เรื่องหมูที่ไม่หมู' สส.ทสท. เปิด 3 ปัญหาผู้เลี้ยงหมู ต้นทุนสูงกว่าหมูเถื่อน-นายทุนผูกขาด

สส.ร้อยเอ็ด ทสท. ชี้ 3 ปัญหาผู้เลี้ยงหมู ค่าหัวอาหารหมูในไทยสูงกว่าหมูเถื่อน2เท่า ราคาอาหารสัตว์ในไทยสูงเพราะถูกควบคุม ทุนใหญ่ไม่กี่รายผูกขาดการนำเข้า ชง 3 มาตราการแก้ปัญหา

29 พ.ย.2566 - นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย(ทสท.) ในฐานะกรรมาธิการการเกษตรฯสภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความ หัวข้อ เรื่องหมูที่ไม่หมู มีเนื้อหาดังนี้

หลังจากที่ สส.บิ๊ก ชัชวาล ได้อภิปรายถึงเรื่องปัญหา #หมูเถื่อน ในสภาฯจนเป็นประเด็นเกิดขึ้นในสังคมจนกระทั่งรัฐบาลรับลูกเร่งแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนเป็นการด่วน พรรคไทยสร้างไทยจึงตามติดประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าพูดคุยกับกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคอีสานเพื่อตามหาต้นเหตุหมูเถื่อนอย่างจริงจังและมาตราการเยียวยาของผู้เลี้ยงหมูจนได้ข้อสรุปมาเป็น #3ปัญหา #3มาตราการ ดังนี้

[ 3 ปัญหาด้านต้นทุนผู้เลี้ยงหมู ]

1).“ต้นทุนค่าหัวอาหารหมูในไทยสูงกว่าหมูเถื่อน2เท่า” เช่นหมูจากบราซิลที่ส่งมาไทยมีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 40บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ขณะที่ผู้เลี้ยงในไทยต้องแบกต้นทุนสูงถึง 90 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้

2.)“ราคาอาหารสัตว์ในไทยสูงเพราะถูกควบคุม” ทำให้มีทุนใหญ่ไม่กี่รายผูกขาดการนำเข้าอาหารสัตว์ เช่นข้าวสาลี, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผู้ค้ารายย่อยไม่มีอิสระในการนำเข้าแม้ว่าราคาในต่างประเทศเพื่อนบ้านจะถูกกว่าในไทยก็ตาม

3).”เกษตกรต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าคนลาวเกือบ3เท่า” ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทยสูงถึง 12 บาท ในขณะที่สปป.ลาว มีราคาเพียง 4 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น หากรายย่อยสามารถนำเข้าได้จะทำให้ต้นทุนในส่วนนี้ลดลง และแข่งขันได้

[ 3 มาตราการที่ผู้เลี้ยงหมูต้องการ ]

1). ขอให้รัฐมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องต้นทุนค่าอาหารสัตว์ โดยศึกษาและส่งเสริมการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในประเทศ เช่นข้าวพันธุ์เบญจมุก ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,500 กิโลกรัม

2).ภาครัฐต้องส่งเสริมศักยภาพเกษตรกร โดยกำหนดนโยบายในภาครัฐให้ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสุกร เช่น การลดภาษีวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ หรือ พิจารณาเปิดโอกาสให้รายย่อย สามารถสั่งซื้อหรือนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศได้ ภายใต้การควบคุมของรัฐ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนซึ่งมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนได้

3). ข้อเรียกร้องเร่งด่วน ขอให้รัฐปล่อยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่เกษตรกรที่ยังมีหมูอยู่ในมือ หรือปัญหาการส่งออกส่วนเกินของ 3 บริษัทใหญ่ เพื่อไม่ให้หมูล้นตลาดภายในประเทศ การทำหมูหันวันละ 5,000 ตัว เพื่อตัดวงจรหมูในระยะสั้นเป็นเวลา 3 เดือน โดยรัฐบาลชดเชยให้ตัวละ 400 บาท รวมถึง ขึ้นทะเบียนผู้ซื้อหมูหรือโบรกเกอร์ เพื่อให้หมูอยู่ในราคากลาง และจัดทำ Pig Data ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลภาพรวมสำรวจประชากรหมูเพื่อควบคุมแม่พันธุ์

โดยข้อเรียกร้องเร่งด่วนทั้งหมดนี้ สส.ชัชวาล แพทยาไทย จะนำเสนอเข้าที่ประชุมกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ และส่งต่อให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนต่อไป
#บิ๊ก_ชัชวาล_แพทยาไทย
#พรรคไทยสร้างไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหมือนเป๊ะ! ข้องใจ 'หวยเกษียณ' รัฐบาล กับ 'หวยบำเหน็จ' ไทยสร้างไทย

'เลขาฯ ไทยสร้างไทย' สงสัย 'หวยเกษียณ' เหมือนนโยบายหวยบำเหน็จที่ 'คุณหญิงสุดารัตน์' ใช้หาเสียง ยันไม่ขัดข้องนำไปใช้ แต่ขอหลักการและวิธีคิดถูกต้อง

สส.ร้อยเอ็ด ไทยสร้างไทย ส่งหนังสือลาออก 'วิปฝ่ายค้าน-รองเลขาธิการพรรค'

นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย ได้ทำหนังสือ ถึงประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ขอลาออกจากกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อแสดงความรับผิดชอบ เนื่องจากขัดมติวิปฝ่ายค้าน ลงมติรับหลักการร่าง

ผบ.ทสส.ประชุมผบ.เหล่าทัพ ย้ำกวดขันนำเข้า หมูเถื่อน-สินค้าผิดกฎหมาย สนองนโยบายรัฐ

ผบ.ทสส.ประชุม ผบ.เหล่าทัพ-ผบ.ตร. นัดแรก งบประมาณปี 2567 พร้อมมอบเครื่องหมายกิตติมศักดิ์ ย้ำ กวดขันนำเข้า หมูเถื่อน-สินค้าผิดกฎหมายอื่นๆ สนองนโยบายรัฐ

กมธ.เกษตรฯ กังขาเด้งอธิบดีดีเอสไอ หลังเข้าตรวจห้างค้าปลีก จ่อเรียกรัฐบาลชี้แจง

กมธ.เกษตรฯ ล็อค 3 ข้อ คลี่คลายปัญหา 'หมูเถื่อน' กังขาเด้งอธิบดีดีเอสไอ หลังเข้าตรวจห้างค้าปลีก จ่อเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง แนะนายกฯอย่าปล่อยสังคมคาใจ

'จตุพร' ฟาดรัฐบาลเลือกปฏิบัติเด้งอธิบดีดีเอสไอ ปล่อย 3 กรมเกี่ยวข้องหมูเถื่อนอยู่สุขสบาย

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ ถึงการย้าย พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

แกนนำคปท.แฉเบื้องหลัง ผลประโยชน์หมูเถื่อน รัฐบาลโมโห อธิบดี DSI โดนเด้ง

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กภายหลังครม.ย้ายพ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่า