ปชป. เตือนรัฐบาล รักษาระยะห่างหยุดยุ่มย่ามแบงก์ชาติ มัวแต่หมกมุ่นแจกเงินดิจิทัล แนะเร่งช่วยเหลือคนจน-กลุ่มเปราะบางก่อน ทำได้ทันทีใช้งบเพียง 2 แสนล้านบาท
9 ก.พ. 2567 – นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐบาบ เรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเศรษฐกิจนั้นว่า การลดดอกเบี้ยแค่ 25 สตางค์ ไม่ได้ช่วยอะไร และกว่าจะส่งผลเศรษฐกิจจริงๆ ก็ไม่ใช่ระยะสั้นประมาณ 1 ปี ถึงจะเห็นผลทางเศรษฐกิจ แต่ควรไปขอให้แบงก์ชาติดำเนินการเรื่องมาตรการ LTV (Loan-to- Ratio) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย” คือ เกณฑ์อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้านที่รัฐบาลกำหนดไว้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำมาซื้อบ้าน “ถูกจำกัดวงเงินในการกู้ตามกำหนด”
“หากเราช่วยอสังหาริมทรัพย์ จะได้ผลผลิตทางเศรษฐกิจชัดเจนและเร็วกว่า ทำไมเรื่องแค่นี้ นายกฯ ที่มาจากภาคอสังหาริมทรัพย์แท้ๆ จึงไม่เข้าใจและไม่สนใจ ซึ่งที่สำคัญรัฐบาล คือ ฝ่ายการเมือง ควรรักษาระยะห่างการเข้าไปกดดันเกี่ยวพันกับแบงก์ชาติมากเกินไป จะทำให้ภาพความน่าเชื่อถือของแบงก์ชาติที่ต้องการความเป็นอิสระลดลง” นายชนินทร์ ระบุ
นอกจากนี้ นโยบายคลัง คือ กลไกสำคัญที่อยู่ในมือรัฐบาล เหมือนลูกบอลอยู่ในเท้า ทำไมไม่ใช้ จะต้องรอโครงการดิจิทัล วอลเล็ต อย่างเดียว ไม่มีแผนสองอยู่ในสมองบ้างเลยหรือ อย่างนี้จะดูแลประเทศ โดยเฉพาะปัญหาเฉพาะหน้าที่จะดูแลคนยากจน ที่รอการช่วยเหลืออยู่ได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน ถ้าโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ไปไม่ไหว ยังไม่มีกำหนดที่ชัดเจน รัฐบาลควรดูแลคนจน กลุ่มเปราะบาง จำนวนไม่ถึง 20 ล้านคน ให้มีเงินใช้จ่ายอยู่ในมือ ซึ่งทำได้ทันที และไม่ต้องกู้ เพราะใช้เงินประมาณ 2 แสนล้านบาท จบโครงการ โดยปัญหาเรื่องการบริโภคในประเทศ ไม่ได้มีปัญหารุนแรง เพราะว่ามีการเติบโตอยู่จากตัวเลขของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแบงก์ชาติก็โตอยู่ประมาณ 7-8 % แต่ที่มีปัญหา คือ การบริโภคใช้จ่ายของภาครัฐที่ลดลง ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำได้อยู่แล้ว คือการไปเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ การลงทุน ให้รวดเร็ว แต่ต้องไม่รั่วไหล
อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อลดลงไม่ใช่เรื่องที่จะตีความว่า “เศรษฐกิจแย่”เพราะรู้กันอยู่ มาจากการเข้าไปอุดหนุนราคาพลังงานน้ำมันและไฟฟ้า ทำให้เงินเฟ้อผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ดังนั้น ช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศมีปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจก็มาก ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การลงทุน และการจ้างงาน โดยเฉพาะภาคบริการปรับตัวดีขึ้น แต่ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี โทษใครไม่ได้ นอกจากการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลเอง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
นายกฯ อิ๊งค์ฝากติดตามแถลง 12 ธ.ค.ผลงานรัฐบาล 90 วัน
นายกฯอิ๊งค์ ลั่นรัฐบาล มุ่งสร้างโอกาสจับต้องได้ให้ประชาชน ปากท้องอิ่ม ดึงศักยภาพคนไทย ลั่นปรับสมดุลการค้าสหรัฐ-จีน ย้ำ รบ.อยู่ครบเทอม ฝากติดตามแถลงผลงานรัฐบาล 12 ธ.ค.นี้
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'นิพนธ์' ซัดรัฐบาลแจกเงินหมื่น เฟส 2 หวังผลการเมือง ไม่ใช่กระตุ้นเศรษฐกิจ
นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย-อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตนายก อบจ. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฟส 2 ของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีการแจกเงินสด 10,000 บาท ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ลงทะเบียนในระบบและยืนยันตัวตนแล้ว รวมกว่า 4 ล้านคน
ป้า 67 ป่วยหลายโรค หาบเร่ขายของเลี้ยงชีพ หวังได้เงินหมื่น เฟส 2 หวั่นตกหล่น บัตรคนจนก็ไม่มี
บุรีรัมย์ ป้า 67 ป่วยความดัน มีก้อนเนื้อที่คอ แต่ต้องหาบเร่ขายของเลี้ยงชีพและลูกพิการ หวังได้เงินหมื่น เฟสสอง มาแบ่งเบา