'จุลพันธ์' รับทำดิจิทัลวอลเล็ตอาจไม่ทัน พ.ค.นี้ ยัน เดินหน้าต่อ ตั้งวงถกความเห็น 'กฤษฎีกา-ป.ป.ช.' ป้องขัดกฎหมาย ซัดมีหน่วยงานตั้งธงขวาง ชี้เป็นหน้าที่รัฐบาลต้องทำความเข้าใจทุกฝ่าย
17 ม.ค.2567 - นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวชี้แจงข้อสงสัยต่อกรณีโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ว่าคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตได้เลื่อนการประชุมจริงเมื่อวันที่ 16 ม.ค. เนื่องจากมีเอกสารข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงเห็นว่าควรเลื่อนการประชุมก่อน เพื่อรอให้เอกสารของ ป.ป.ช. มาถึงพร้อมกัน แล้วประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ทีเดียว เพื่อกำหนดแนวดำเนินการต่อไป
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า เอกสารของ ป.ป.ช. แสดงความเห็นค่อนข้างตรงและแรงพอสมควรในการคัดค้านการดำเนินนโยบาย รัฐบาลก็รับฟังและนำมาพิจารณาประกอบ ขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าเอกสารดังกล่าวเป็นทางการแล้วหรือไม่อย่างไร ซึ่งมี น.ส.สุภา ปิยะจิต อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตเป็นผู้ทำข้อเสนอแนะดังกล่าวมา โดย น.ส.สุภา เป็นผู้ที่ติดตามนโยบายของรัฐบาลจากการเลือกตั้งมาตลอดอยู่แล้ว และในเวลานี้รัฐบาลก็รอความชัดเจนในเรื่องเอกสารของ ป.ป.ช.
“วิกฤตนี้ไม่ใช่เรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นวิกฤตการเห็นอกเห็นใจพี่น้องประชาชนที่มีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ คือทุนนิยมที่ไม่มีหัวใจจะไปเข้าใจผู้ที่เดือดร้อน มันแสดงให้เห็นมาตลอดว่าล้มเหลว รัฐบาลชุดปัจจุบันเราเดินทางไปทั่วประเทศ เราเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เราไม่ได้ทำงานในห้องแอร์ วันนี้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่”นายจุลพันธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า หลายหน่วยงานทั้งกฤษฎีกา และ ป.ป.ช. ขอให้มีการทบทวนโครงการนี้เพราะกลัวจะซ้ำรอยรับจำนำข้าว นายจุลพันธ์ กล่าวว่า เราก็รับฟังประเด็นนี้ ไม่ว่าประชาชนหรือหน่วยงานใดมีข้อคิดเห็น รัฐบาลก็มีหน้าที่รับฟัง เปิดรับควาคิดเห็นหลากหลาย ไม่เคยพูดว่าทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน 100% แต่อยากให้ทุกฝ่ายเห็นถึงความเดือดอร้อนของประชาชน ว่าขณะนี้เศรษฐกิจไม่ได้ดีและต้องการกระตุ้น และสามารถเดินหน้าโครงการได้ เป็นวัตถุประสงค์ที่เราคาดหวัง
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ตอนนี้ที่เราได้เห็นหนังสือของคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นคำตอบเชิงกฎหมาย ไม่มีไฟเขียวไฟแดง และไม่ได้สั่งการให้เดินหน้า มีแต่ความเห็นเรื่องกฎหมาย ซึ่งเรามีหน้าที่รับฟังและปฏิบัติตาม แต่เมื่อมีหนังสือของ ป.ป.ช.มา ก็ค่อนข้างชัดเจนว่ามีการวางธงไม่ให้โครงการนี้เดินหน้า แม้นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตจะได้รับการรับรองจากประชาชนผ่านการเลือกตั้ง และได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ก็ยังมีความเห็นขององค์กรอื่นอาทิ ป.ป.ช. หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่แตกต่าง ซึ่งอาจยังไม่เข้าใจในสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ ทั้งนี้ วิกฤตในขณะนี้ไม่ใช่แค่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ หรือเรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นวิกฤตการเห็นใจประชาชนที่มีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ทุนนิยมที่ไม่มีหัวใจแสดงให้เห็นมาตลอดว่าล้มเหลว รัฐบาลไม่ได้มองเศรษฐศาสตร์เป็นแค่หนังสือแบบเรียน แต่เรามองในมิติความเป็นจริง และในมิติชีวิตของประชาชนที่เดือดร้อนด้วย
“ผมต้องเรียนว่าวันนี้ถ้าดูกรอบเวลาไม่น่าทันเดือน พ.ค. รัฐบาลยืนยันว่าต้องดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตต่อไป ถึงแม้จะไม่สามารถทันกรอบเวลาในเดือน พ.ค. เพราะเมื่อดูจากข้อคิดเห็นจากสิ่งที่ออกมาต่อจากนี้เราคงต้องรอให้ทาง ป.ป.ช.ส่งหนังสือมาทางเรา และต้องเชิญคณะกรรมการนโยบายมาประชุม เพื่อนำเอาความเห็นของทั้งป.ป.ช.และกฤษฎีการมาพิจารณาในครั้งเดียวกัน และเริ่มกระบวการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมในการทำความเข้าใจกับหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ ก็ตามที่ยังไม่เห็นถึงเจตนาดี ที่รัฐบาลพยายามทำ เราต้องสื่อสารจนทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกัน และเดินหน้านโยบายนี้ให้ได้ในที่สุด”นายจุลพันธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเดินหน้าโครงการนี้ต่อจะไม่หวั่นใช่หรือไม่หากเกิดคดีทางการเมืองตามมา นายจุลพันธ์ กล่าวว่า เราถึงต้องทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่างๆ รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้เป็นอนุบาลทางการเมือง เราเห็นอยู่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร สิ่งที่ทำคืออะไร เรามีหน้าที่ทำทุกอย่างให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน และแก้ปัญหาให้กับประชาชน
เมื่อถามว่า จะล้มเลิกการออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน ใช่หรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ สุดท้ายก็ต้องรอให้คณะกรรมการได้พูดคุยและตัดสินใจว่าจะเดินหน้าอย่างไร ดังนั้น ตนขอไม่ให้คำตอบในนาทีนี้ เมื่อถามย้ำว่า จะมีหนทางอื่นอีกหรือไม่นอกจากการออกเป็น พ.ร.ก.หรือพ.ร.บ.กู้เงิน นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุย
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ทั้งนี้เมื่อดูจากอุปสรรคที่เห็นเรามองว่ากลไกที่จะพลักดันโครงการนี้ให้ทันเดือนพ.ค.นี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่จะพยายามให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามกระบวนการต่างๆทั้งการฟังความเห็น และการทำความเข้าใจต้องใช้เวลา ในส่วนกรอบเวลานั้น ยังไม่มี
เมื่อถามว่าหากโครงการนี้เดินหน้าต่อไม่ได้ จะมีแผนสำรองในการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบอื่นหรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ตนยังไม่ให้คำตอบว่าไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามกลไกของภาครัฐมีเยอะ เรามีศักยภาพเพียงพอในการหาหนทางในการช่วยเหลือประชาชน ยังมีหนทางอีกจำนวนมาก ในส่วนของโครงการนี้จะมีจุดจบหรือไม่นั้น ยังไม่ถึงจุดที่สามารถตอบได้ แต่ยังไม่เห็นจุดนั้น และเราจะเดินหน้าต่อไป
เมื่อถามว่า หลังจากนี้รัฐบาลจะถอยอีกหรือไม่ เช่น ลดวงเงินหรือลดกลุ่มเป้าหมายในการแจก นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยกัน ได้ยินแค่จากสื่อ แต่ยืนยันว่าเป้าหมายในการแจกจะยังเป็น 50 ล้านคนเหมือนเดิม
เมื่อถามอีกว่า ถึงกรณีที่ฝ่ายการเมืองมองว่ารัฐบาลยังดันทุรัง นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ดันทุรัง เพราะเรามองถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าศักยภาพ ถ้าไม่ได้ลงพื้นที่สัมผัสประชาชนและมองไม่เห็นในจุดนี้ เราก็ต้องชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาแข็งแกร่งให้เป็นไปตามศักยภาพของประเทศ ดังนั้น จะมาบอกว่าดันทุรังไม่ได้
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าโครงการนี้จะไม่ทันในปีงบประมาณ 2567 นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ไม่ได้กำหนดเวลา ต้องรอตามขั้นตอน เมื่อมีคำตอบที่ชัดเจนจากบางหน่วยงานแล้ว ก้จะประชุมเพื่อหาแนวทางเมื่อนั้นเราจึงจะตอบได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธ.ค.เปิดชื่อแจกหมื่นเฟส2 หั่นเงินส่งFIDFแลกแก้หนี้
“คลัง” ปักธงแจกหมื่นเฟส 2 เป็นเงินสด ให้กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป 4 ล้านราย
‘คลัง’ชงแพ็กเกจใหญ่!กระตุ้นศก.
“คลัง” ฟุ้งเตรียมขนแพ็กเกจใหญ่กระตุ้นเศรษฐกิจ
เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.
ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย
‘เรืองไกร’ สบช่องร้อง ป.ป.ช. เช็คบิล ‘กิตติรัตน์’ ว่าที่ปธ.บอร์ดธปท.
เรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. ตรวจ กิตติรัตน์ ป.กมธ.งปม.2555 เข้าข่ายมีความผิดแบบ สมหญิง หรือไ
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
นักกฎหมาย ชี้ไม่ง่าย 'โต้ง' ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ จะแทรกแซงผู้ว่าแบงก์ชาติ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายคัดค้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ เป็นตัวแทนฝ่