5 ก.พ.2567-ที่รัฐสภา นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลตอบรับการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ในช่วงหลังวันที่ 15 มี.ค. เป็นกรอบเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ว่า ความเห็นส่วนตัว อยากจะตำหนิรัฐบาล ว่าการใช้สิทธิของวุฒิสภา เพื่อเปิดอภิปรายเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล และประชาชน เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ที่ระบุอยู่ในมาตรา 171 ถ้าท่านจะปฎิเสธการทำหน้าที่ของวุฒิสภา โดยเห็นว่าการทำหน้าที่ในฝ่ายบริหารและทำตามนโยบายอื่นๆ สำคัญกว่าเรื่องนี้ ตนคิดว่าน่าจะไม่ถูกต้อง ละเลยความสำคัญของการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องมาชี้แจงทั้งคณะร้ฐมนตรี (ครม.)
“ขอเรียนว่า เรื่องที่เราเปิดอภิปรายทั้ง 7 ประเด็น นานวันเข้าข้อมูล ข้อเรียกร้อง ข้อสงสัยมากมายของประชาชนได้เกิดขึ้น ถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการในบางเรื่อง อาจจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างแก้ไขไม่ได้ เพราะฉะนั้น วุฒิสภาเห็นว่า มีเรื่องที่สำคัญเพียงพอที่จะเปิดอภิปราย มีความสุกงอมมากพอ และจำเป็นต้องเท่าทันกับห้วงเวลาที่จะเกิดปัญหา เรามีเหตุมีผล เรายกร่างหนังสือมา และทำตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญทุกประการ ดังนั้น การที่รัฐบาลจะมาตอบเราปลายเดือน มี.ค.เป็นต้นไป หรือปล่อยให้เราหมดวาระการดำรงตำแหน่งนั้น ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นการละเลยการทำหน้าที่ที่ดีของรัฐบาลของประชาชน“
ถามว่ามองเป็นการดึงเวลา เพื่อให้กระแสเบาลงไปหรือไม่ นายดิเรกฤทธิ์กล่าวว่า ก็เป็นเหตุผลที่ประชาชนคลางแคลงสงสัยเหมือนกัน การดึงเวลาไว้ ไม่ได้มีประโยชน์ต่อรัฐบาลเลย มีแต่ผลเสีย เพราะเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับระบบรัฐสภา และตัวแทนของประชาชน ดังนั้น เมื่อวุฒิสภาทำหน้าที่เหล่านี้ รัฐบาลต้องวางเรื่องอื่น รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ และมาตอบ แถลงข้อเท็จจริง แถลงปัญหา ข้อจำกัด เพื่อหาวิธีการจัดการกับเรื่องที่รัฐบาลจะขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
สำหรับเวลาที่ให้รัฐบาลอภิปรายนั้น นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า ตามที่ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไป คือ 2 วัน จันทร์และอังคารในเดือน ก.พ. ซึ่งก็มีหลายสัปดาห์ ดังนั้น ท่านจะต้องยินยอม พร้อมใจ หาวันให้เรา บรรจุลงระเบียบวาระ
“แต่ถ้าท่านละเลย หรือให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยไปหน่อย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ หากท่านเห็นว่ามีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า แล้วให้เวลาเราปลาย มี.ค. ซึ่งท่านก็ไม่แน่ใจด้วยซ้ำ เป็นเพียงข่าวจากแกนนำของรัฐบาล ไม่ได้ให้ตามคำขอของเรา ถ้าเกิดท่านติดภารกิจอีก มันจะไปเดือน เม.ย.ใช่หรือไม่ อย่างไร ถ้าไป เม.ย. แล้วเปิดไม่ได้ ติดสมัยประชุม ก็จะถึงวิธีการที่ไม่ต้องมาอธิบายเลยใช่หรือไม่“
เมื่อถามถึงกรณีที่ประธานวุฒิสภา ยังไม่บรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องเร่งด่วน นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า ตนจะถามนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เหมือนกัน ว่าทำไมถึงยอมให้รัฐบาลเขาต่อรองเราได้ เพราะเรากำหนดไปแล้ว หากเขาไม่มา เราก็อภิปรายข้างเดียวไปเลย หากรัฐบาลไม่มา ก็ถือว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพราะเรื่องอย่างนี้ไม่ให้ความสำคัญกับระบบรัฐสภาไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลต้องมาแถลงข้อเท็จจริง ชี้แจงข้อขัดข้อง และคำถามที่วุฒิสภาแจ้งไปแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย
'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
'นิพิฏฐ์' ท้าเดิมพัน! 'ทักษิณ' ไม่ผิด112-ชั้น14 ยอมเอาตะกร้อครอบปาก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ขอให้มนุษย์เข้าใจหมาด้วย" โดยระบุว่า
'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า