'ปิยบุตร' ชี้ช่อง 'คุมขังนอกเรือนจำ' ใช้ในคดีนักโทษการเมืองด้วย จะพ้นข้อครหาช่วย 'ทักษิณ'

'ปิยบุตร'เห็นด้วยกับระเบียบราชทัณฑ์กำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ ชี้ยกระดับมาตรฐานสอดคล้องหลักสากล แนะนำมาใช้ในคดีนักโทษการเมืองด้วย จะพ้นข้อครหาช่วย'ทักษิณ'

13 ธ.ค.2566 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้าโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง กำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่ไม่ใช่เรือนจำให้แก่นักโทษการเมือง มีเนื้อหาดังนี้

ตามที่ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 ออกใช้บังคับ และมีประชาชนให้ความสนใจและตั้งข้อสังเกตว่าระเบียบนี้ออกมาเพื่อใช้กับกรณีคุณทักษิณ ชินวัตรนั้น
ผมมีความเห็น ดังนี้
ผมเห็นด้วยกับระเบียบราชทัณฑ์ฉบับนี้ ที่ให้อำนาจ “คณะทำงานการพิจารณาการคุมขังในสถานที่คุมขัง” กำหนดนักโทษในกรณีใดที่อาจถูกคุมขังในสถานที่อื่นๆที่ไม่ใช่เรือนจำได้
นี่คือ มาตรการที่ยกระดับมาตรฐานราชทัณฑ์ไทยให้สอดคล้องกับหลักสากล และช่วยแก้ปัญหาเรือนจำแออัดหนาแน่นจนกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง
และยังเป็นมาตรการทางบริหารที่ใช้ผ่อนคลายให้กับผู้ต้องขังในบางกรณีด้วย
ประเทศไทย มีนักโทษที่ต้องจำคุกในข้อหาที่เกี่ยวก้บการแสดงออกทางการเมือง กลุ่มคนที่คิดต่างกับรัฐ ถูกพิพากษาลงโทษจำคุก ตั้งแต่เหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมืองในอดีตจนถึงปัจจุบัน
พวกเขาเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน เขามีความคิดที่แตกต่างจากรัฐ
ในช่วงที่พี่น้องคนเสื้อแดงติดคุกจำนวนมาก เคยมีการรณรงค์ให้กรมราชทัณฑ์กำหนดสถานที่อื่นเป็นที่คุมขังพวกเขาเหล่านี้แทน ทำนองเดียวกับในอดีตที่เคยใช้โรงเรียนตำรวจ บางเขน เป็นที่คุมขังนักโทษการเมือง
เมื่อกรมราชทัณฑ์ออกระเบียบฉบับนี้ขึ้นมา ก็ควรนำมาใช้ประโยชน์ กำหนดให้ผู้ต้องขังในคดีเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ป อาญา มาตรา 116 ป อาญา มาตรา 112 ฯลฯ ถูกคุมขังในสถานที่อื่นแทนเรือนจำ
หากทำเช่นนี้ได้ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม รัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ก็สามารถตอบคำถามประชาชนบางกลุ่มได้ว่า ระเบียบนี้ออกมาใช้ทั่วไป ไม่ใช่ใช้กับกรณีคุณทักษิณ ระเบียบนี้ออกมาเพื่อยกระดับมาตรฐานและสิทธิของผู้ต้องขัง
แล้วถ้าหากจะมีกรณีคุณทักษิณรวมอยู่ด้วย นั่นก็เพราะ คณะทำงานกำหนดให้รวมถึงกรณีผู้ต้องขังที่มีอายุมาก เป็นต้น
ในเมื่อรัฐบาลยังไม่กล้าที่จะนิรโทษกรรมคดีการแสดงออกทางการเมือง ยังไม่คิดแก้ไข ป อาญา มาตรา 112
ในเมื่อแกนนำสำคัญในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยหลายๆคน เคยพูดไว้ว่า หากเป็นรัฐบาลจะพยายามใช้วิธีการทางบริหารเข้าช่วยเหลือผ่อนคลายคดีเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง
ในเมื่อรัฐบาลอ้างว่าแทรกแซงอำนาจศาล ตุลาการ ในการตัดสินคดีไม่ได้
นี่ครับ โอกาสมาถึงแล้ว
ใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินการได้
นอกจากจะยกระกับสิทธิของผู้ต้องขัง นอกจากช่วยนักโทษการเมืองแล้ว รัฐบาลก็พ้นข้อครหากรณีคุณทักษิณด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เขย่าขวัญ 'นช.ทักษิณ' ใกล้18มิ.ย. 'คู่ดีล' รับไม่ไหว คำรามลั่น 'ใครอย่ามาขวาง'

'จตุพร' จับตาใกล้วันนัดฟ้องคดี 112 'คู่ดีล' รับไม่ไหวหมดอารมรณ์พูดคุย เสียงคำรามรำคาญลั่น 'ใครอย่ามาขวาง' ดังเข้าหูเขย่าใจปอดกลัวคุกจนร่วงระนาว เมื่อไม่มีใครกล้าเอาคอมาพาดเขียงการันตีให้ เตือน'เพื่อไทย' อย่าแอบยัดไส้นิรโทษกรรมช่วย ซ้ำรอยกฎหมายเหมาเข่งสุดซอย

'ทักษิณ' ยืนอยู่บนทางสองแพร่งในช่วงบั้นปลายของชีวิต จะสู้หรือจะหนีดี

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง กูจะสู้หรือกูจะหนีดีวะ? มีเนื้อหาดังนี้