5 ธ.ค.2566- นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ควบ รมว.คลัง กับนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ชี้แจงความคืบหน้าการแจกเงินดิจิทัลไม่สอดคล้องกันสะท้อนถึงการตบหน้า ดูถูกประชาชนเป็นของเล่นทางอำนาจบริหารประเทศ
นายจตุพร กล่าวว่า นายเศรษฐา บอกได้คุยกับ รมช.คลัง แล้วว่า จะส่งร่าง พรบ.กู้เงินให้กฤษฎีกาตรวจสอบ แต่นายจุลพันธ์ กลับพูดคนละเรื่องว่า เป็นการส่งคำถามให้พิจารณาทางกฎหมายกับการแจกเงินดิจิทัลไม่เกี่ยวกับ ร่าง พรบ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ดังนั้น คำพูดชี้แจงประชาชนจากรัฐมนตรีทั้งสองคนจึงกลับไปมา ราวกับเห็นประชาชนเป็นเพื่อนเล่น
อีกทั้งระบุว่า การให้เหตุผลที่ย้อนแย้งกันนั้น สะท้อนถึงการไม่ให้คุณค่าประชาชน เนื่องจาก รมช.คลัง ตั้งคำถามเพียงแจกเงินดิจิทัลขัดแย้งกับกฎหมายเงินตราหรือไม่ แต่ยังไม่เป็นที่ยุติ เพราะมี พรบ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทอีก ถ้าไม่มีเงินก็แจกเงินดิจิทัลไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ทำไมถึงไม่ถามการกู้เงินกับการแจกเงินดิจิทัลมีความสัมพันธ์กัน ควรส่งคำถามถึงกฤษฎีกาให้ควบคลุมเป็นที่ยุติในคราวเดียวกันได้
“การแจกเงินดิจิทัลเริ่มต้นไม่มีความตรงไปตรงมา หลอกตั้งแต่ปก และไม่ตรงปกสักอย่าง แล้วมารอคำตอบจากกฤษฎีกา ทั้ง รมว.คลังกับ รมช.คลัง ก็พูดกันคนละทาง ซึ่งชี้ได้ว่า ประเทศไร้ระบบและไม่เคารพประชาชนตามที่รับปากไว้ แต่ไปทำอีกอย่างแสดงถึงการดูแคลนประชาชน”
นายจตุพร กล่าวว่า การส่งคำถามกับกฤษฎีการนั้นควรถามให้ครบทุกประเด็นที่สัมพันธ์กัน ทั้งการแจกเงินดิจิทัลผิดกฎหมายการเงินหรือไม่ และกู้เงินมาแจกทำได้หรือไม่ เข้าข่ายเร่งด่วน วิกฤตตามกฎหมายวินัยการเงินการธนาคาร ม.53 หรือไม่ ดังนั้น จึงต้องถามให้จบทุกกระบวนการที่สัมพันธ์กันดัวย
นอกจากนี้ การดึงร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายปี 67 ที่รัฐบาลเพิ่งพิจารณากรอบวงเงิน (ประมาณ 3.59 ล้านล้านบาท) เมื่อ 4 ธันวาคมนั้น นายจตุพร สงสัยว่า การถ่วงรั้งงบประมาณไว้ต้องการให้เกิดวิกฤตหรือไม่ ทั้งที่หลักการบริหารประเทศอันดับแรกต้องให้ความสำคัญกับงบประมาณแผ่นดินเพื่อจะมีเงินไปพัฒนาประเทศ แต่รัฐบาลกลับทำให้เกิดความล่าช้าและหาสาเหตุไม่เจอ
“สิ่งสำคัญรัฐบาลต้องการอะไร อยากให้เกิดวิกฤตหรือเปล่า ซึ่งการดึงร่างงบประมาณ 67 ไว้เป็นความแปลกประหลาดที่สุด ไม่แตกต่างจากการจะส่งคำถามถึงกฤษฎีกากรณีเงินดิจิทัลเพียงครึ่งเดียวคือ ถามแต่เงินดิจิทัล แต่ไม่ถามเรื่องเงินกู้ที่สะท้อนถึงความวิกฤตไปด้วยเลย”
ส่วนกรณีการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับฮามาสนั้น นายจตุพร กล่าวว่า เมื่อฮามาสปล่อยตัวคนไทยแล้วใส่เสื้อมีรูปธงชาติไทยกับอิสราเอลจะเป็นบาดแผลสำคัญเนินนานถึงอนาคต เพราะแสดงถึงไทยเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในสถานการณ์สู้รบบนดินแดนฉนวนกาซา
อีกทั้งตั้งข้อสงเกตเกี่ยวกับจีนเลี่ยงมาลงทุนกับไทยว่า ถ้าประเทศไทยวางตัวไม่เป็น ไม่เหมาะสมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้วจะเสียโอกาสอย่างมากมาย ยิ่งมีสัญญาณนักท่องเที่ยวจีนกับการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าของจีนเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า จีนไม่ต้องการมาไทย
“สงครามพม่าก็เช่นกัน ในระยะสุดท้ายแล้ว ไทยจะรับสภาพผู้อพยพเต็มๆ ถ้าลุกลามให้ไทยเป็นคู่ขัดแย้งด้วยก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ โดยไทยไม่พร้อมอยู่ในสถานการณ์สงคราม เพราะเอาแต่ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง ยิ่ง รมว.กลาโหม (นายสุทิน คลังแสง) ส่งเสริมการลงแขกเกี่ยวข้าวเพื่อฟื้นวัฒนธรรมการเกษตรมาพัฒนาการต่อสู้ยิ่งไปกันใหญ่”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' จับโป๊ะ! ยิ่งฟังรัฐบาลแจง ยิ่งต้องรีบยกเลิก 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงต้องยิ่งยกเลิก MOU 44
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
ตัวจริงเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ลั่นอันตราย MOU44 ไทยไม่ยกเลิก ติดกับดักบันได 3 ขั้นกัมพูชา
ตอนนี้เราเข้าไปอยู่ในกับดักขั้นที่สองแล้ว คือมี MOU ไว้แล้ว ก็อย่างที่ผมเสนอว่าสิ่งที่ต้องทำอันแรก ก็คือหนึ่งยกเลิก MOU44 สอง คือในทุกกรณี เราต้องไม่เข้าไปสู่บันไดขั้นที่สอง