ตัวเต็งนั่งหน.พรรคปชป.คนใหม่ ไม่ปิดประตู โอกาสจับมือกับเพื่อไทย บอกพร้อมทำงานกับทุกพรรค แต่ก็มีเงื่อนไข
26 พ.ย.2566-นายนราพัฒน์ แก้วทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรคปชป. ที่ประกาศยืนยันลงสมัครชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ในการประชุมพรรควันที่ 9 ธ.ค. โดยมีกระแสข่าวว่า ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการหัวหน้าพรรคปชป.ที่มีเสียงส.ส.ในกลุ่มร่วม 21 คนจาก 25 คน กล่าวถึงกรณีมีเสียงวิจารณ์ทางการเมืองว่า กลุ่มนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ต้องการเข้ามาคุมพรรคปชป.เพราะหวังว่าวันหนึ่งข้างหน้า จะนำพรรคปชป.ไปร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทยว่า เรื่องของการจะร่วมรัฐบาลหรือไม่ร่วมรัฐบาล มันไม่มีทางที่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด สามารถที่จะชี้นิ้วหรือบอกได้ว่า จะร่วมรัฐบาลหรือไม่ร่วมรัฐบาล ที่ผ่านมา ก็มีทั้งคนเห็นด้วยกับการร่วมรัฐบาล และไม่เห็นด้วยกับการร่วมรัฐบาล ที่เป็นความคิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่กระบวนการ พรรคปชป.มีข้อบังคับพรรคอยู่ เช่น หากมีเทียบเชิญ อย่างสมมุติว่ามียกหูโทรศัพท์มา มีหนังสือมา โดยพรรคแกนนำหรือพรรคที่มีเสียงส.ส.อันดับหนึ่ง อยากให้พรรคปชป.ไปร่วมรัฐบาล ถ้ามีอะไรที่เป็นกระบวนการมา พรรคปชป.ก็จะมีการเรียกประชุมร่วมกันระหว่างกรรมการบริหารพรรคกับส.ส.ของพรรคปชป. เพื่อพิจารณาเหตุและผลในการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่เข้าร่วมรัฐบาล มันต้องเป็นมติ
นายนราพัฒน์ กล่าวว่า ทุกครั้งมันก็เป็นแบบนี้ตั้งแต่สมัยอดีต จนถึงสมัยที่พรรคไปเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพลเอกประยุทธ์ หรือสมัยนี้ที่มีข่าว มันก็มีข่าวว่า มีการพูดคุยกันนอกรอบ ซึ่งการพูดคุยกันนอกรอบ มันก็เป็นเรื่องปกติ คนรู้จักกัน ก็ต้องคุยกัน คนมาถามว่า อยากร่วมหรือไม่ หากเขาอยากร่วม เขาก็แสดงออกว่าเขาอยากร่วม คนที่มาถามว่าอยากร่วมไหม แต่บอกว่า สถานการณ์แบบนี้ไม่ควรจะร่วม เดี๋ยวรอไปดีกว่า มันก็เป็นเหตุผล แต่คนก็เอาไปตี ว่าพรรคปชป.แตกแยก มีคนอยากร่วม ไม่อยากร่วม จนรวมมาถึงการเลือกหัวหน้าพรรคปชป. ก็กลัวว่าอย่างนั้น กลัวว่าอย่างนี้ ที่ต้องบอกว่า ไม่ต้องกลัวพรรคปชป.มีกระบวนการในการตัดสินใจ
อย่างสมัยที่ผ่านมา ตอนจะร่วมรัฐบาลกับพลเอกประยุทธ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรค ก็แสดงความชัดเจนว่าไม่เข้าร่วม ต่อมามีการประชุมร่วมกันระหว่างกรรมการบริหารพรรค กับส.ส.ของพรรคปชป. ก็มีมติว่าให้เข้าร่วมรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ ก็รักษาหลักการ ถอยออกมา แต่ก็ยังอยู่ช่วยพรรคปชป. กรณี ณ วันข้างหน้า อะไรจะเกิดขึ้น หากเกิดเข้าไปร่วม ใครไม่เห็นด้วย ท่านก็ต้องถอยออกมา แล้วก็ดู เพราะว่ามันเป็นมติ ท่านอาจจะแสดงความคิดเห็นว่าไม่อยากให้เข้าร่วม แต่หากเกิดมติออกมาให้ร่วม ท่านก็ออกมา หากว่าเกิดท่านไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ควรไปทำอะไรให้ มติมันเสียหาย หากอนาคตข้างหน้า ถ้าสถานการณ์มันเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่วันนี้ แน่นอน ชัดเจนคือเราเป็นพรรคฝ่ายค้าน เพราะไม่มีเทียบเชิญมา ก็ไม่มีการประชุมร่วมกันระหว่างกรรมการบริหารพรรคกับส.ส.ของปชป. ก็ไม่ได้เข้าร่วมแน่นอน
“เพราะฉะนั้นแล้วจะไปกลัวทำไม สำหรับคนที่รู้สึกว่า ไม่อยากเข้าร่วม เพราะมันไม่มี เมื่อไม่มี ก็จบ ดังนั้น วันนี้เราก็กลับมาทำพรรคของเรา เรื่องจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม ก็ตัดออกไป ก็เป็นเรื่องของอนาคต อาจจะมีการยุบสภา แล้วมีการเลือกตั้งใหม่ อนาคตจะได้เสียงส.ส.เท่าไหร่ แล้วจะไปร่วมกับใครหรือไม่ร่วมกับใคร ก็เป็นเรื่องของอนาคต แต่วันนี้ตัดเรื่องของการเข้าร่วมรัฐบาล แล้วกลับมาดูเรื่องของพรรค มาดูกันว่า เราจะฟื้นฟูพรรคกันอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้พรรคกลับมาเข้มแข็ง”
ถามว่า หากรัฐบาลนายเศรษฐา ถ้าอนาคตเช่นมีความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล แล้วได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคปชป.โดยรัฐบาลเศรษฐา มีการปรับพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคออกไป หากว่ามีเทียบเชิญพรรคปชป.มาจะทำอย่างไร นายนราพัฒน์กล่าวว่า ก็ต้องไปเข้าตามข้อบังคับพรรค ตามกติกาเลย หากเขามีเทียบเชิญมา ผมก็ต้องไปถาม กรรมการบริหารพรรค ไปถามส.ส. ว่าจะเอาอย่างไร หากเกิดมีมติไม่ให้เข้าร่วมรัฐบาล เราก็ตอบปฏิเสธเขาไป หรือหากมีมติเข้าร่วมรัฐบาล เราก็ต้องมีเหตุผลว่าทำไมเราถึงเข้าร่วมรัฐบาล และเข้าร่วมเพราะอะไร เหตุผลเพียงพอหรือไม่ แล้วมวลสมาชิกพรรคปชป. เห็นอย่างไร มันต้องไปด้วยกัน เราอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน เลี้ยวขวา หรือเลี้ยวซ้าย เราก็ต้องไปด้วยกัน มันเป็นกติกา
ย้ำว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่บางพรรคบอกว่าต้องจับมือกันก้าวข้ามความขัดแย้ง พรรคปชป.พร้อมจะทำงานร่วมกับเพื่อไทยได้หรือไม่ นายนราพัฒน์กล่าวว่า มันต้องแยกในเรื่องของการเมือง พรรคการเมือง และตัวบุคคล เช่นตัวบุคคลไปกระทำความผิด ไปทำทุจริต ไปโกง สมมุติไปทำผิดกฎหมาย ไปยิงคนตาย ถามว่าพรรคจำเป็นต้องผิดไปตามด้วยตามคนๆนั้นหรือไม่ พรรคก็ต้องพิจารณาโทษ หรือคนที่ไปกระทำความผิด ไปโกง ไปทุจริต ก็ต้องรับผิด พรรคเขาก็ต้องขับออก มีมติออกไป แต่พรรคก็ต้องเดินต่อ แม้กระทั่งคนทำผิดไปแล้ว เข้าคุก แล้วทำความดี เรายังมีการให้โอกาส มีการอภัยโทษ นี้คือสังคมของคนไทย คือการให้โอกาส
“เพราะฉะนั้นจะไปบอกว่า พรรคนี้กับพรรคนั้น ร่วมกันไม่ได้ ผมขอถามว่าทำไมจะร่วมกันไม่ได้ เขาเป็นพรรคการเมือง พรรคเขามีคนเลวหมดเลยหรือ พรรคเขาก็มีคนเก่ง มีคนดี มีคนตั้งใจ แต่คนในพรรคเขา บางคนบางกลุ่มอาจจะไม่ดี มันก็อยู่ที่เราจะพิจารณา หากสมมุติว่าเราพิจารณาแล้วเห็นว่า กลุ่มไม่ดีของเขา มีเยอะมากกว่า พรรคเขาดูแล้ว มีคนไม่ดีเยอะ เราบอกว่าแบบนี้เรารับไม่ได้ หรือว่านโยบายของพรรคเขา มันขัดกับเรา เช่นนโยบายของพรรคเขาสามารถทำให้มีการโกงได้ แล้วเราจะไปร่วมกับเขาได้หรือ แต่หากนโยบายของพรรคเขา มีแนวทางที่จะช่วยเหลือประชาชน สำหรับตัวผม อันนี้คือความคิดเห็นส่วนตัวของผม แต่ทั้งหมดก็อยู่ที่การตัดสินใจของพรรคว่าจะร่วมกับพรรคไหน หรือไม่ร่วมกับพรรคไหน เป็นกระบวนการของพรรค แต่ถ้าถามผมในฐานะส่วนตัว ผมก็บอกว่า ผมร่วมได้กับทุกพรรค แต่ก็อยู่ที่เงื่อนไข”
นายนราพัฒน์ กล่าวโดยยกตัวอย่างว่า เช่น สมมุติถามผม ว่าร่วมกับพรรคก้าวไกลได้ไหม ผมก็บอกว่า ทำไมร่วมไม่ได้ ก้าวไกลก็เป็นคนรุ่นใหม่แล้วก็เสนอมุมมองในการเปลี่ยนแปลงประเทศที่ดี ผมก็ร่วมได้ แต่ผมติดที่พรรคก้าวไกลบอกว่า ไม่เอามาตรา 112 ก้าวไกลมีagenda ในการที่จะกระทบกระเทือนข้างบน ผมก็บอก ถ้าแบบนั้น รับไม่ได้ ไปร่วมกับก้าวไกลไม่ได้ แค่นั้นเอง ถึงบอกว่าจะร่วมกับสีส้ม สีแดง สีฟ้า สีน้ำเงิน ทุกอย่างอยู่ที่เงื่อนไข อยู่ที่บริบท ไม่ใช่ว่าพรรคเขา มีคนเลวอยู่หนึ่งคน แล้วก็บอกว่าต่อไปนี้ พรรคการเมืองนี้ต่อไปเราจะไม่ร่วม เพราะเขามีคนเลวอยู่หนึ่งคน มันไม่แฟร์ แล้วการเมืองมันจะเดินต่อกันไปยังไง การทำงานร่วมกันมันจะเดินต่อไปได้ยังไง มันต้องเอาเหตุและผล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ปชน.' ตีปี๊บ! 1 ปีฝ่ายค้านผลงานเพียบ เมินเรตติ้งร่วง โต้ฮั้ว พท.
'พรรคประชาชน' โวผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี' เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ตั้งเป้าทำงานผสมผสานได้ทั้ง 'รุก-รับ' ปัดฮั้ว 'เพื่อไทย' เมินผลโพลคะแนนร่วง เปรียบ 'เตะบอล' ต้องรอจบ 90 นาที
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
'ไพบูลย์' เบรกหัวทิ่มมือกฎหมายเพื่อไทย คลอดประชามติ 2 ครั้ง
“ไพบูลย์” โต้ ”ชูศักดิ์“ ใช้คำวินิจฉัยส่วนตน 6 ตุลาการอ้างทําประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ บอก ต้องยึดคําวิฉัยกลาง ชี้มีแค่แก้รายมาตราเท่านั้นไม่ต้องทำ
ชัดเจน! พท.โยนขี้พ้นตัว แก้รธน.ไม่ทันไม่ใช่ความรับผิดชอบพรรค
“เพื่อไทย" ชงกมธ.ร่วมลดเกณฑ์ประชามติ อ้าง ถ้าแก้รธน.ไม่ทัน ไม่ใช่ความรับผิดชอบของพรรค ชิ่งห้ามความคิดใครไม่ได้
เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง
เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.
เพื่อไทย เผยแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ