ประธานสภาฯ กล่าวเปิดงานวันรัฐธรรมนูญ ‘ร่วมก้าวย่างบนเส้นทางประชาธิปไตย สู่เส้นชัยแห่งรัฐธรรมนูญ’ ประกาศกู้ศักดิ์ศรีความศรัทธารัฐสภากลับคืน-พิทักษ์อำนาจประชาชน
10 ธ.ค.2566 – ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ประจําปี 2566 “ร่วมก้าวย่างบนเส้นทางประชาธิปไตย สู่เส้นชัยแห่งรัฐธรรมนูญ”
โดยมีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานกรรมการจัดงานวันรัฐธรรมนูญ ประจําปี 2566 กล่าวรายงานว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้น และเป็นการจัดเพื่อเฉลิมฉลอง เผยแพร่ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ ยืนยันในอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มีการเปิดพื้นที่ลานประชาชนให้ใช้เป็นครั้งแรก ให้เป็นที่ที่มีประชาชนมาแสดงความคิดเห็น มาแสดงพลัง เพื่อให้รัฐสภายึดโยงกับประชาชน เพิ่มความเชื่อมั่น
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า เราจึงจัดงานวันนี้ขึ้น และยังเป็นหมุดหมายสำคัญในการจัดงาน รวมถึงสันนี้ยังเป็นวันสิทธิมนุษยธรรมสากลด้วย จึงมีต้นแบบจัดงานแบบการเฉลิมฉลองในอดีต ประกอบไปด้วย การถวายพานพุ่ม พิธีสงฆ์ งานเสวนา งานแสดงนิทรรศการ การแสดงดนตรี การออกร้านจำหน่ายสินค้า ออกบูธของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิ ประกวดภาพถ่าย
ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวเปิดงานว่า วันที่ 10 ธ.ค. ของทุกปีราชการกำหนดให้เป็นวันระลึกถึง ร.7 ที่ประธานรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้ โดยไม่เพียงแต่เป็นวันหยุดราชการ นึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังมีจุดประสงค์ให้ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของรัฐ เคารพสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของบุคคล ความเป็นธรรมของมนุษยชาติ และการใช้อำนาจดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสมดุล ซึ่งกันและกัน ตามระบอบประชาธิปไตย
นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า ข้อเท็จจริงตั้งแต่ 2475-ปัจจุบัน เราไม่ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับเดียว ถาวร แต่มีการร่าง และประกาศใช้ใหม่หลายครั้ง เป็นปรากฎการณ์สะท้อนถึงการแย่งชิงอำนาจ สลายอำนาจ และการสืบทอดอำนาจ โดยการยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มักเกิดจากการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครอง และร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ตั้งโดยคณะของตนขี้นมาเพื่อบริหารประเทศ เหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศักดิ์ศรีความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อรัฐธรรมนูญ รัฐสภา เสื่อมถอยลงอย่างน่าเสียดาย ศักดิ์ของคณะปฏิวัติสูงกว่ารัฐธรรมนูญ ดังนั้น ตนเองคิดว่าวันนี้เราต้องอาลัยถึงการสูญเสียรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย
นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวอีกว่า ตามมาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจให้องค์กรปกครองสูงสุดของประเทศมี 3 องค์กร คือรัฐสภา รัฐบาล ศาล โดยรัฐสภาต้องเป็นองค์กรของสมาชิกที่เป็นตัวแทนของประชาชน มีหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ กฎหมาย ทำให้ศาลใช้ไปพิจารณาตัดสินคดี แต่กฎหมายที่ผ่านมามักเป็นการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐ มากกว่าพิทักษ์อำนาจของประชาชน เชื่อว่าสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ปัญหายาเสพติด ฯลฯ เราต้องรำลึกถึงความสำคัญของรัฐสภา เพราะรัฐธรรมนูญต้องคงอยู่กับรัฐสภาเสมอ
นายวันมูหะมัดนอร์ เห็นว่า วันนี้เป็นวันที่ช่วยกัน ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่จะทำให้รัฐสภาอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดำรงความยุติธรรม ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้อยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยปราศจากความขัดแย้ง และความแตกแยก
“การใช้อำนาจด้วยกำลังอาวุธปืน ทำการปฏิวัติโดยการทำรัฐประหาร เป็นสิ่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญในระบอลประชาธิปไตยทั้งสิ้น แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำจนเคยชิน และผู้กระทำไม่มีความผิดใด ๆ ข้อกังขาเหล่านี้ เป็นตัวอย่างที่ทำให้รัฐธรรมนูญไร้ศักดิ์ศรี รัฐสภาไร้เกียรติ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่กระดาษ และอำนาจอธิปไตยของประชาชนไม่มีอยู่จริง วันนี้ขอให้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งความหวัง ของประชาชน และของพวกเราทุกคน” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวทิ้งท้าย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วันนอร์' ยกเครื่อง ออกระเบียบตั้งที่ปรึกษา กมธ. สภาฯ หลังปมฉาวใช้ตำแหน่งตบทรัพย์
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิประจำคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 15 ต.ค. 2567 มีเนื้อหาระบุว่า
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
ประธานวิปรัฐบาล โทษเงื่อนประชามติทำรธน.สะดุด
“วิสุทธิ์" รับ หากกมธ.ตกลงไม่ได้เงื่อนไขประชามติ 2 ชั้น เสี่ยงแก้รธน.ไม่ทัน ยันไม่ใช่ความรับผิดชอบทำสะดุด
คนไทยไม่ได้โง่! อดีตสว.สมชาย จี้รัฐบาลชงยกเลิก MOU2544 เข้าสภาเห็นชอบ
อดีตสว.เสนอ รัฐบาล นำเรื่องยกเลิก MOU2544 เข้าสู่รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา178 โดยเร็ว
จี้ปชน.หนุนร่างพรบ.สันติสุข
"เพื่้อไทย" แบ่งรับแบ่งสู้เรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม "วิสุทธิ์" ร่ายขั้นตอนย้ำไม่ข้องเกี่ยวมาตรา 112 แน่
สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' ก่อนหมดอายุความเที่ยงคืนนี้
สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' หมดอายุความเที่ยงคืนนี้ 'รอมฏอน' ตั้งคำถามจำเลยลอยนวลต้องรับผิดชอบหรือไม่ 'กมลศักดิ์' ขอบคุณนายกฯ แสดงความเสียใจ ขอรัฐบาลแก้กม.ไม่ให้ขาดอายุความ