เชิญ 'กกต.' ถกละเอียดยิบปมทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ!

'วุฒิสาร' เชิญ 'กกต.'ถกหลักเกณฑ์ทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ หารือพ่วงเลือกตั้งท้องถิ่นปีหน้าได้หรือไม่

08 พ.ย.2566 - นายวุฒิสาร ตันไชย ในฐานะประธานอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ให้สัมภาษณ์ก่อนเป็นประธานการประชุม ว่ามีการเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาร่วมหารือเรื่องขั้นตอนทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การทำประชามติว่าตามกรอบกฎหมาย เงื่อนไขเวลาต่างๆ ในการกำหนดการทำประชามติแล้ว จะต้องมีขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างไร ซึ่ง เราก็อยากจะทราบว่า หากจะทำประชามติ จะมีการใช้งบประมาณเท่าไหร่

นายวุฒิสารกล่าวว่า จะหารือว่าการทำประชามติจะสามารถทำแบบการอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ หรือการทำประชามติที่ง่ายขึ้น เนื่องจากการทำประชามติครั้งนี้อาจแตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไป เพราะไม่มีส่วนได้เสียแบบตรงไปตรงมา เพราะฉะนั้นถ้าจะทำให้ง่ายขึ้น จะทำได้หรือไม่อย่างไร และจะมีการสอบถามจาก กกต.ว่า การตั้งคำถาม การทำประชามติ ซึ่งหลักการทำประชามติมีทั้งผลผูกพันกันกับคำถาม นั่นก็คือผูกพันกับรัฐบาล หรือเป็นประชามติแบบปรึกษาหารือ เพราะถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจมีประเด็นหลายเรื่อง ที่จะมีการสอบถามในเชิงหารือกับประชาชน ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะหารือกับ กกต.รวมถึงกรอบเวลาที่จะมีการเลือกตั้ง เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเข้าใจว่าปีหน้า หรืออาจจะต้นปี 2568 จะมีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งจะมีการเลือกตั้งทั้งประเทศ เราจะสามารถพ่วงกับการทำประชามติได้หรือไม่

“จะหารือกับ กกต.เพื่อให้ทราบแนวทางว่า ถ้าจะออกแบบ และถ้า อพิจารณาของอนุกรรมการชุดนี้เห็นว่าจะสามารถทำประชามติจะทำได้กี่ครั้งอย่างไร จะได้นำกรอบพิจารณา และระยะเวลาเหล่านี้ไปพิจารณาW

ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการกำหนดไทม์ไลน์ ที่จะสรุปข้อมูลทั้งหมดเมื่อใด นายวุฒิสาร กล่าวว่าตามที่นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ชี้แจงไปว่า ประมาณสิ้นปีนี้คงจะได้ข้อยุติเบื้องต้น เพื่อนำเสนอให้กับคณะกรรมการชุดใหญ่ เพราะอนุกรรมการ 2 ชุดที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งคณะอนุกรรมการที่ทำงานมากหน่อย ในขณะนี้คือชุดของนายนิกร ที่ไปรับฟังความคิดเห็น ซึ่งวันที่ 15 นี้ จะรับฟังความคิดเห็นที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่จะแก้ไข การจัดทำรัฐธรรมนูญ

นายวุฒิสาร กล่าวว่า อนุฯชุดของตนเอง จะพิจารณาในลักษณะข้อกฎหมาย เป็นการศึกษาข้อกฎหมายของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ผูกพันอยู่ ว่าสรุปแล้วการทำประชามติจะต้องทำกี่ครั้ง เพราะนโยบายรัฐบาลประกาศว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องคงหมวด 1 หมวด 2 ซึ่งก็ต้องมาดูว่าการยกเว้นหมวด 1 หมวด 2 จะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ อย่างไรก็ตามคณะอนุฯ ชุดนี้อาจมีการทอดเวลา ด้วยการรับฟังข้อมูล จากคณะอนุฯชุดที่สอง และรับฟังความเห็นของคนทั่วไป ขณะเดียวกัน ก็จะไปหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และ คนที่เป็นนักกฏหมายทั้งหลาย เพื่อมาช่วยกันให้คำตอบ

เมื่อถามว่า แสดงว่าเหลือเวลาไม่ถึง 2 เดือน นายวุฒิสาร กล่าวว่า ตามกรอบเวลาก็น่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้น ที่จะนำเสนอ แต่น่าจะมีความชัดเจนว่าหากจะทำต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ต้องหารือกับคณะกรรมการชุดใหญ่ก่อน

เมื่อถามว่า มีการกำหนด การประชุมครั้งสุดท้ายในช่วงสิ้นปีเมื่อไหร่ นายวุฒิสาร กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับประธานที่จะนัดประชุม ซึ่งปลายเดือนนี้ คิดว่าน่าจะมีการประชุมร่วมกัน และอีกครั้งหนึ่งคือในช่วงเดือนธันวาคม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดิเรกฤทธิ์' พ้อ! ไร้องค์กรตรวจสอบ กกต. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ 'เลือก สว.'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประชาธิปไตยต้องไม่มีอำนาจใดไม่ถูกตรวจสอบ"

ชัดเจน! เสี่ยหนูบอกนายกฯ แล้วไม่เห็นด้วยโยกกัญชากลับมาเป็นยาเสพติด

'อนุทิน' แจ้งนายกฯทราบ เตรียมโหวตไม่เห็นด้วยกัญชากลับเป็นยาเสพติดในที่ประชุม ป.ป.ส. หลังเกิดความไม่สบายใจ ชี้พรรคร่วม รบ.ต้องสนับสนุนนโยบายซึ่งกันและกัน ข้องใจ สธ.เปลี่ยนความเห็นกลับไปกลับมา

เลขาฯกกต. โต้ก้าวไกล ปมยื่นยุบพรรค

นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต และนายทะเบียนพรรคการเมือง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึงอำนาจ และการปฏิบัติหน้าที่ของกกต. เลขาฯกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมืองต่อกรณีการยื่นยุบพรรคการเมือง

'พิชัย' แก้เกี้ยวบอกดิจิทัลวอลเล็ตคิดตั้งแต่วันแรกไม่ใช่คิดไปทำไป

'พิชัย' ยันรัฐบาลจัดสรรเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ย้ำไม่ใช่คิดไปทำไป แต่คิดตั้งแต่วันแรกว่าต้องมีนโยบาย 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ชี้หากจะแก้ปัญหาโครงสร้าง ต้องรู้ก่อนว่าทำให้ใคร