'ไอติม' ชงแก้พ.ร.บ.ประชามติ กำหนดเกณฑ์ออกมาใช้สิทธิ์และเห็นชอบเพียง 25%

'ไอติม' ชงแก้ พ.ร.บ.ประชามติ เหลือ เกณฑ์ออกมาใช้สิทธิ์และเห็นชอบ 25% หรือยกเลิกเกณฑ์ชั้นที่ 1 ไม่ต้องกำหนดจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ ป้องกันยุทธศาสตร์นอนอยู่บ้านเพื่อคว่ำประชามติ

17 พ.ย. 2566- ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงข้อกังวลของหลายฝ่ายเกี่ยวกับเงื่อนไขใน พ.ร.บ.ประชามติ ว่า ทั้งรัฐบาลฝ่ายค้านและภาคส่วนอื่นๆ มีข้อห่วงใยเกี่ยวกับการ กฎหมายประชามติ ที่ต้องใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น หรือ Double majority ที่บัญญัติในมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ประชามติที่อาจไม่เป็นธรรม ต่อการทำประชามติในทุกหัวข้อ ซึ่งเกณฑ์ชั้นที่ 1 คือจะต้องมีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ ส่วนชั้นที่ 2 คือ ต้องมีเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ที่ออกมาใช้สิทธิ์ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงหากคนที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ถูกถาม แทนที่จะออกมาใช้สิทธิ์แต่ใช้วิธีนอนอยู่บ้าน เพื่อคว่ำประชามติ แทนและหากบวกกับจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ก็จะไม่ถึงเกณฑ์ เสียงข้างมาก ชั้นแรก ก็จะทำให้ตกไป

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ควรทบทวนตัวกติกานี้โดยเฉพาะชั้นแรก พร้อมเสนอทางเลือก ในการแก้ไข 2 ประเด็นคือ ยกเลิกเกณฑ์ชั้นที่ 1 ไม่ต้องกำหนดจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งบางประเทศ ไม่มีเกณฑ์ใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น และประชามติ 2 ครั้งของประเทศไทย ในการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 ก็ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์สัดส่วนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ ส่วนอีกหนึ่งทางคือ ให้เขียนว่า คนออกมาใช้สิทธิ์และลงคะแนนเห็นชอบ เกิน 25% หรือ 1 ใน 4 ของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด ซึ่งจ ะสามารถป้องกันยุทธศาสตร์การนอนอยู่บ้านเพื่อคว่ำประธรรมมติได้

สำหรับกระบวนการในการแก้ไขกฎ นายพริษฐ์ กล่าวว่า วิธีในการแก้ไขกฎหมายคือ เรียบง่ายตรงไปตรงมาที่สุดคือให้รัฐบาลและฝ่ายค้าน ร่วมกันยื่นแก้ไขกฎหมายพ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 13 ซึ่ง ถ้าดำเนินการยื่นเสนอไว้ เมื่อสภาเปิดสมัยประชุมช่วงเดือนธันวาคม ก็สามารถที่จะพิจารณาวาระแรกได้ทันที และเชื่อว่าจะสามารถผ่าน 3 วาระไปได้ โดยจะไม่กระทบต่อ กรอบเวลาในการจัดทำประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ตามไทม์ไลน์ที่รัฐบาลวางไว้ว่าจะเคาะว่าจะทำประชามติหรือไม่ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 เพราะเป็นการแก้ไขแค่มาตราเดียว

นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่านอกจาก ประเด็นเรื่อง มาตรา 13 เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้นแล้วไหนๆจะแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติถ้าไม่กระทบกรอบเวลาในการพิจารณาอาจพิจารณาประเด็นอื่นควบคู่ไปด้วยเช่น จะทำอย่างไรให้กฎหมายประชามติรองรับการจัดทำประชามติวันเดียวกับการเลือกตั้ง อื่นๆได้ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสส. หรือเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ปัจจุบันมีข้อจำกัดที่อาจทำให้การดำเนินการด้านธุรการยุ่งยาก ถ้าแก้ไปด้วยก็จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้สามารถเลือกวันลงประชามติได้ยืดหยุ่นมากขึ้นและอาจมีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์มากขึ้นได้ในช่วงพร้อมกับการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังเสนอให้แก้ไขกรณีการเข้าชื่อของประชาชนเพื่อทำประชามติ 50,000 รายชื่อทางออนไลน์ได้ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พริษฐ์' ชักแม่น้ำทั้งห้าชวนรัฐบาลยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประกบ

'พริษฐ์' แนะ 'รัฐบาล' ควรยื่นร่างแก้ไข รธน.เกี่ยวข้องกับ ส.ส.ร. ประกบฝ่ายค้าน มอง มี 2 ด่านต้องผ่าน ชี้ 'นายกฯ' ต้องเป็นผู้ยุติร้อยร้าว เชื่อยิ่งร่วมมือฝ่าฟันเท่าไหร่ โอกาสสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น

พรรคประชาชนจองกฐินซักฟอกรัฐบาลตามมาตรา 151

ปชน.จ่อเปิดซักฟอกรัฐบาล เข้มข้นเหมือนเดิม ย้ำ ายค้านเดินหน้าเต็มที่ ทั้งตรวจสอบ รบ.-เสนอกฎหมาย โยนถาม 'ทสท.' มีสส.ฝ่ายค้านกี่คน โว 'พรรคประชาชน' 140 คนพอแล้ว

ปธ.รัฐสภา ยันเปิดสมัยประชุม ธ.ค.เดินหน้าแก้ รธน. อยากให้สำเร็จในรัฐบาลนี้

ปธ.รัฐสภา ยันเปิดสมัยประชุม ธ.ค.เดินหน้าแก้ รธน. อยากให้สำเร็จในรัฐบาลนี้ เผยบรรจุแล้วทั้ง 17 ฉบับ ไม่ขัดกม.-คำวินิจฉัยศาล เหตุแก้รายมาตรา ไม่ต้องทำประชามติ ยกเว้นเสนอใหม่