16 พ.ย.2566 - นายเกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ และ อดีต สส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้งสิ่งที่นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุว่า หากพ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่าน ยังไม่มีแผนสำรอง แต่นายกฯ เศรษฐาบอกว่า มีแผนสำรอง แต่ยังไม่บอก เรื่องนี้สะท้อนว่าการให้ข้อมูลของนายกฯ และคนใน ครม. ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งทำให้กระทบต่อความน่าเชื่อถือ และแม้ว่าวิธีออกกฎหมายจะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด แต่กฎหมายนั้นก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย ก็คือต้องเข้าข่ายกรณีจำเป็นเร่งด่วน เมื่อมีวิกฤติ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนใน พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ดังนั้นรัฐบาลจะต้องชี้แจงในสภาให้ชัดเจนว่าประเทศมีวิกฤติเศรษฐกิจอย่างไร และเหตุใดออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีไม่ได้ เพราะการจะออกเป็น พ.ร.บ.เงินกู้นั้น จะต้องพิจารณาในเงื่อนไขของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ที่ระบุไว้ชัดเจนเช่นกันว่า ต้องเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถใช้จ่ายงบประมาณประจำปีได้ และมาตรา 57 ซึ่งผูกโยงไปถึงมาตรา 53 และมาตรา 56 ที่ระบุว่าการกู้เงินนั้นจะทำได้เฉพาะ เพื่อใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือสังคมเท่านั้น ดังนั้นการพิจารณา พ.ร.บ.เงินกู้ ดังกล่าวจะผ่านหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคำชี้แจงของรัฐบาล แต่จนถึงวันนี้ยังคงเป็นคำถามเดิม ที่มีตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว และรัฐบาลก็ยังมีคำตอบที่ไม่ชัดเจน
ที่สำคัญคือ เมื่อกฎหมายเขียนไว้อย่างนี้ กฤษฎีกาก็จะตีความเช่นเดียวกันว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องอธิบายถึงความคุ้มค่า ความจำเป็นเร่งด่วน และชี้แจงว่าประเทศมีวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างไร ทั้งๆ ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้หยุดชะงัก ไม่ได้ติดลบ ตามการวิเคราะห์ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศที่เห็นตรงกันว่าประเทศไทยไม่ได้กำลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และจริงอยู่ที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ต้องโตด้วยการปรับโครงสร้าง ไม่ใช่โตด้วยการกระตุ้นให้ใช้เงิน และควรเริ่มจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ ตั้งแต่ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ เพราะเห็นได้ชัดว่าขณะนี้เป็นโครงสร้างที่บิดเบือนมาก ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระแต่ผู้ประกอบการบางรายได้กำไรเกินควร ซึ่งการปรับโครงสร้างพลังงานเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลย แต่ได้ผลทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 แสนล้าน
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า นโยบายที่พรรคการเมืองใช้หาเสียงนั้น จะต้องมีการยื่นต่อ กกต. รวมถึงจะต้องระบุให้ชัดเจนถึงแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในนโยบายที่ใช้หาเสียงด้วย แต่สิ่งที่พรรคเพื่อไทยกำลังทำนั้นไม่ตรงกับสิ่งที่ได้ยื่นไว้ต่อ กกต. ทำให้เกิดปัญหาตามมาว่า เมื่อพรรคการเมืองใดมาเป็นรัฐบาลแล้วหากสามารถทำเช่นนี้ได้ ก็จะทำให้พรรคการเมืองทุกพรรคหมดความน่าเชื่อถือ เพราะเมื่อเป็นรัฐบาลแล้วสามารถทำในสิ่งที่ไม่ตรงกับที่เคยยื่นไว้ต่อ กกต. ได้ ไม่เป็นไร เรื่องนี้ กกต. จึงควรต้องออกมาชี้แจงด้วยว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า พอเป็นรัฐบาลก็จะเปลี่ยนเงื่อนไขอะไรก็ได้ อย่างนี้จะกระทบต่อความเชื่อถือของพรรคการเมืองอย่างมาก ทั้งในและต่างประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ยิ้มรับถูกถามศาลรธน. ตีตกคำร้องดิจิทัลวอลเล็ต ย้อนถามสื่อต้องหน้าบึ้งเหรอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
'แจกเงินหมื่น' เฟส 3 ไม่ใช้แอปเป๋าตัง กำลังจัดซื้อจัดจ้างพัฒนาระบบ คาดเสร็จ มี.ค.68
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแอปพลิเคชันที่ใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงิน 10,000 บาท เฟส 3 หลัง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกมนตรี
'สนธิญา' ยื่นหลักฐานเพิ่ม ร้องศาลรธน. สั่ง 'อิ๊งค์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจกเงินหมื่นไม่ตรงปก
นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท
รัฐบาลโต้ถังแตก ขึ้นภาษีแวต 15% โยนคลังสรุปให้ชัดก่อน
'ภูมิธรรม' บอกรอคลังสรุปให้ชัดเจน ปมขึ้นภาษีแวต 15% ปัดถังแตกจากโครงการแจกหมื่น ยันทำให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด
'สุริยะใส' เขย่า 'แจกเงินหมื่น' หอกทิ่มแทง วัดใจจุดเปลี่ยนรัฐบาลแพทองธาร
“สุริยะใส” ชี้จุดสลบใหญ่เรื่องเศรษฐกิจ นโยบายเรือธงอย่างดิจิทัล แจกเงินหมื่นเป็นหอกทิ่มแทง วัดใจจุดเปลี่ยนของรัฐบาลแพทองธาร