'เพื่อไทย-ก้าวไกล' จับมือยื่นแก้ไข 'ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ' หวังแก้ปัญหาเสียงข้างมาก 2 ชั้น เพิ่มความยืดหยุ่น ให้ กกต.จัดประชามติวันเดียวกับเลือกตั้งได้
01 ก.พ. 2567 - ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ 2 ฉบับ คือฉบับจากพรรคร่วมรัฐบาลที่พรรคเพื่อไทยเป็นผู้เสนอ และอีกฉบับจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่พรรคเพื่อไทยเป็นผู้เสนอ
โดยนายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า จะนำร่างทั้ง 2 ฉบับนี้ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ดำเนินการตามขั้นตอน และบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมต่อไป ซึ่งน่าจะเสร็จโดยเร็ว เพราะเรามีเวลาในสมัยประชุมอีกไม่มากประมาณ 2 เดือนเท่านั้น
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กล่าวว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกพรรคเพื่อไทย 129 คน ร่วมกันลงชื่อ เพื่อขอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติปี 2564 เนื่องจากกฎหมายฉบับปัจจุบันกำหนดให้การออกเสียงประชามติ เป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้น โดยชั้นที่ 1 คือผู้มาใช้สิทธิ์ต้องเป็นเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และชั้นที่ 2 คือผู้ที่มาออกเสียง ต้องเป็นเสียงข้างมากของผู้ใช้สิทธิ์ จึงสุ่มเสี่ยงกรณีหากประชาชนไม่ออกมาใช้สิทธิ์ หรือไม่ประสงค์ใช้สิทธิ์ จะทำให้การออกเสียงประชามติเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
“สมาชิกของพรรคเพื่อไทยจึงเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรแก้กฎหมาย โดยให้ใช้เสียงเข้ามาตามหลักทั่วไป เพียงกำหนดเงื่อนไขของพรรคเพื่อไทยให้เป็นเสียงข้างมากควรจะเกินเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ออกเสียง เพื่อความถูกต้องชอบธรรม”นายชูศักดิ์ กล่าว
นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ยังมีอีก 3 ประเด็นที่ควรแก้ไปพร้อมกัน คือเห็นว่าการออกเสียงลงคะแนน ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน ราว 3,000 ล้านบาท จึงคิดว่าหากการออกเสียงประจำมติใกล้เคียงกับวันเลือกตั้งทั่วไปหรือวันเลือกตั้งท้องถิ่น ก็น่าจะจัดไปพร้อมกันในวันเดียวได้ เพื่อประหยัดงบประมาณ และประชาชนก็ไม่ต้องออกมาหลายครั้ง ส่วนอีกประเด็นคือ เห็นว่าควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาวิธีการออกเสียงลงมติ นอกจากการไปกาบัตร เช่น การส่งไปรษณีย์ หรือออนไลน์
นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า การออกเสียงประชามติควรมีการรณรงค์ จึงควรเขียนไว้ให้ชัดในกฎหมายว่าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำเป็นต้องทำ รวมถึงเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาแสดงความคิดเห็นได้โดยเสมอภาค จะทำให้การออกเสียงประชามติได้รับการรับรู้รับทราบของประชาชน
ฝ่ายนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า อยากให้ประชาชนมองว่าการแก้ไขกฎหมายประชามติในครั้งนี้ คือการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประจำมติหัวข้อใดก็ตาม โดยฉบับของภาคก้าวไกล ประกอบไปด้วยการแก้ไขใน 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 คือ ทำให้กติกามีความเป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากข้อกังวลของ หลักการเสียงข้างมาก 2 ชั้น เราเข้าใจว่าผู้ออกกติกานี้ตั้งใจให้ประชามติมีผลต่อประชาชนจำนวนมาก แต่มีความเสี่ยงเปิดช่องให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ถูกถาม ใช้วิธีการนอนอยู่บ้าน ไม่ออกมาใช้สิทธิ์เพื่อคว่ำประชามติ ถึงก็เปลี่ยนกติกาให้เป็นเสียงเกินกึ่งหนึ่ง 1 ชั้น คือ ให้เสียงประชาชนผู้เห็นชอบมีเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์
ประเด็นที่ 2 คือ ปลดล็อกให้ กกต. สามารถจัดประชามติในวันเดียวกันกับการเลือกตั้งอื่นๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพื่อประหยัดงบประมาณ และยังเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับพรรคเพื่อไทย และทำให้ กกต. ยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เพื่อป้องกันไม่ให้คณะรัฐมนตรีใช้เป็นข้ออ้างในการเลื่อนวันทำประชามติออกไป และประเด็นที่ 3 คือทำให้ประชามติมีความทันสมัยมากขึ้น ให้ประชาชนออกเสียงประชามติผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพราะปัจจุบันการเข้าชื่อต้องพิมพ์เอกสารออกมาแล้วลงชื่อเท่านั้น ไม่สามารถทำผ่านออนไลน์ได้ พรรคเก้าไกลจึงต้องการประกันสิทธิ์ของประชาชนให้สามารถเข้าชื่อทางออนไลน์ได้
นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า ขณะที่อีก 2 ประเด็นเพิ่มเติมของพรรคเพื่อไทย เราเห็นด้วยในหลักการอยู่แล้ว จะดูรายละเอียดในตัวร่างเพิ่มเติม ว่าจะปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งกว่าฉบับปัจจุบันได้อย่างไร
ทั้งนี้ ทั้ง 2 พรรคได้ประสานงานกันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เพราะทั้งสองฝ่ายก็เห็นความจำเป็นในการนำเสนอการแก้ไขประชามติในทิศทางที่ค่อนข้างสอดคล้องกัน หวังว่าการแถลงข่าวครั้งนี้จะเป็นทั้งตัวอย่าง และนิมิตหมายที่ดี
“แม้ว่าทั้งสองพรรคอาจจะอยู่กันคนละฝั่งในระบบรัฐสภา แต่ก็พร้อมร่วมมือกันในประเด็นที่เห็นด้วย ส่วนประเด็นที่เห็นต่าง ก็พร้อมแข่งขันกันเต็มที่ เพราะเป็นแนวทางที่ท้ายสุดประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับประชาชน” นายพริษฐ์ กล่าว
ส่วนความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ต่อร่างกฎหมายที่เสนอไปนั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า หากร่างแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวถูกตีความว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป ก็จะต้องเข้าสู่การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มี สว. ร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งคิดว่าปัญหาเสียงข้างมาก 2 ชั้น ไม่ใช่ประเด็นใหม่สำหรับสมาชิกรัฐสภา ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับ กกต. นั้น ก็ได้เคยเชิญหน่วยงานเข้าหารือแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
ปปช.เปิดทรัพย์สิน 'ก่อแก้ว' สุดอู้ฟู่รวย 263 ล้านบาท
เปิดเซฟ 'ชัยธวัช ตุลาธน' อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล 19.3 ล้านบาท 'อภิชาติ' อดีตเลขาธิการพรรค 13.2 ล้านบาท 'ก่อแก้ว' อู้ฟู่ 263 ล้าน
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก