12 ม.ค.2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง เงื่อนไขมาตรา 53 มีเนื้อหาดังนี้
สื่อใหญ่ คุณสุทธิชัย หยุ่น วิจารณ์ว่า
‘ภูมิธรรม’ บอกว่าใครคิดว่าเศรษฐกิจไม่วิกฤต ให้ไปถามคนในตลาด
ทำให้คิดถึงที่นายกฯบอกว่า ไปไหนก็มีคนถือป้าย ‘รอเงินหมื่นจากรัฐบาล’
แต่กฤษฎีกาบอกว่าถ้ารัฐบาลจะเดินหน้ากู้เงิน 5 แสนล้านมาแจก ต้องมี ‘ข้อมูลเป็นที่ประจักษ์’ เพราะต้องนำเสนอแบบวิทยาศาสตร์ว่า ‘วิกฤต’
รัฐบาลกำลังติดกับดักที่สร้างขึ้นมาเอง เพราะตอนหาเสียงเรื่องนี้ ยังไม่ได้คิดว่าจะต้องทำจริง ๆ…
ทำไปแก้ปัญหาไป ทีละเปลาะ ก็เจอ ‘วิกฤตความน่าเชื่อถือ’ อย่างที่เห็นอยู่
ผมวิเคราะห์ว่า กฎหมายวินัยการเงินฯ มาตรา 53 อนุญาตให้รัฐบาลออกพระราชบัญญัติกู้เงินได้
เฉพาะถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ
คำว่า 'วิกฤต' ในที่นี้ น่าจะหมายถึงวิกฤตเศรษฐกิจ
ส่วน 'วิกฤตความน่าเชื่อถือ' หรือ'วิกฤตศรัทธา' Crisis of Confidence ในตัวรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ปัญหาเอาเอง
มีข่าวว่า น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการฯ งบประมาณปี 2567 ระบุว่า
ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมาย จะได้พูดคุยกับสภาพัฒน์ฯ, สำนักงบฯ, คลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจ หน้าตาควรต้องเป็นแบบไหน อย่างไร เพื่อค้นหาคำนิยามตามหลักสากล
ผมขอให้ข้อมูลว่า ไม่มีนิยามตายตัวตามกฎหมาย
IMF ก็ไม่มีนิยามวิกฤตเศรษฐกิจ แต่โดยปกติ จะต้องพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์หลายแง่มุมรวมกัน ต่อไปนี้
1 ตัวเลขจีดีพีลดต่ำลงมาก อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลดต่ำถึงขั้นติดลบ
2 การใช้จ่ายของประชาชนเพื่ออุปโภคบริโภคลดลงมาก
3 การลงทุนของธุรกิจเอกชนลดลงมาก
4 ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มขึ้นมาก ธุรกิจเลิกจ่างงานมากขึ้น
5 เกิดปัญหาหนี้ท่วม การชำระคืนหนี้ติดขัดอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ การที่จีดีพีขยายตัวต่ำ ไม่ว่าในตัวเอง หรือต่ำกว่าศักยภาพ โดยปัจจัยนี้ ยังไม่ถือเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ
แต่เกิดจากปัญหาโครงสร้าง ที่รัฐบาลจะต้องวางแผนแก้ไขระยะยาว ให้ตรงจุด
ไม่ว่าด้านการศึกษา ทักษะแรงงาน การผูกขาด การปรามคอร์รัปชัน ฯลฯ
มากกว่าการแจกเงินเพื่อกินเพิ่อใช้
ส่วนการสำรวจความเห็น หรือความรู้สึก ไม่ว่าจะภาคธุรกิจ หรือภาคครัวเรือนนั้น ไม่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์
แต่ทั้งนี้ การกระตุ้นอุปโภคบริโภค ที่ทำให้รัฐบาลต้องเป็นหนี้มากขึ้น โดยไม่ได้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน นั้น
ต้องระวังว่า จะกลับเป็นตัวก่อให้เกิดวิกฤตเสียเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สมชาย' เห็นด้วยอดีตขุนคลังแจกเงินหมื่นเฟสสองเสี่ยงคุก!
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
เตรียมรับอีกคดี! 'อดีตรมว.คลัง' ฟันธง! แจกเงินอายุเกิน 60 ปีผิดกฎหมาย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความว่
'อดีตรมว.คลัง' ร่อนจม.ถึง 'รมว.คลัง' จี้ตรวจคุณสมบัติ 'โต้งไวท์ไล'
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่ง จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีคลังเรื่องแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงค์ชาติ
'ธีระชัย' เผย MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน มาถึงบัดนี้ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังปร
'พปชร.' ลั่น ยกเลิก MOU44 ฝ่ายเดียวได้ หวั่นเอกสารแนบท้าย ทำไทยเสี่ยงเสียพื้นที่ทางทะเล
พปชร. ย้ำจุดยืน ยกเลิกเอ็มโอยู 44 ทำฉบับใหม่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายสากล ระบุ เลิกฝ่ายเดียวได้ ชี้ เอกสารแนบท้ายมีข้อบกพร่องเยอะ ทำไทยเสียเปรียบ เสี่ยงเสียพื้นที่ทางทะเล จี้ กต.แจง ปมทำผิดกติกาสากล ปัด เคลื่อนไหวหวังผลทางการเมือง
'ธีระชัย' ชำแหละกต.ก่อคำถามคาใจ ไม่บอกว่าถ้าเจรจาตาม MOU44 เสี่ยงเสียเกาะกูด 99%
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานร่วมศูนย์นโยบายและวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า