'ยุติธรรม' จ่อชง ร่างพรบ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล เข้าที่ประชุมครม.


11 พ.ย.2566 - นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้าการผลักดันกฎหมายของรัฐบาล ในส่วนของกฎหมายที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม และขจัดการเลือกปฏิบัติ ว่า ล่าสุด พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้ลงนามเสนอร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีกลไกทางกฎหมายในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลในทุกรูปแบบ ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา เพศ เพศสภาพ วิถีทางเพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือจิต สุขภาพ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้พ้นโทษ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่ออื่น การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง ความคิดเห็นอื่น อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใดจะกระทำมิได้ ซึ่งสอดคล้องตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 2 (1) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ 2 (2) (ICESCR) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 และมาตรา 27

สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ มีจำนวนทั้งหมด 48 มาตรา แบ่งเป็น 5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล ประกอบด้วย อารัมภบท (มาตรา 1-5 ) หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 6-9) หมวด 2 คณะกรรมการส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลและสภาส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล (มาตรา 10-21) หมวด 3 การบริหารงาน (มาตรา 22) หมวด 4 การคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล (มาตรา 23-39) หมวด 5 มาตรการบังคับ (มาตรา 40-46) และบทเฉพาะกาล (มาตรา 47-48)

“ยืนยันว่ารัฐบาลส่งเสริมและผลักดันกฎหมายเพื่อสังคม เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ขจัดการเลือกปฏิบัติ เพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของสังคม โดยรัฐบาลจะเดินหน้าอย่างส่งเสริมความเสมอภาคอย่างต่อเนื่อง ตามที่ได้แถลงนโยบายของ ครม.ต่อรัฐสภา โดยจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน ควบคู่กับการสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชน สำหรับร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... จะเข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม. ตามขั้นตอนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หาก ครม.มีมติอนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทวี' สั่ง 'DSI' ตรวจสอบข้อเท็จจริง รื้อคดี 'แตงโม' ก่อนยื่นอัยการสูงสุดหรือไม่

ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ขอให้กระทรวงยุติธรรม ทำหนังสือถึงอัยการ

'ทวีไอพี สอดไส้' ยิ้มรับฉายาใหม่! แก้ข่าว 'ทักษิณ' แข็งแรงไม่เหมือนผู้ป่วย ภายนอกอาจใช่ แต่ภายในอาจป่วย

ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ว่า ต้องขอบคุณในฐานะที่ตนเป็นบุคคลสาธารณะ แต่

'ทวี' เผย 'โกทร' ไม่เข้าเกณฑ์พักโทษ หากป่วยส่งหาหมอราชทัณฑ์

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีการย้าย นายสุนทร วิลาวัลย์ และพวก จากเรือนจำจังหวัดนครนายก มายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

'รมว.ยุติธรรม' ยันรื้อคดีแตงโมได้หากมีหลักฐานใหม่

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รมว.ยธ.) เปิดเผยกรณี นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลืออาชญากรรมได้เข้ายื่นหนังสือเพื่อที่จะให้มีการรื้อคดีการเสียชีวิตของแตงโม

'สันธนะ' ซดแห้ว! 'ทวี' ยัน 'สุนทร' ไม่สามารถออกเรือนจำ มาแถลงข่าวปม 'สจ.โต้ง' ได้

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รมว.ยธ.) เปิดเผยกรณี นายสันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตตำรวจสันติบาล จะยื่นหนังสือถึงกระทรวงยุติธรรมขอให้ นายสุนทร วิลาวัลย์ หรือ โกทร ผู้ต้องหาในคดีการเสียชีวิตของ นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง