‘พล.อ.เลิศรัตน์’ เผยวุฒิสภาตั้ง กมธ.งบฯ 67 ทำงานคู่ขนานกับ สส. เหตุกระบวนการล่าช้า เริ่มนัดแรก 15 ม.ค. รอฟังรัฐบาลแจงคำตอบกฤษฎีกาปม ‘เงินดิจิทัล’ บี้ทบทวน
8 ม.ค. 2567 – ที่รัฐสภา พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 กระบวนการถือว่าช้ามาก ทำให้มีเวลาทำงานน้อย ตามกำหนดการต้นเดือน เม.ย. จะต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร และต้องส่งให้ สว. พิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ 9 – 10 เม.ย. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประมาณวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งกรอบเวลาของ สว. ในการพิจารณามีน้อยมาก แค่ 6 – 7 วัน
“ด้วยเหตุนี้ ประธานวุฒิสภาจึงมีดำริให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 ในส่วนของวุฒิสภา โดยจะตั้งพรุ่งนี้เช้า (9 ม.ค.) จำนวน 41 คน มีทั้งจาก กมธ. วิป และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 5 คน จะเริ่มประชุมตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. คู่ขนานไปกับ กมธ. ของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะช่วยให้ส่วนราชการด้วยได้มาชี้แจงคู่ขนานกันไปอย่างสะดวก ประมาณวันที่ 20 มี.ค. กมธ.ฯ ของ สว. ก็จะจบการพิจารณา พร้อมกับกมธ.ฯ ของสภาฯ จากนั้นจึงเข้าสู่การแปรญัตติ และนำเข้าสู่วุฒิสภาเพื่อเปิดอภิปรายงบประมาณในวันที่ 9 เม.ย. ต่อไป เพื่อให้ข้อเท็จจริงและรู้รายละเอียดเพียงพอ ซึ่งตอนนี้ทยอยแจกเอกสารรายละเอียดไปแล้ว เพื่อให้สมาชิกทยอยมารับ” พล.อ.เลิศรัตน์ ระบุ
สำหรับภาพรวมของงบประมาณ ปี 2567 พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า แม้จะมีข้อจำกัดมาก แต่รัฐบาลก็ดันวงเงินไปได้ถึง 3.48 ล้านล้านบาท ประเด็นแรกมองว่างบลงทุนเพียง 20% อาจไม่มากพอที่จะผลักดันประเทศให้พ้นจากปัญหา รวมถึงการดัน GDP ให้ถึง 5% ตามที่รัฐบาลมุ่งหวัง ด้วยงบที่จัดสรรมาอาจยังน้อยไป รวมถึงในทางนโยบายของรัฐบาลก็ยังไม่สะท้อนออกมาในงบประมาณเท่าที่ควร ส่วนใหญ่งบทั้งหมดจะเพิ่มขึ้น 9% จากปีที่ผ่านมา จึงเป็นการกระจายออกไปทั่ว ดังนั้นการผลักดันนโยบายต่างๆ เช่นโครงการดิจิตอลวอลเล็ต ก็ต้องไปหวังพึ่งกลไกภายนอก เช่น พ.ร.บ.เงินกู้ จึงได้แต่หวังว่างบประมาณปี 2568 ที่จะออกมาไม่นานนี้ จะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
ส่วนแนวโน้มของดิจิทัลวอลเล็ตนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ก็คงต้องรอวันที่ 9 ม.ค. ที่รัฐบาลจะออกมาชี้แจงว่าคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นอย่างไร แต่ก็ยังมีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ตอนที่รัฐบาลคิดนโยบายนี้อาจจะยังอยู่ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ จึงกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินให้ประชาชนไปใช้สอย ซึ่งหลายประเทศในโลกก็ทำ
“แต่ถึงวันนี้วิกฤตของเศรษฐกิจก็ยังไม่เลวร้ายนัก เงินเฟ้อต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์โลกประมาณการไว้ ดังนั้นการจะเอาเงิน 500,000 ล้านบาท ไปแจกประชาชน หากปีหน้าหรือปีถัดไปเกิดปัญหาขึ้นมาก็จะเป็นปัญหา จึงอยากให้รัฐบาลคิดอีกครั้งว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปหรือไม่” พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดชื่อผู้สมัคร ป.ป.ช. 3 เก้าอี้ คนดังเพียบ ผู้พิพากษา อัยการ บิ๊กทหาร-ตำรวจ อดีตผู้ว่าฯ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีแทนตำแหน่งที่ว่าง (พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
'หมอวรงค์' จับโป๊ะ! ยิ่งฟังรัฐบาลแจง ยิ่งต้องรีบยกเลิก 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงต้องยิ่งยกเลิก MOU 44
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล