้มีการรับฟังอย่างมีวุฒิภาวะเพื่อยุติความขัดแย้งไม่ให้บานปลายไปกว่านี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ยังบลัดก้าวไกล’ มั่นใจหากโดนยุบพรรค 143 สส. เกาะกลุ่มไปไหนไปกัน ไร้งูเห่า

พนิดา ยันหากโดนยุบพรรค สส.143 คนไปไหนไปกัน ไม่มีแตกแถว ไร้งูเห่า หลังพิง 14 ล้านเสียงคนโหวตให้  แต่ศาลรธน.ไม่ยึดโยงกับประชาชน จะมายุบ เปิดโดมิโนการเมือง หากพรรคส้มไม่รอด

เราแบกความหวัง 14 ล้านเสียง แต่กลับจะถูกยุบด้วยองค์กร ที่อาจขาดความยึดโยงกับประชาชน

เราแบกความหวัง 14 ล้านเสียง แต่กลับจะถูกยุบด้วยองค์กร ที่อาจขาดความยึดโยงกับประชาชน ในช่วงนับถอยหลังรอลุ้นผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคก้าวไกล วันพุธที่ 7 สิงหาคม ก็มีมุมมอง-ทัศนะจากหนึ่งในนักการเมืองหน้าใหม่พรรคก้าวไกล

อดข้าวใกล้จะตาย 'ดร.เสรี' แนะวิธีแก้ง่ายมาก ไม่ใช่ไปขอศาลให้ประกันตัว

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถ้าอดอาหารแล้วเกิดอาการป่วยจนใกล้ตาย วิธีการแก้ไขคือกลับมากินข้าวกินน้ำเหมือนคนทั่วไปพึงกระทำ

'ศาสดาเจียม' ถาม ถ้า 'ตะวัน' เกิดเหตุฉุกเฉินช่วยไม่ทัน ตายไป ใครรับผิดชอบ?

นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ลี้ภัยการเมืองในฝรั่งเศ

กลับบ้านแล้ว 'น้องหยก' ประกาศยุติเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง

หยก ธนลภย์ เยาวชนนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โพสต์ข้อความในนเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า "ยุติการเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองแล้วค่าา อยู่กับที่บ้านเรียบร้อย

'ตะวัน-แฟรงค์' ชวดประกันตัวครั้งที่ 6 ศาลชี้ไม่มีเหตุอื่นให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง

ทนายความได้ยื่นประกัน นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และ นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ ต่อศาลอาญาอีกเป็น