รองประธานสภาฯ ลั่นต้องแก้รธน. จัดสมดุลอำนาจใหม่ อย่าให้องค์กรอิสระล้นเกิน

6 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เป็น 1 ในสส. 44 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่านโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกลมีการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จะมีการเตรียมการชี้แจงอะไรหรือไม่ ว่า ยังไม่มีการเรียกแต่อย่างใด และคิดว่าเรื่องนี้จะไม่กระทบการทำงาน ซึ่งคงต้องหารือสส.ของพรรคก้าวไกล ทั้ง 43 คนที่ร่วมกันลงชื่อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะตนอยู่ในกรรมการบริหารพรรคชุดนั้นจริง และเห็นด้วยกับการออกนโยบาย 300 ข้อในการหาเสียง เรื่องในอดีตตนมีส่วนรับผิดรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ที่จะมีการเรียกไต่สวน เรียกพยาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ตนก็พร้อมจะให้ความร่วมมือเต็มที่ ส่วนการชี้แจงที่ผ่านมาสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระบวนการยื่นกกต.ในเรื่องของนโยบาย รวมไปถึงการตอบคำถามกับสื่อมวลชน ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ทำงานพูดไปตามข้อเท็จจริงที่ เราเตรียมการ

ส่วนกังวลหรือไม่ที่จะกระทบต่อตำแหน่งในอนาคต นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า กังวลว่าจะกระทบสิทธิและเสรีภาพของกระบวนการนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจอื่นหรือองค์กรอื่นมาบอกว่าสส.ทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้ ตนยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องที่ตนจะอยู่ในตำแหน่งนาน แต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่หลุดพ้น ออกจากอำนาจที่จะอยู่เหนือหรือล้ำรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก

เมื่อถามว่าทางออกควรเป็นอย่างไร นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ขบวนการพิจารณาระยะสั้นสังคมจะเจอคำถามว่ากระบวนการพิจารณาความยุติธรรมขององค์กรอิสระมีความยุติธรรม และเป็นไปตามจริยธรรมหรือไม่ และเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เราไม่ได้ไปก้าวร่วงในการพิจารณาคดี แต่หากคำตัดสินไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ นักวิชาการจำนวนมากก็พูดว่าแบบนี้จะเป็นการใช้อำนาจเกินไปหรือไม่ ส่วนเรื่องระยะยาว องค์กรต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2560 ถึงจะมีต้นกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่เรื่องหน้าที่ถึงเวลาต้องทบทวนอย่างหนักในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อองค์กรอิสระเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้รับการประเมินอย่างตรงไปตรงมาถึงความจำเป็นที่จะมีอยู่ในอนาคต

ถามอีกว่าในอนาคตการนำเสนอนโยบายและการแก้กฎหมาย จะต้องกลั่นกรองหรือไม่ เพราะต่อไปจะทำให้สส.ไม่กล้าเสนอกฎหมาย นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องของนิติบัญญัติที่โดนดูถูก และตกต่ำ ว่าถ้าสส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่สามารถที่จะเสนอกฎหมายได้ ทุกเรื่องต้องผ่านศาลก่อน จึงสามารถดำเนินการได้ ตนกลัวว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นไปตามการแบ่งศาลอำนาจ ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไรนั้น ตนมองว่า หากคนในกระบวนการยุติธรรมทำความผิด ก็ควรมีกระบวนการในการเอาผิด ไม่เช่นนั้นจะมีอำนาจล้นเกินของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ ว่าเราจะจัดสมดุลอำนาจกันอย่างไร ตนไม่เห็นด้วยที่นิติบัญญัติจะเป็นเอกเทศ โดยไร้การตรวจสอบ ขณะเดียวกัน ผู้ตรวจสอบกลับไม่มีอะไรไปตรวจสอบเขา เรื่องนี้ต้องมากลับมาจัดสมดุลนั้นอำนาจใหม่ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2

จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง

ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง

ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง