“ลิณธิภรณ์” ลั่น นิรโทษกรรมไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางออกสำหรับความขัดแย้งการเมืองไทยที่ฝังรากลึกมานานนับทศวรรษ
1 ก.พ.2567 - เวลา 13.10 น. น.ส.ลินธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ว่า ภายหลังจากการรัฐประหารครั้งล่าสุดมีการดำเนินคดีทางการเมืองสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานยอดตั้งแต่การชุมนุมเยาวชนปลดแอก วันที่ 18 ก.ค. 2563 จนกระทั่งถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566 นั้น มีประชาชนถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไปแล้วอย่างน้อย 1,938 คน ในจำนวน 1,264 คดี
โดยในจำนวนนี้มีเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจำนวน 286 ราย และในจำนวน 1,264 คดีนั้น มี 469 คดีที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เหลือเพียง 700 กว่าคดีที่ยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ทั้งนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองไม่ได้เพิ่งเริ่มต้นเพียงทศวรรษที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังฝังรากมาตั้งแต่สมัยที่มีการชุมนุมหลากสีเสื้อด้วยความเชื่อ และอุดมการณ์ของแต่ละฝ่ายที่แตกต่างกัน
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในแต่ละฝ่ายมีแง่มุมที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายที่อยากเห็นประเทศไทยดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง, พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง, คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) จนถึงบรรดานักศึกษา ประชาชนต่อต้าน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองและรัฐบาลในปัจจุบัน
น.ส.ลินธิภรณ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การนิรโทษกรรมไม่ได้จำกัดเพียงแค่ประเภทเดียว แต่ในรอบ 70-80 ปีที่ผ่านมาเราแบ่งกันนิรโทษกรรมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. การยกเว้นความผิดให้แก่ผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติหลังยึดอำนาจการปกครองสำเร็จ 2.นิรโทษกรรมให้ผู้ที่กระทำความผิดด้านความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจรัฐ อาศัยหลักกรุณาในโอกาสสำคัญต่างๆ และ 3.นิรโทษกรรมยกเว้นความผิดให้แก่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง ถือเป็นการยุติความขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนึ่ง
โดยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และในช่วงที่มีการรัฐประหารต่อการถึง 2 ครั้ง ข้อมูลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้คือคดีทางการเมืองเกิดขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งการแสดงออกในปัจจุบันและคดีในอดีตที่ติดพันมา ดังนั้น ประเด็นการนิรโทษกรรมจึงไม่เคยเลือนหายจากประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการพยายามยื่นกฎหมายในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาแต่กลับไม่มีร่างใดที่ประสบความสำเร็จ สะท้อนให้เห็นว่าการแก้กฎหมายนิรโทษกรรมในปัจจุบันเป็นเรื่องยาก แต่มี 2 ร่างที่ผ่านได้คือร่างของรัฐประหารในปี 2549 และปี 2557 ที่สามารถนิรโทษกรรมตัวเองสำเร็จได้
“แม้เราจะไม่อาจลืมหรือย้อนอดีตได้ แต่เราสามารถแก้ไขให้ปัจจุบันดีขึ้นได้ การนิรโทษกรรมในวันนี้จึงไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นทางออกสำหรับความขัดแย้งในทางการเมืองไทยที่ฝังรากลึกมานานนับทศวรรษ และนี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่เราจะได้เรียนรู้ และจดจำ ก้าวข้ามความขัดแย้งไปด้วยกัน ไปสู่การปรองดอง ภายใต้รัฐบาลใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เคยระบุไว้ว่า การนิรโทษกรรมการปรองดองระหว่างประชาชนทั้งประเทศเป็นเรื่องสำคัญและจะทำให้เกิดขึ้นได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ และจะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้อย่างปลอดภัย มีเสถียรภาพ แม้แต่ละพรรคการเมืองจะมีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การตั้งกมธ.ศึกษาร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติที่เห็นพ้องร่วมกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด” น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
ปปช.เปิดทรัพย์สิน 'ก่อแก้ว' สุดอู้ฟู่รวย 263 ล้านบาท
เปิดเซฟ 'ชัยธวัช ตุลาธน' อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล 19.3 ล้านบาท 'อภิชาติ' อดีตเลขาธิการพรรค 13.2 ล้านบาท 'ก่อแก้ว' อู้ฟู่ 263 ล้าน