คกก.แก้รธน.ชุด"ภูมิธรรม" ชงพรรคการเมือง - สภาส่งศาลรธน.ตีความปมขัดแย้งทำประชามติกี่ครั้ง หลังเห็นต่าง ทำ 2 หรือ 3 ครั้ง พร้อมมอบหมายคณะอนุชุดวุฒิสาร ไปศึกษา กม.ให้ใช้ เทคโนโลยีเลือกตั้ง-พร้อมครอบคลุมลต.ท้องถิ่น เตรียมส่งหนังสือกกต.ชุดใหญ่ สอบถามขั้นตอนขัดเจน ปัดซื้อเวลา หากหลุดไทม์ไลน์ สรุปเข้าครม.ต้นปีหน้าไม่ทัน เชื่อ ปชช.เข้าใจข้อจำกัด
24 พ.ย.2566 - เมื่อเวลา16.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ 60 เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่า วันนี้ได้มีการรายงานความคืบหน้า โดยเริ่มจากคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ที่มีนายนิกร จำนง เป็นประธาน ได้ดำเนินการไปพอสมควร เหลือการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในภาคเหนือ และภาคใต้ และอีกส่วนรอรัฐสภาเปิดเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสส.หลังจากที่ฟังจากสว.มาแล้ว เพื่อให้การรับฟังความคิดเห็นครบถ้วน โดยเราจะเร่งสรุปความคิดเห็นทั้งหมด ส่วนความเห็นต่างเราจะบันทึกข้อคิดเห็นนั้นด้วยเพื่อให้ครม.รับทราบข้อมูลทั้งหมด เพื่อตัดสินใจ
นายภูมิธรรม กล่าวว่า ส่วนคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ทีมีนายวุฒิสาร ตันไชย เป็นประธาน ที่ได้ศึกษาว่าจะทำประชามติกี่ครั้ง จะเลือกทางเดินในการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เกี่ยวกับวิธีการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่มีความเห็นแตกต่างกันมาก เราจึงสรุป และเชื่อมโยงข้อกฎหมายต่างๆ และกฎหมายประชามติที่เราจะเข้าไปทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการการแก้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย และมีรัฐธรมนูญใหม่เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีในการออกเสียงประชามติได้ และทำให้พ.ร.บ.ประชามติ ทำประชามติได้กว้างขวางขึ้น สามารถทำร่วมกับการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และจะให้อนุกรรมการชุดนายวุฒิสาร ไปศึกษาให้ได้ข้อสรุปให้ชัดเจน
นายภูมิธรรม กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติให้ตนทำจดหมายไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ชุดใหญ่เพื่อสอบถามความเห็นเรื่องเกี่ยวกับการทำประชามติ เพราะก่อนหน้านี้คุยกับเลขาธิการกกต.ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปในทางกฎหมาย นอกจากนี้ ที่ประชุมยังต้องการทราบว่าองค์กรใดมีอำนาจที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับการทำประชามติ เพราะหากไม่ชัดเจนอาจจะทำให้ศาลไม่สามารถตีความได้ จึงมีความเห็นบางอย่างเสนอขึ้นมา อยากให้สภาฯเสนอตีความตรงนี้ โดยปรึกษาประธานสภาฯให้ใช้เป็นเงื่อนไข ซึ่งเราจะเสนอผ่านพรรคการเมืองที่อยู่ในที่ประชุมของเราไปปรึกษาหารือกัน และหากกระบวนการนี้จะเกิดขึ้น สภาจะเป็นผู้เสนอหากเห็นว่ามันขัดแย้งกันและเห็นว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ ศาลก็มีอำนาจตีความให้เกิดความชัดเจน ซึ่งทุกประเด็นในวันนี้จะประมวลและมีความชัดเจนให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ ว่าจะไปถึงระดับไหน
ถามอีกว่า นายนิกร เสนอให้แก้กฎหมายประชามติเพื่อลดเงื่อนไขผู้มาใช้สิทธิ์ให้น้อยลง จากเดิมต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และคะแนนเห็นชอบต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ ได้นำไปพิจารณาหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ก็มอบหมายให้ไปศึกษาพร้อมกับเรื่องอื่นๆด้วย เพราะเราอยากเห็นกฎหมายประชามติกว้างกว่าการมาแก้ไขเรื่องกฎหมาย และพ.ร.บ.ประชามติก็ไม่เคยถูกใช้ เราจึงอยากรู้ว่าพ.ร.บ.ประชามติจะใช้ในมิติอื่นๆได้หรือไม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยที่สุด
ซักว่า ที่เสนอให้สภาฯเสนอศาลรัฐธรรมนูญนั้น คือประเด็นอะไร นายภูมิธรรม กล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับความชัดเจนในการทำประชามติ และกฎหมายประชามติจะต้องทำกี่ครั้ง และทำอย่างไร รวมถึงทำกับกฎหมายเลือกตั้งอื่นได้หรือไม่ และทำประชามติผ่านเทคโนโลยีได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องมีการคุยกันในสภา ถ้าสภามีข้อมูลชัดเจน แต่ถ้าไม่มีความชัดเจน มีปัญหาอุปสรรคว่าตจะทำประชามติกี่ครั้ง สภาก็จะทำหน้าที่ไปถามศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
"ประเด็นสำคัญคืออยู่ที่ว่าถ้าจะทำรัฐธรรมนูญต้องถามองค์ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก่อน ซึ่งนำมาสู่จะต้องทำประชามติ 2-3 ครั้ง ถือเป็นประเด็นสำคัญ"
เมื่อถามย้ำว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาให้หรือไม่ เพราะไม่ได้มีหน้าที่เป็นที่เป็นที่ปรึกษา นายภูมิธรรม กล่าวว่า ถ้ามีความขัดแย้งในสภาว่าจะทำ 2 หรือ 3 ครั้ง แล้วยังไม่ได้ข้อยุติ เป็นอำนาจหน้าที่ที่สภาจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ เราไม่ได้คิดว่าท่านเป็นที่ปรึกษา แต่เราคิดว่าหากเป็นข้อขัดแย้งที่หาข้อยุติไม่ได้ ก็ต้องเสนอ
ถามต่อว่า กระบวนการต่างๆที่ตั้งเพิ่มขึ้น จะกระทบไทม์ไลน์ที่จะสรุปข้อเสนอให้ครม.ในต้นปีหน้าหรือไม่ นายภูมิธรรมกล่าวว่า คณะกรรมการฯมุ่งมั่นตามไทม์ไลน์เดิมที่เราประกาศ และพยายามทำให้ถึงเงื่อนไขตรงนั้นให้ได้ แต่ถ้าถึงจุดสุดท้ายแล้วถ้ามีปัญหาอะไรเราก็จะชี้แจงให้ทราบ และถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็น และเป็นข้อจำกัดที่ฟังได้ ตนคิดว่าประชาชนก็เข้าใจ ส่วนที่มีการมองว่ารัฐบาลจะดึงเรื่องให้เกิดความล่าช้า ตนขอยืนยันว่าการดำเนินการเรื่องนี้รัฐบาลตั้งใจทำให้สำเร็จ เพราะเป็นประโยชน์กับประชาชนทุกส่วน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล
นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256
'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่
'ธนกร' เห็นด้วยเลื่อนถกแก้รธน. ออกไป 1 เดือน แนะแก้ปัญหาประชาชนเป็นอันดับแรก
นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรคและสส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า จากการประชุมของคณะกรรมการประสานงาน (วิป 3 ฝ่าย) มีมติให้เลื่อนการพิจารณา การประชุมร่วมรัฐสภา
'เพื่อไทย' ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ ประกบฉบับ 'พรรคประชาชน' 8 ม.ค.นี้
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า ในวันที่ 8 ม.ค. พรรคเพื่อไทยจะยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ต่อรัฐสภา จะเสนอประกบไปกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนตลอดกาล! แก้รธน. ไม่แตะหมวด 1-2 ท่าทีส.ส.ภูมิใจไทย ไม่เกี่ยวสว.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงสัญญาณกา