'นิกร' ยันคำถามประชามติไม่มัดมือชก-สอดไส้เพราะสอดรับกับการแถลงนโยบายรัฐบาล!

'นิกร' แจง กรรมการฯออกคำถามประชามติส่ง ครม. กว้างขวางรอบคอบ ยึดคำมั่นสัญญาให้ได้ฉบับประชาธิปไตยของประชาชน ป้องกันวิกฤตรัฐธรรมนูญ

27 ธ.ค.2566 - นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กล่าวถึงกรณีที่เกิดข้อโต้แย้งจากคำถามในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่ถามว่า "ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์“ ที่วิจารณ์ว่าเป็นการมัดมือชก และยัดไส้ ว่าคำถามนี้เป็นมติของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่ได้มาจากชุดคำถามตามข้อเสนอแนะของคณะอนุรับฟังความเห็นประชาชน แบบที่ 2 คำถามที่ 1 ที่ได้รับมาจากความเห็นส่วนใหญ่จากกลุ่มประชาชน ทั้งยังเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาและประชาชนอย่างชัดเจน จากข้อตกลงร่วมกันของพรรคการเมืองก่อนเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งถือเป็นคำมั่นสัญญาที่จะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการที่จะไม่แก้ไขกฏหมายอาญา มาตรา 112 ที่ได้ให้ไว้ต่อประชาชน

นายนิกรกล่าวว่า เป็นการประกันความร่วมมือสนับสนุนการร่วมจัดทำรัฐธรรมนูญของประชาชนฉบับใหม่จากประชาชน ที่ได้ตอบแบบสอบถามเบื้องต้นมาตามนี้ วุฒิสภา พรรคร่วมรัฐบาล ที่สำคัญหากไม่กำหนดให้ชัดเจนไปว่าจะไม่แก้ไขในหมวด 1 และหมวด 2 เอาไว้นั้นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งขึ้นต่อประเด็นดังกล่าวให้เกิดในหมู่ประชาชนขึ้นได้อีก ทั้งในระหว่างการทำประชามติและในการนำไปสอดไส้กล่าวอ้างขอแก้ไขหมวดดังกล่าวในอนาคต เมื่อมีประชามติออกมาให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่

นายนิกร กล่าวว่า ที่วิจารณ์เป็นการมัดมือชก และเป็นการสอดไส้นั้น มิได้เป็นการมัดมือชก หากแต่เป็นการกระทำตามภาระกิจสำคัญให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาและต้องไม่สร้างปัญหาความขัดแย้งใหม่ขึ้นมาจากการนี้อีก จึงอยากสอบถามกลับไปว่าการเปิดให้กว้างในประเด็นที่เห็นแล้วว่าอ่อนไหวมากเช่นนั้นจะไม่เป็นการเปิดมือยุยงให้ประชาชนชกกันเองหรือ เราทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ต้องช่วยกันป้องกันสถานะการณ์เช่นนั้นมิใช่ช่วยกันสุมไฟ และอยากจะถามกลับไปอีกว่าตกลงแล้วอยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดต่างๆเพื่อประชาชนหรืออยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะในหมวด1 และหมวด 2 ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับมาตรา 112 เช่นนั้นหรือ

นายนิกร กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นักวิชาการกังวลว่าทำไมถึงไม่มีคำถามล่วงหน้าเกี่ยวกับการมี ส.ส.ร. มาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขอเรียนว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะถามในขณะนี้ เพราะคณะกรรมการพิจารณาแล้วเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการถูกร้อง ว่าการออกเสียงประชามตินั้นเป็นกรณีที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 166 เพราะในขณะที่ตั้งคำถามนั้น ยังไม่มีสภาร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในมาตรา 256 แต่อย่างใด รอไว้ให้ประชาชนมีมติ ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ก่อน แล้วเสนอร่างแก้ไขมาตรา 256 ในรายละเอียด แล้วจึงถามประชามติในตอนที่จำเป็นต้องถามอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นการป้องกันการถูกตีตกไปตั้งแต่ต้น

นายนิกร กล่าวว่า การตัดสินใจในการออกคำถามดังกล่าวของคณะกรรมการเพื่อเสนอให้ ครม.ตัดสินใจในครั้งนั้น ได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง อย่างรอบคอบ อย่างรักษาคำมั่นสัญญาว่าเพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ที่ได้ให้ไว้ต่อประชาชนให้สำเร็จลงให้ได้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญ สร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชนขึ้นมาอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชูศักดิ์' มึนประชามติชั้นครึ่งกัดฟันบอกเพื่อไทยดันรัฐธรรมนูญเต็มที่แต่ได้แค่ไหนไม่รู้

'ชูศักดิ์' ชี้สูตรประชามติชั้นครึ่งของ 'นิกร' ไม่ต่างอะไรจากเดิม ถ้าชั้นแรกไม่ผ่านก็จบ ย้ำ พท.มุ่งมั่นจะทำรธน.ฉบับใหม่ ออกตัว ผลักดันได้แค่ไหน ค่อยว่ากันอีกที

'นิกร' รับสภาพกฎหมายประชามติไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้าใช้ รธน.เดิม!

'นิกร' ระบุ พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ทันเลือกตั้งท้องถิ่นต้นปีหน้า พ้อเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ยังใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน

รื้อรธน. รอแกนนำสรุป นิกรชี้แฉลบหลายเรื่อง

“วิสุทธิ์” ย้ำการชำเรา รธน.ต้องรอระดับแกนนำสะเด็ดน้ำ ส่วนจะทันสมัยประชุมนี้หรือไม่ก็แล้วแต่ “อนุทิน” ลั่น พท.ยังไม่ติดต่อมา อย่าเพิ่งกังวลช่วงนี้มีเรื่องสำคัญกว่า “นิกร”