15 พ.ย.2566 - นายวันชัย สอนศิริ สว. ฐานะประธานคณะทำงานติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่มีข้อเสนอต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เพื่อลดเกณฑ์การออกเสียงเรื่องที่จะผ่านประชามติจากเดิมต้องใช้เกณฑ์มีผู้มาออกเสียงเกิน 50% ของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ และผู้มาออกเสียงประชามติ ว่า ตนในฐานะอดีตกมธ.ร่วมรัฐสภา ที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติในรัฐสภาชุดที่ผ่านมา ไม่เห็นเหตุของความจำเป็นของการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว อีกทั้งในการพิจารณาประเด็นดังกล่าวนั้นได้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะหากมีผู้ออกมาใช้สิทธิ หรือออกเสียง เพียง 20% - 30% อาจจะถือว่าการประชามตินั้นไม่ชอบได้
“ผมไม่เห็นปัญหาหรืออุปสรรคใด หรือปัญหาที่จะทำให้แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ ด้วยเหตุของเนื้อหาของกฎหมายประชามติ ซึ่งหลักเกณฑ์เรื่องการมาใช้สิทธิออกเสียงที่กำหนดไว้ในกฎหมายประชามติที่เพิ่งบังคับใช้นั้น เพื่อให้เกิดความชอบธรรมต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากจะลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์และอาจจะกระทบต่อผลของการออกเสียงประชามติที่ลดลงได้” นายวันชัย กล่าว
นายวันชัย กล่าวด้วยว่าตนมองว่าเหตุผลที่ฝ่ายผู้เปิดประเด็นดังกล่าว หรือ พรรคการเมืองที่ออกมาสนับสนุนนั้น เป็นมุมมองเรื่องการเมือง ไม่มีประโยชน์สำหรับประชาชนหรือประเทศ เพราะในหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้น สาระสำคัญเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ส่วนตัวมองด้วยว่าหากจะแก้ไขอาจจะทำให้ยืดเวลาการแก้รัฐธรรมนูญออกไป จากเดิมที่อาจจะใช้เวลาแค่สมัยของรัฐบาลปัจจุบัน
เมื่อถามถึงการตั้งคำถามประชามติ ที่ขณะนี้พบว่ามีข้อเสนอให้เป็นประเด็นพ่วง เช่น ไม่แก้หมวด 1 และ หมวด2 , ที่มาของ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นายวันชัย กล่าวโดยเชื่อว่า การตั้งคำถามประชามติต้องมาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งหารือร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องเป็นคำถามแบบง่าย และไม่จำเป็นต้องมีประเด็นหรือคำถามพ่วง เช่น เห็นด้วยหรือไม่ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ โดยส.ส.ร. ส่วนประเด็นย่อยที่เกิดขึ้นนั้น คือ รูปแบบของการรับฟังความเห็นของอนุกรรมการรับฟังความเห็นเพื่อนำไปประกอบการศึกษาแนวทางการทำประชามติเท่านั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.แพ้! กมธ.ประชามติ ฝั่ง สว. โหวตชนะ ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น แก้รัฐธรรมนูญ
นายกฤช เอื้อวงศ์ สว. พร้อมด้วย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แถลงผลการประชุมครั้งที่ 3 เพื่อหาข้อยุติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.
สุดลิ่ม! ‘วันชัย’ มั่นใจ ‘ทักษิณ-พท.’ ตั้งหลักได้อะไรก็ฉุดไม่อยู่ ปล่อยนักร้องอกแตกตาย
ถ้าคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยตั้งหลักได้เมื่อไร อะไรก็รั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ถึงกับกล้าประกาศว่าเลือกตั้งคราวหน้าจะคว้าให้ได้ถึง 200 เสียงขึ้น
'ทักษิณ' ยันพรรครัฐบาลไม่แตะ 112 เผยเคยเตือนสติ 'ธนาธร' มาแล้ว!
"ทักษิณ" เผยพรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันไม่แตะ มาตรา 112 โอดตัวเองตกเป็นเหยื่อเพราะถูกหมั่นไส้ เคยคุย "ธนาธร" ขอให้ช่วยกันทำเพื่อบ้านเมือง หากจะแก้กฎหมายควรทำทีละขั้นตอน อย่าไปมุ่งหาเสียง บางทีจุดโฆษณาอันตรายกว่าสิ่งที่ตั้งใจทำ
'ชูศักดิ์' ลั่นหาทางแก้รัฐธรรมนูญให้เร็วขึ้น เสร็จในรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ไปแล้วว่าจะใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ก็คงจะยืนตามนั้น
'กล้าธรรม' ย้ำจุดยืนแก้ รธน.ห้ามแตะหมวด1,2 นิรโทษกรรมไม่รวมคดี112
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคกล้าธรรม กล่าวถึงจุดยืนของพรรค ในการแก้รัฐธรรมนูญ (รธน.) ว่า ได้มีการหารื
'นิกร' เสนอถอยคนละก้าว ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากชั้นครึ่ง สส.-สว.เห็นต่างประชามติ
นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. … กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ให้ทั้งกมธ. สส.และสว. ได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ยังยืนเหมือนเดิมเกี่ยวกับผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียง ซึ่งฝ่ายสว.ยังคงยืนยันที่จะใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น