'สุระ' แนะเปิดกว้างที่มา 'สสร.' ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมร่างรธน.

26 ธ.ค. 2566 - นายสุระ เตชะทัต เลขาธิการพรรคพลังบูรพา กล่าวถึงการทำประชามติ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในเรื่องของการทำประชามติ เพื่อสอบถามประชาชนก่อน ส่วนตัวเห็นด้วย เพราะประชาชนถือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง ส่วนรายละเอียดเนื้อหา ที่จะมีการแก้ไขในเรื่องใดบ้าง คงเป็นหน้าที่ของ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ที่จะร่าง เชื่อว่า คงจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญให้ออกมาดีที่สุด

ในส่วนของที่มาของ สสร. ในขณะนี้ เท่าที่ตามข่าว ยังมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน จะมีจำนวนเท่าไหร่ จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ หรือเลือกตั้งบางส่วน สรรหา แต่งตั้งอีกบางส่วน ตรงนี้คงเป็นหน้าที่ๆต้องไปพิจารณาร่วมกัน อย่างไรก็ดี ที่มาของสสร. สมมุติจะมีการเลือกตั้ง ตัวแทนจากทุกจังหวัดมา แต่ขณะเดียวกัน อยากเปิดโอกาสให้ กลุ่มผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ นักวิชาการด้านการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ ที่อาจจะไม่มีฐานเสียงมากนัก แต่มีแนวคิดที่ดี ให้มีโอกาสได้เข้ามาร่วมร่างรัฐธรรมนูญด้วย ในตรงนี้ คงต้องไปหารือกัน จะออกแบบที่มาสสร.กันอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก

'พริษฐ์' เข้าทำเนียบ ฝากนายกฯโน้มน้าว สส.-สว.ทำประชามติ 2 ครั้ง ให้ทันเลือกตั้งปี 70

นายพริษฐ์ วัชรสินธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนหารือกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

'พริษฐ์' ยันต้องแก้รธน.ทั้งฉบับ เพราะขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เร็ว ต้องแก้รายมาตรา ว่า เป็นความเห็นของนายวิษณุ สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ 

กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ