’เสรี‘ โวย ‘สว.‘ โดนล็อบบี้ ไม่ให้เข้าชื่อซักฟอกรัฐบาล ปัดจ้องล้ม รบ. แค่เสนอแนะ เดินหน้าลุยต่อ หวังทำทิ้งทวนผลงานชิ้นสุดท้ายเพื่อประชาชน
15 ม.ค. 2567 – ที่รัฐสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่มีคนสกัด สว. ไม่ให้ลงชื่ออภิปราย ในการรวบรวมรายชื่อ สว. เพื่อยื่นขอเปิดอภิปรายรัฐบาลทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 ว่า การที่จะเปิดอภิปรายได้นั้น จะต้องมีสมาชิกมาลงชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 คือ 84 เสียง ในช่วงเวลาดังกล่าวเราได้เอาญัตติให้สมาชิกไปศึกษาเพื่อให้เห็นประโยชน์ที่จะมีต่อประชาชน แต่ปรากฏว่าสมาชิกหลายคนไม่รับรองให้หรือไม่ร่วม
“บางคนก็พูดกันตรงๆ ว่ามีคนขอกันบ้าง มีพวกกันบ้าง ซึ่งเราพยายามอธิบาย ว่าเป็นเรื่องของหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นความยากลำบากอยู่ระดับหนึ่ง ว่าจาก สว. 250 คน ต้องใช้ 84 เสียง จริงๆ ถ้าไม่มีใครมาล็อบบี้ปล่อยตามธรรมชาติก็ครบไปนานแล้ว” นายเสรี ระบุ
นายเสรี กล่าวว่า สิ่งที่เราทำไม่ใช่การจะไปล้มรัฐบาล แต่เป็นเรื่องที่ สว. เสนอญัตติ เพื่อให้รัฐบาลมาชี้แจงหาทางออกของประเทศใน 7 ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่มีแนวคิดจะไม่ให้มีผู้สนับสนุนญัตติครบ ตนว่าคิดผิด หากรัฐบาลตอบได้ สามารถที่จะดำเนินการตามที่เสนอญัตติไป ก็เป็นเครดิตของรัฐบาล อย่าไปปิดกั้น ควรจะให้ สว.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้
เมื่อถามถึงกรณีเมื่อเช้านี้ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สว. ระบุได้รับการประสานมาว่าขณะนี้มีเสียงเกิน 90 แล้ว สรุปแล้วเสียงถึงหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ตอนนี้เป็นความหวัง เรานำข้อมูลให้สมาชิกได้อ่าน ในปัจจุบันมีผู้แจ้งความจำนงไว้ประมาณ 80 คนแล้ว ซึ่งตนมองว่าน่าจะเปิดอภิปรายได้ เราพยายามจะทำให้ได้ เพราะเป็นภาพลักษณ์ภาพรวมของสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่อยู่ใต้อาณัติใคร เป็นประโยชน์กับบ้านเมืองในช่วงเวลาสุดท้ายที่ สว.ใกล้จะหมดวาระแล้ว เราตั้งใจจะทำให้ดีที่สุด ถือเป็นผลงานสุดท้ายที่เราพยายามทำเพื่อประชาชน แม้ว่าเราจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ความรับผิดชอบในอำนาจหน้าที่เป็นสิ่งที่วุฒิสภาควรจะต้องทำ
ส่วนจะมีการทบทวนหรือไม่ ที่ สว.ยกมือให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น สว. กล่าวว่า เป็นคนละเรื่องกัน ตอนตั้งรัฐบาลก็ตั้งไป แต่ตอนทำหน้าที่ตรวจสอบก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่ง ขณะนี้เราดูการทำงานในช่วงเวลา 4 เดือน ว่าต้องมีอะไรทักท้วงหรือเสนอแนะบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มีความกังวลว่า ไม่ให้ สว. แตะเรื่องคนชั้น 14 หรือไม่ นายเสรี ระบุว่า มีหลายเรื่อง ในส่วนกระบวนการยุติธรรมก็ส่วนหนึ่ง ส่วนเรื่องของเศรษฐกิจการแจกเงินดิจิทัลก็ส่วนหนึ่ง ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญก็ส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ตนมองว่าการนำมาพูดกันในสภาฯ ก็เป็นเรื่องที่ดีที่เป็นทางการ ซึ่งเป็นส่วนของอำนาจหน้าที่ที่เราต้องทำ
เมื่อถามว่า นอกจากการล็อบบี้ ยังมีสาเหตุอื่นอีกหรือไม่ ที่ทำให้ สว. ไม่ร่วมลงชื่อในการเปิดอภิปราย นายเสรี กล่าวว่า ก็แล้วแต่บุคคล เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาคือ การสกัดกั้นในกระบวนการทางการเมือง ซึ่งไม่ควรทำมีแต่ความเสียหายปล่อยให้แต่ละฝ่ายต่างทำหน้าที่ รัฐบาลก็บริหารประเทศไป
ส่วนจะมีการไปขอเสียง สว.ในส่วนของผู้นำเหล่าทัพหรือไม่นั้น นายเสรี กล่าวว่า เราต้องเข้าใจว่าเขาเป็นราชการ ไม่อยากยุ่งเรื่องการเมืองอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ารัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่ เราต้องเข้าใจตรงนั้น เรารู้ผลอยู่แล้ว ไปขอเขาก็ไม่ลงชื่ออยู่แล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘เวชระเบียน’หลอนทักษิณ โยนรพ.ตำรวจมอบให้ปปช.
นายกฯ พยักหน้ารับปม "ป.ป.ช." ทวงถามเวชระเบียนรักษาตัว
'บิ๊กต่าย' ชี้เวชระเบียน 'ทักษิณ' เป็นอำนาจ รพ.ตำรวจ มีคกก.พิจารณามอบให้ ป.ป.ช. หรือไม่
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจอห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พยายามขอเวชระเบียนการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร
'หมอวรงค์' จับโป๊ะ! ยิ่งฟังรัฐบาลแจง ยิ่งต้องรีบยกเลิก 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงต้องยิ่งยกเลิก MOU 44
'อิ๊งค์' แค่พยักหน้า ปม รพ.ตร. ไม่ยอมส่งเวชระเบียน 'พ่อนายกฯ' ให้ ป.ป.ช.
'นายกฯอิ๊งค์' ปฏิเสธตอบคำถาม ปม รพ.ตำรวจ ไม่ส่งเวชระเบียนรักษาตัว 'ทักษิณ' หลัง ‘ป.ป.ช.’ ทวงแล้ว 3 ครั้ง ทำแค่พยักหน้ารับทราบ
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"