จับตาศาลรัฐธรรมนูญนัดไต่สวนพยานคดีถือหุ้นสื่อไอทีวี "พิธา" ไม่กังวล พร้อมตอบทุกคำถาม
20 ธ.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดประชุมในวันนี้ ในเวลา 09.30 น. โดยมีกำหนดนัดไต่สวนพยานบุคคลกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนใดๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพส.ส. ของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย และสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส. นับแต่วันที่ 19 ก.ค.2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ทั้งนี้ การไต่สวนพยานบุคคลครั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้เฉพาะคู่กรณีและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังการไต่สวนเท่านั้น ไม่มีการถ่ายทอดการไต่สวนผ่านโทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งเป็นไปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 38 และมาตรา 59
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศบริเวณศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในส่วนของการรักษาความสงบเรียบร่อยนั้น มีเพียงการนำแผงเหล็กมากั้นเท่านั้น ซึ่งพบว่า มีแฟนคลับพรรคก้าวไกล 3 คน มาชูป้ายข้อความเขียนด้วยลายมือระบุว่า "เรียกร้องให้ กกต. ถ่ายทอดสดผ่านไอทีวี" และ "ไอทีวี อยู่ไหนอยากออกไอทีวี" พร้อมทั้งกล่าวว่า อยากให้ศาลสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าถ้าเรามีปัญหาอะไรก็สามารถพึ่งพาศาลได้ เพราะปัจจุบันนั่นไม่มีความเชื่อใจต่อศาลและยังกระทบกับโครงสร้างทั้งหมด จึงอยากให้ศาลเรียกความเชื่อมั่นตรงนี้กลับมา
ทั้งนี้เวลา 08.40 น. นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.พร้อมคณะ เดินทางมาที่ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะผู้ร้อง แต่ไม่ได้มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนแต่อย่างใด
และในเวลา 09.10 น. นายพิธาพร้อมทีมทนาย ได้เดินทางเข้าให้การไต่สวนพยานด้วยตัวเอง พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า รอวันนี้มานาน ที่จะได้มีโอกาสสื่อสารข้อเท็จจริง และมั่นใจในข้อเท็จจริงหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากศาล ส่วนรายละเอียดต่างๆ จะเก็บไว้ในชั้นศาล แต่สิ่งที่จะเปิดเผยต่อสื่อมวลชนได้นั้น คือไอทีวีไม่ได้เป็นสื่อแล้ว ไม่ได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่ปี 2550 และมีสื่อมวลชนยังได้รายงานว่า รายได้ทั้งหมดมาจากดอกเบี้ยหรือการลงทุนทั้งนั้น ฉะนั้นถ้าเทียบกับระบบยุติธรรม กับคำพิพากษาในอดีตมั่นใจว่าไอทีวีไม่ได้เป็นหุ้นสื่อแต่อย่างใด ทั้งนี้พร้อมที่จะตอบคำถามอย่างละเอียด ทั้งในแง่มุมของบริษัทไอทีวีเอง มั่นใจว่าจะใช้โอกาสนี้ในการพูดชี้แจงต่อศาลครั้งแรก นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและตนรอโอกาสนี้มานานพอสมควร
เมื่อถามว่ามีความกังวลใจอะไรในคดี นายพิธ่า กล่าวว่า ไม่มีข้อกังวลอะไรเลย ดีใจที่ได้มีโอกาสได้พูด ได้สื่อสารในมุมของเรา ซึ่ง กกต.ก็มีหน้าที่ของ กกต. ตนเองก็มีหน้าที่ของตน ถ้าเขาสงสัยข้อไหนเราก็ยินดีที่จะตอบคำถามให้สิ้นข้อสงสัย
ทั้งนี้นายพิธาได้เดินทางมาศาลพร้อมทีมงาน และมีกระเป๋าเดินทางมาถึง 2 ใบ ซึ่งเป็นวัตถุพยานหลักฐานต่างๆในคดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด
'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด
'หัวหน้าเท้ง' มั่นใจสู้คดี 44 สส. ยื่นแก้ ม.112 แต่หากถูกตัดสิทธิยังมีดาวเด่นอีกหลายคน
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีจริยธรรมของ 44 สส. อดีตพรรคก้าวไกล ว่า ทีมกฎหมายได้เตรียมการไว้อย่างดี และตนยังอยากให้ทุกคนกลับมาย้อนคิดอีกครั้ง อยากให้ทุกคนย้อนกลับมาคิดอีกครั้งว่าที่มาที่ไปของปัญหานี้เกิดจาก ก
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
'หัวหน้าปชน.' โต้ กกต. ฟัน สส.ชลบุรี ข้อหาเล็กน้อย สั่งทีม กม. สู้คดี
'ณัฐพงษ์' แจง กกต. สั่งดำเนินคดี 'สส.ชลบุรี' ยื่นบัญชีรายจ่ายเลือกตั้งเท็จ ชี้ ปชน. เตรียมทีมกฎหมายไว้แล้ว เชื่อ สังคมมองออก ข้อหาเล็กน้อย กลั่นแกล้งการเมืองหรือไม่
อย่าสับสน ปมศาลรธน.ยกคำร้องเรื่องป่วยทิพย์นักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน