'เพื่อไทย' ยื่นสภาฯ แก้พรบ.ประชามติ เปิดช่องทำง่ายขึ้น ประหยัดงบประมาณ

30 ม.ค.2567 - เมื่อเวลา 15.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุม สส.ของพรรค นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรค ทั้งนี้ มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและ รมว.คลัง ร่วมการประชุมด้วย

จากนั้นเวลา 15.50 น. นายชูศักดิ์ แถลงว่า พรรคเพื่อไทยจะเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติปี 64 ซึ่งเข้าชื่อกันเรียบร้อยแล้วจะยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯวันที่ 31 ม.ค. เวลา 11.00น. ซึ่งสาระสำคัญที่ขอแก้ไข คือ กฎหมายเดิมกำหนดการออกเสียงต้องใช้เสียงข้างมากสองชั้น กล่าวคือการออกเสียงจะมีผลต้องมีคนออกมาใช้สิทธิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั้งหมด เมื่อมาใช้สิทธิแล้วต้องชนะกันด้วยเสียงข้างมาก โดยแก้ไขเป็นใช้เสียงข้างมากเกินกว่าหรือมากกว่าผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนหรือผู้ไม่มาใช้สิทธิ์ และเราเห็นว่าการออกเสียงประชามติแต่ละครั้งใช้งบประมาณ 3-4 พันล้าน จึงคิดว่าหากการออกเสียงประชามติใกล้เคียงกับการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งทั่วไปให้นำไปใช้สิทธิวันเดียวกันเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากจึงเสนอให้การลงคะแนนนอกจากการกาบัตรหน้าคูหาแล้วให้เพิ่มวิธีอื่นเข้าไปเช่นใช้สื่ออิเล็กทรอนิคหรือการลงคะแนนผ่านทางไปรษณีย์เข้ามา โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เป็นผู้ประเมินความพร้อมเพราะไม่ใช่การบังคับ และก่อนหน้านี้กฎหมายห้ามรณรงค์ จนมีคดีความต่างๆออกมาให้เห็นตอนลงประชามติรัฐธรรมนูญปี 60 เราจึงเสนอให้ กกต.เปิดโอกาสให้ฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยรุณรงค์กันได้อย่างเท่าเทียมกัน และฝ่ายค้านก็เห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมายนี้อาจไปยื่นพร้อมๆกันในการแก้กฎหมาย

นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยเสนอญัตติด่วนตั้งกมธ.วิสามัญ เพื่อศึกษาการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งญัตติค้างอยู่ในการพิจารณาของสภาฯ ขณะนี้เรื่องนิรโทษมีการถกเถียงกันอยู่ว่าจะนิรโทษอะไรบ้างรวมเหตุการณ์ใดบ้าง พรรคเพื่อไทยเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดคือการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติ เพื่อไทยเห็นว่าการนิรโทษควรเป็นนิมิตหมายของการสร้างความปรองดอง ไม่ควรเป็นเหตุทำให้เกิดความขั้ดแย้งขึ้นใหม่ เราเห็นว่ากมธ.ควรประกอบด้วยผู้แทนพรรคการเมือง คนภายนอกที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม เพื่อให้ได้รับความเห็นที่กว้างขว่าง โดยวันที่ 31 ม.ค. จะเสนอให้เลื่อนการพิจารณาญัตติดังกล่าว เพื่อให้ได้พิจารณากันในวันที่ 1 ก.พ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

ดิ้นสุดซอย! 'ชูศักดิ์' ชี้ช่องยื่นตีความ พรบ.ประชามติ เป็นกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการตีความร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ว่าเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ