"ปกรณ์วุฒิ" บอกก็ยินดีนายกฯ เซ็นรับรองร่างพรบ.ฝุ่นพิษของก้าวไกล มองเป็นเรื่องไม่รอบคอบ ไม่ใช่เกมการเมือง ถามมี 3 ร่าง ยังไม่ได้รับฟังความเห็น ทำไมรีบร้อนเป็นคิวแทรก
11 ม.ค.2567 - เมื่อเวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามรับรองร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ฝุ่นพิษ และการก่อมลพิษข้ามพรมแดนของพรรคก้าวไกล ว่า ก็ยินดี 2 วันที่ผ่านมาก็ลุ้นกันตลอด มองว่าเรื่องนี้มีความสับสนเล็กน้อย เนื่องจากมีความเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของข้อมูล เมื่อวันจันทร์ ตนรับทราบว่ามีความเห็นของบางหน่วยงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าร่าง พ.ร.บ. ของพรรคก้าวไกล หลักการต่างจากร่างอื่น แต่ปรากฏว่ากฤษฎีกาก็แจ้งต่อวิปฝ่ายค้านว่าไม่เคยให้ความเห็นแบบนั้น ต่อจากนั้นเหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปมาว่าร่างของพรรคก้าวไกลส่งช้ากว่าร่างอื่น
“ผมใช้คำว่าถึงมือนายกรัฐมนตรีช้ากว่าร่างอื่นแล้วกัน เพราะที่จริงแล้วก็ยื่นสภาไปตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค. ก็ยังมีเวลาเยอะอยู่ แต่ผมเข้าใจว่าในทางธุรการ ก็มีหลายขั้นตอนกว่าจะไปถึงมือนายกรัฐมนตรี แต่สิ่งสำคัญก็คือ ณ วันที่ประชุมวิปรัฐบาลเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รับทราบแล้วว่ามีกี่ร่าง” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว
นายปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า มีอยู่ 3 ร่าง ที่ยังไม่ได้รับความเห็นจากหน่วยงาน คือร่างของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชารัฐ และร่างของพรรคก้าวไกล คำถามของตนก็คือ ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่ายังไม่ได้รับฟังความเห็นหน่วยงาน ทำไมต้องรีบร้อน และนำวาระนี้เข้าเป็นคิวแทรก ย้ำว่าไม่ใช่ว่าพรรคก้าวไกลแซงคิว จะเป็นคิวแทรก เรื่องนี้ต้องบอกตามตรงว่าร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่แซงคิวสภาฯ ซึ่งส่ง SMS แจ้ง สส.ให้รับทราบตอน 20.30 น. ของวันอังคาร ดังนั้น สส.มีเวลาแค่ 40 ชั่วโมง และหวังว่าจะไม่มีเหตุการณ์นี้ในอนาคต มองว่าการทำงานควรเป็นไปด้วยความรอบคอบ
สำหรับร่างของพรรคประชาธิปัตย์และพลังประชารัฐ นายกรัฐมนตรีเซ็นตั้งแต่เมื่อวานนี้ แต่ร่างของพรรคก้าวไกลเพิ่งเซ็นเมื่อเช้า ซึ่งขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทำให้จบด้วยดี
ส่วนมองว่าเป็นเกมการเมืองหรือไม่นั้น นายปกรณ์วุฒิมองว่า เป็นความไม่รอบคอบ การที่วิปรัฐบาลหรือ ครม.ทุบโต๊ะ ตนไม่มั่นใจว่าใครริเริ่มเรื่องที่จะต้องเอาเข้าวันนี้ แต่ไม่ได้มองข้างหลังว่ายังมีกระบวนการที่ไม่เรียบร้อย และยังมีร่างของ สส. อีกหลายร่างที่ต้องเข้า แต่ยังไม่เสร็จ ถ้ามีการคำนึงถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น
เมื่อถามว่าจะนำบทเรียนในครั้งนี้ไปหารือกับวิปรัฐบาล ตนมองว่ามาตรฐานจริงๆ คิวแทรกแบบนี้ถ้าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแบบร้ายแรงจริงๆ ไม่ควรมี อย่างน้อย สส. ควรได้รับทราบก่อนสัก 1 สัปดาห์ คิวแบบนี้ สส. ไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่ใช่แทรกกันระหว่างทางแบบนี้
ส่วนมั่นใจว่าจะรับหลักทุกร่างหรือไม่ นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เท่าที่ทราบเป็นการลงมติรวม น่าจะไม่มีปัญหาอะไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ