'ไอติม' แนะ 5 ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษา ยกระดับคนไทยสื่อสารภาษาอังกฤษ

28 พ.ย. 2566 – นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ทวีตข้อความลงแพลตฟอร์ม X ระบุว่า

[ 5 ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษา ยกระดับทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย ]

เมื่อไม่กี่วันที่แล้ว ทาง Education First ได้เผยแพร่ผล “ดัชนีความสามารถทางภาษาอังกฤษ” (English Proficiency Index) ประจำปี 2023 โดยประเทศไทยเข้ามาเป็นอันดับที่ 101 จาก 113 ประเทศทั่วโลก ต่ำสุดในบรรดา 8 ประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีการวัดผล และลดลงจากอันดับที่ 97 จาก 111 ประเทศทั่วโลกในปี 2022

แม้ปัญหาเรื่องทักษะภาษาอังกฤษ อาจมีหลายปัจจัยนอกเหนือจากระบบการศึกษา แต่ผมคิดว่าปัญหาเรื่องทักษะภาษาอังกฤษ สะท้อนให้เราได้เห็นถึง 2 ปัญหาของระบบการศึกษาไทยในภาพรวม

(i) “คุณภาพ” ระบบการศึกษา – ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ “ปริมาณ” แต่อยู่ที่ “ประสิทธิภาพ” เนื่องจากนักเรียนไทยไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียน “ช้ากว่า” หรือ “น้อยกว่า” กว่าประเทศอื่นๆ แต่หลักสูตร-วิธีการสอนปัจจุบัน ไม่สามารถแปรชั่วโมงเรียนเหล่านั้นหรือความขยันของนักเรียนออกมาเป็นทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ดีเท่าที่ควร

(ii) “ความเหลื่อมล้ำ” ด้านการศึกษา – เด็กไทยปัจจุบันยังไม่ได้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพอย่างทัดเทียมกัน โอกาสในการเรียนต่อในต่างประเทศ-เรียนในโรงเรียนนานาชาติ-เรียนในโรงเรียนที่จัดหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Programme หรือ EP) ยังคงเป็นโอกาสที่เด็กบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้าถึง

หากพูดถึงการปฏิรูประบบการศึกษา ผมมองว่ามีนโยบายอย่างน้อย 5 ด้านที่รัฐบาล (โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ) สามารถดำเนินการได้ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนและเยาวชนทั่วประเทศ:

1.ออกแบบหลักสูตรและวิธีการสอนภาษาอังกฤษใหม่

  • ปรับหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ ให้เน้นด้านทักษะการสื่อสารหรือการ “ใช้” ภาษาเป็นหลัก มากกว่าเน้นแค่เพียงหลักภาษาและไวยากรณ์
  • ทำให้ห้องเรียนภาษาอังกฤษเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” ที่ช่วยให้ผู้เรียนกล้าลองผิดลองถูกในการใช้ภาษา และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
  • เพิ่มสัดส่วนวิชาและกิจกรรมในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ
  • ดำเนินการพร้อมกับการออกแบบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ทั้งหมด (ไม่ใช่แค่ด้านภาษาอังกฤษ) ที่เน้นการพัฒนาทักษะ-สมรรถนะ มากกว่าเพียงการอัดฉีดเนื้อหา

2.ยกระดับการอบรมทักษะภาษาอังกฤษของครูไทย

  • เพิ่มความเข้มข้นในการอบรมครูไทยด้านภาษาอังกฤษทั้งในระดับสถาบันผลิตครู (pre-service training) และการพัฒนาทักษะในงาน (in-service training)
  • เน้นการกระจายงบอบรมครูที่ปัจจุบันกระจุกอยู่กับส่วนกลางทั้งหมด ไปเป็นการให้งบตรงไปที่โรงเรียนและครูแต่ละคนในการซื้อคอร์สพัฒนาทักษะที่ตอบโจทย์ด้านที่ตนเองต้องการพัฒนา

3.ทำ MOU กับประเทศหรือเมืองอื่นๆ เพื่อให้มีโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างครูสอนภาษาอังกฤษในต่างประเทศและครูไทยที่สอนภาษาอังกฤษ

  • เพิ่มสภาพแวดล้อมที่นักเรียนไทยได้ฝึกสื่อสารภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติที่มาสอนในประเทศไทย
  • ยกระดับทักษะครูไทยที่จะมีประสบการณ์ไปสอนในโรงเรียนที่ต่างประเทศ

4.ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน

  • พิจารณาจัดสรร “คูปองเปิดโลกเรียนรู้” สำหรับเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้นอกห้องเรียน (ซึ่งอาจรวมถึงคอร์สหรือกิจกรรมที่มีการใช้ภาษาอังกฤษ)
  • จัดทำแพลตฟอร์มเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่รวบรวมคอร์สพัฒนาทักษะ (เช่น คอร์สภาษาอังกฤษ) จากผู้ผลิตเนื้อหาในภาคเอกชนและภาควิชาการ โดยเปิดให้ประชาชนทุกคนเรียนได้ฟรีไม่จำกัด
  • เพิ่มจุดที่ประชาชนได้สัมผัสกับภาษาอังฤษในชีวิตประจำวัน (เช่น การเพิ่มบทบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพ (subtitles) สำหรับข่าวสาร-ละคร-รายการในโทรทัศน์)

5.รณรงค์ให้สังคมไม่มีค่านิยมที่ให้ความสำคัญมากเกินไปกับเรื่องสำเนียง (accent) จนทำให้เด็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่ไม่กล้าสื่อสารภาษาอังกฤษ

สร้างความเข้าใจว่าการออกเสียง (pronunciation) ให้ชัดถ้อยชัดคำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการให้คู่สนทนาเข้าใจสิ่งที่เรากำลังสื่อสาร แต่สำเนียง (accent) ไม่ควรถูกมองว่าเป็นสาระสำคัญ เนื่องจาก “สำเนียงที่ถูกต้อง” (แม้ในเชิงทฤษฎี) ก็อาจไม่มีอยู่จริง ในเมื่อภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาที่ถูกใช้กันโดยคนในหลายประเทศทั่วโลกด้วยสำเนียงที่หลากหลาย หรือ แม้แต่คนในประเทศสหราชอาณาจักรเอง (ที่ถูกมองว่าเป็นต้นตำรับภาษาอังกฤษ) ก็ยังมีหลายสำเนียงที่แตกต่างออกไปในแต่ละภูมิภาค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจาะแพ็กเกจ แก้รธน. พริษฐ์ พรรคประชาชน กับด่านสำคัญที่รออยู่

การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในเดือนตุลาคม ดูเหมือนจะคลายความร้อนแรงทางการเมืองไปพอสมควร หลัง"พรรคเพื่อไทย"

หนุน 'ปชน.' ยุติรื้อจริยธรรม ไม่เห็นด้วยยังดันทุรังแก้รธน.รายมาตรา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เห็นด้วยกับการยุติแก้ไขประมวลจริยธรรมนักการเมือง ของพรรคประชาชน

พรรคประชาชน ลุยเสนอร่างแก้รธน.รายมาตรา 6 แพคเกจ ชะลอปมจริยธรรมไว้ก่อน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) แถลงจุดยืนของพรรคในการเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คู่ขนานกับยื่นร่างแก้ไขเป็นรายมาตราว่า พรรค ปชน.ยืนยันมาตลอดว่ารัฐธรรมนูญปี 2560

'พรรคส้ม' เพ้อ รธน.ใหม่ ต้องชอบธรรม สะท้อนความคิด ความฝัน ความต้องการของทุกคน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.), นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.), นายประภาส ปิ่นตบแต่ง สว., นายเข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ภาควิชาการปกครอง

'พรรคประชาชน' พล่ามไม่หยุด รัฐธรรมนูญ 60 ให้อำนาจศาลฯ-องค์กรอิสระ ผูกขาดตีความจริยธรรม

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลงจุดยืนของพรรคประชาชนจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า ขอแสดงความกังวลและไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้

'ไอติม' ชี้ใครจะเป็นรองปธ.สภาฯ คนใหม่ ไม่สำคัญเท่ากับสานต่อผลงาน 'หมออ๋อง'

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยถึงการเลือกรองประธานสภาว่า เท่าที่ทราบข่าว ยังไม่ชัดเจนว่า การเสนอชื่อและการเลือกรองประธานสภาคนที่ 1 จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ แต่น่าจะเป็นสัปดาห์หน้า เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ระหว่างการหารือ