'เศรษฐา' ชี้วางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต้องดูความเปลี่ยนแปลงของโลก ระบุ 5 ปียังยาวไป ไม่ทันการแข่งขัน ลั่นอย่าผูกมัดอนาคตลูกหลานไว้ด้วยความคิดคนรุ่นเก่า ฉุนดึงลงทุนเพิ่ม แต่ถูกฉุดค่าแรงขั้นต่ำ เป็นเรื่องน่าละอาย
27 ธ.ค.2566 - ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2566 โดยมี นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นายเศรษฐา กล่าวก่อนเริ่มประชุมว่า ยุทธศาสตร์ชาติที่ให้รัฐบาลและคนทั้งประเทศได้รับรู้และทำงานไปในทิศทางประเทศไทยในอนาคตที่เราอยากให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อให้เรารู้ว่าจะไปถึงภาพนั้นเราต้องทำอะไรกันบ้าง การมียุทธศาสตร์ มีกลยุทธ์ในการทำงานเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่เชื่อกับการวางแผนและล็อกตัวเองไว้ยาวนานเกินไป ไม่มีใครที่วางแผนได้ยาวนานขนาดนี้ อย่าว่าแต่ 20 ปี แม้แต่ 5 ปีก็ยังทำยาก โลกนี้เปลี่ยนไปแล้วและจะเปลี่ยนเร็วขึ้นเรื่อยๆ จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เมื่อ 6 เดือน หรือ 7 เดือนที่แล้วเราไม่เคยได้ยินทั้งเรื่องของเทคโนโลยีหรือแม้กระทั่งพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ๆ ที่จะมากำหนดทิศทางโลก
“เราเดินทางไปเจรจาค้าขายเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ดึงคนมาลงทุน แต่ดูเรื่องค่าแรงขั้นต่ำที่พวกท่านไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไหร่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าหัวเราะเป็นเรื่องน่าละอายใจ และยังมีอีกหลายเรื่องที่ 3 ปีที่แล้วยังไม่มี เช่น พลังสะอาด เวลาที่ผมเดินทางไปต่างประเทศจะเป็นเรื่องแรกที่หยิบยกมาพูดคุย นี่คือตัวอย่างที่โลกเปลี่ยน เรื่องเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามแห่งความสามารถ ที่ทุกบริษัท ทุกรัฐบาล ทุกประเทศทั่วโลกทุ่มดึงดูดทุกคนที่มีความสามารถมาทำงานกัน และยังเป็นเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมาจีนกับสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีฟิกชั่นเยอะขนาดนี้ แต่ปัจจุบันมีสูงขึ้น” นายกฯกล่าว
นายกฯ กล่าวว่า ประเทศเราต้องคอยปรับยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาในแต่ละช่วงเวลาด้วย อยากให้แผนยุทธศาสตร์นี้ต้องมีความคล่องตัว กระจายมากยิ่งขึ้น ให้มีการทบทวนและยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ขอฝากที่ประชุมช่วยกันพิจารณารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมและจะทำอย่างไรให้ยุทธศาสตร์เกิดประโยชน์ได้จริงๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกในวันนี้และไม่ปิดกั้นอนาคตของประเทศชาติ เพื่อให้การตัดสินเส้นทางการพัฒนาของลูกหลานของพวกเราในอีก 20 ปีข้างหน้าไม่ถูกผูกมัดด้วยความคิดของคนรุ่นเก่า ให้มีโอกาสที่จะปรับเท่าคนรุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นให้มีโอกาสที่จะเลือกทิศทางในการวางยุทธศาสตร์และก้าวไปพร้อมกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ถึงการมอบนโยบายในที่ประชุมยุทธศาสตร์ชาติที่วางกรอบไว้ 20 ปีอาจจะต้องมีการทบทวนตามสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง ว่า ต้องเป็นไปตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ซึ่งก็รู้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปตลอดเวลา โลกเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ตนเชื่อว่ารัฐบาลทุกท่านก็เห็นอยู่ว่าหลายๆเรื่องโลกเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าจะมีการทบทวนหรือปรับยุทธศาสตร์ใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ยัง ครับ และตอนนี้การประชุมก็ยังไม่เสร็จ บังเอิญต้องไปพบรัฐมนตรีก่อน มีหารือ
เมื่อถามว่า แสดงว่านายกฯเห็นว่าจะต้องมีการทบทวนหรือปรับทุก 5 ปีใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ก็แล้วแต่ความเหมาะสมที่จะต้องพิจารณากัน ซึ่งตนเชื่อว่าข้อความที่ตนส่งไป ความหมายที่ส่งไปชัดเจนว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากในช่วงที่ผ่านมา และหลายๆเรื่องหากเราจะดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาในประเทศ มันก็มีสงครามดึงคนเก่ง อย่างที่ตนเรียนไปสมัยก่อนเวลาไปดึงดูดนักลงทุนเข้ามา เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ไม่มีใครพูดเรื่องพลังงานสะอาดเลยใช่หรือไม่ แต่วันนี้เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง
เมื่อถามว่าแต่ยุทธศาสตร์ชาติถูกล็อกไว้โดยรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่ามันกว้าง มีขอบเขตพื้นที่ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?
ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา
'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด
'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด
เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'
กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
ตามสูตร! ฟื้นคณะกรรมการ 6 ชุดแก้ปัญหาสมัชชาคนจน
'ชูศักดิ์' ถก คกก.สมัชชาคนจน ตั้ง 6 กก. สมัยเศรษฐา เร่งวางแนวทางแก้ 4 เรื่องด่วน
'บิ๊กอ้วน' ชี้ 'สนธิ' แค่หนึ่งเสียงการบริหารประเทศไม่ควรโฟกัสแค่คนคนเดียว!
'ภูมิธรรม' ยังไม่เห็นข้อเรียกร้อง 'สนธิ' บอกเป็นแค่ความเห็นหนึ่งต้องรับฟังทุกฝ่าย เปรียบเหมือนมองปี๊บหนึ่งใบ ต้องมองให้รอบด้าน ไม่หมิ่นประมาทม็อบจุดติดหรือไม่