'อนุทิน' ลงนาม MOU 5 หน่วยงานต้านทุจริตสอบข้าราชการท้องถิ่น 6,000 ตำแหน่ง

'อนุทิน' ลงนาม MOU 5 หน่วยงานต้านทุจริตสอบข้าราชการท้องถิ่น 6,000 ตำแหน่ง หลังกระแสข่าวเรียกรับสินบน 600,000 บาท ขอ ปชช.อย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้างเปรียบขบวนการเหมือนจีนสีเทา หากพบเบาะแสแจ้งศูนย์ดำรงธรรม 1567

26 ม.ค. 2567 - เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กระทรวงมหาดไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ได้เป็นประธานในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภาคีเครือข่ายการป้องกัน ต่อต้าน และปราบปรามการทุจริตการสอบแข่งขันท้องถิ่นเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2567 ระหว่าง 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) และคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.)

​นายอนุทิน กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธี MOU ว่า สถ. ได้ดำเนินการจัดจ้างมหาวิทยาลัยให้ดำเนินการจัดสอบแข่งขันฯ ซึ่งปีนี้มีตำแหน่งว่าง 6,238 อัตรา โดยคาดว่าจะมีผู้สมัครสอบมากกว่า 500,000 คน กระจายไปตามภูมิภาคของศูนย์สอบ และสนามสอบต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ด้วยระหว่างนี้ได้ปรากฏข่าวว่ามีขบวนการทุจริตการสอบแข่งขันหลายกลุ่ม และที่ผ่านมาได้มีประชาชนเข้ามายื่นหนังสือร้องเรียนต่อกระทรวงมหาดไทย(มท.) ว่ามีการเรียกรับเงินเป็นหลักแสนบาท เพื่อแลกกับการช่วยเหลือให้เป็นผู้สอบแข่งขันได้เพื่อแสดงจุดยืนของกระทรวงมหาดไทย ขอมอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบแข่งขันฯ กับทุกส่วนที่อยู่ในทุกขั้นตอนของกระบวนการสอบ ประกอบด้วย

​1.มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานในการจัดสอบแข่งขัน ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดและรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อสอบและคำตอบรั่วไหล ในทุกขั้นตอน หากปรากฏหลักฐานว่ามีการทุจริตที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดสอบ มหาวิทยาลัยต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย ​

2. ผู้สมัครสอบแข่งขัน ต้องให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการสมัครเข้าสอบแข่งขัน หากปรากฏหลักฐานว่ามีการสมยอมให้มีการเรียกรับเงิน เพื่อแลกกับการช่วยเหลือให้เป็นผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สมัครสอบต้องถูกปรับให้ตก และถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้สมัครสอบแข่งขันเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไปตลอดชีวิต รวมทั้งต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา

​3.ข้าราชการ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ห้ามมิให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในทางใดๆ อันจะส่งผลให้การสอบแข่งขันดังกล่าวมีการทุจริต หรือมีการเรียกรับเงินเกิดขึ้น หากปรากฏหลักฐานว่ามีการกระทำดังกล่าวต้องถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง

และ 4.บุคคลอื่นใด หรือกลุ่มบุคคลใด หรือสถาบันติวใด หากปรากฏหลักฐานว่า มีส่วนรู้เห็น หรือร่วมกระทำการทุจริต หรือเรียกรับผลประโยชน์เพื่อช่วยเหลือให้เป็นผู้สอบแข่งขันได้ ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาด้วย

นายอนุทิน กล่าวยืนยันว่าตลอดการทำงาน 4 เดือนที่ผ่านมาไม่มีการทุจริต ไม่มีทางที่จะคิดเรียกรับเงินตามข่าวที่ออกมาหัวละ 600,000 บาทและคนที่จะเข้ามาสอบมีกว่า 6,000 คนซึ่งถ้าคิดเป็นเงิน ก็ 36,000 ล้านบาท ซึ่งมีพูดไปถึงว่ามีการจ่ายเงินก่อนทุกคน แล้วถ้าไม่ได้ก็จะให้เงินคืน อยากขอความกรุณาให้ความเป็นธรรมของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง ว่าจะเป็นไปได้หรือ หากมีการรับเงินจากผู้สอบรายละ 600,000 บาทจะเอาเงินไปเก็บที่ไหนและจะไม่มีใครโวยวายโดยจะไม่มีใครล้อซื้อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และทางกระทรวงก็พร้อมที่จะดำเนินการ ทุกอย่างที่จะต่อต้านและป้องกัน และการก่อให้เกิดความยุติธรรมที่สุด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยต้องการคนเก่งทำงานให้กับบ้านเมือง

" ตัวผมเองมีวาสนาได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ผมก็คงไม่ฝากให้กระทรวง ที่ผมได้กำกับดูแลครั้งหนึ่งในชีวิต ไปฝากคนที่มีเจตนาทุจริต ตั้งแต่วันแรกที่จะเข้ามาเป็นราชการ ซึ่งคิดว่าคนในกระทรวงมหาดไทยไม่มีใครยอม แต่เพื่อให้เกิดความสบายใจแก่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้ปกครองของคนที่มาสอบ เกิดความสบายใจ เพราะคนที่มาหลอกก็เหมือนจีนเทา ที่ใช้ข้อมูลล่อลวง จึงขออย่าให้ไปเชื่อถือ เพราะคนในกระทรวงมหาดไทยไม่มีการทำเรื่องในลักษณะนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากที่สุดเราจึงเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาป้องกันเรื่องดังกล่าว"นายอนุทิน กล่าว

​น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ภายใต้ MOU ทั้ง 5 หน่วยงาน มีแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือในหลายด้าน อาทิ ร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายการป้องกัน ต่อต้าน และปราบปรามการทุจริตการสอบแข่งขันฯ ร่วมกันจัดให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน ต่อต้าน และปราบปรามการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการสอบแข่งขันฯ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่รณรงค์ เพื่อให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายการป้องกันการทุจริต ชี้เบาะแสการทุจริตให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ร่วมกันจัดทำช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และเมื่อปรากฏข่าวการทุจริตการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นภาคีเครือข่ายจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยมีการประสานข้อมูลระหว่างกันอย่างใกล้ชิด

"หากพบบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีพฤติการณ์แอบอ้างว่าจะสามารถทำให้สอบเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือเรียกรับผลประโยชน์อื่นใด ขอให้แจ้งเบาะแสมาที่กระทรวงมหาดไทย ผ่านสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567" น.ส.ไตรศุลี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ลงสงขลาเปิดอาคารเทศบาลเมืองคอหงส์

'อนุทิน' ลงพื้นที่สงขลา เป็นประธานเปิดอาคารเทศบาลเมืองคอหงส์ อ.หาดใหญ่ ย้ำบทบาทเทศบาลยุคใหม่ส่งเสริมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกด้าน

'เสี่ยหนู' ส่งใจช่วยคนใกล้ชิดรักษาเก้าอี้นายกอบจ. 'ทักษิณ' ตระเวนปราศรัยทำตามสิทธิ์

'เสี่ยหนู' ส่งใจ ช่วยคนใกล้ชิดเครือข่ายสีน้ำเงิน รักษาเก้าอี้นายกอบจ.ภาคอีสาน แจงเป็นนโยบายภูมิใจไทยไม่ส่งผู้สมัครในนามพรรค ต้องวางตัวเป็นกลาง ชี้'ทักษิณ' ตระเวนปราศรัยทำตามสิทธิ์

มท.1 แจงเรื่องปกติปลัดอำเภอตามบุคคลสำคัญ ปลอบปชน.'อย่ากังวล ถ้ามั่นใจความนิยมดี'

มท.1 ชี้ปมปลัดอ.ป่าซางไลน์หลุด 'อย่ากังวลเลย ถ้ามั่นใจความนิยมดี' ไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดอุปสรรค พร้อมสั่งตรวจสอบ7วัน หลังส่องปชน.หาเสียง ยันเป็นเรื่องปกติติดตามบุคคลสำคัญ

'อนุทิน' ยันไม่มีสัญญาณปรับครม.บอก 'สส.สงขลา' อยู่ในขั้นอุทธรณ์ หากผิดก็ว่าไปตามผิด

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ที่ชี้มูลความผิดนายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย

มท.สั่งตรวจสอบข่าวนายอำเภอสั่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ติดตามการหาเสียงปชน.ย้ำต้องวางตัวเป็นกลาง

โฆษก มท. เผยมหาดไทยย้ำเจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกระดับวางตัวเป็นกลางเลือกตั้งท้องถิ่น ปฏิบัติตามระเบียบราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการ มอบผู้ตรวจฯสแกนเข้มการทำงาน พร้อมตรวจสอบข่าวอำเภอสั่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านติดตามการหาเสียงของพรรคการเมือง