เลขาฯกกต. ชี้ประชาชนคือคนเลือกนโยบายแจกเงินหมื่น หากทุจริตก็ว่ากันตามกฎหมาย

เลขาฯกกต. แจงดูนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทตาม 3 เงื่อนไขของรธน. ย้ำทำตามกฎหมาย ไม่ได้ทำตามความรู้สึก พร้อมร่วมตรวจสอบกับ สตง. - ป.ป.ช. โยนประชาชนคือด่านแรกที่เลือกนโยบายนี้มา

3 พ.ย.2566 - นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะทำงานตรวจสอบนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท และมีกกต.ร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้วยว่า ในช่วงเลือกตั้งพรรคการเมืองจะเสนอนโยบายที่จะต้องใช้จ่ายเงินต้องชี้แจงข้อมูลให้ครบ 3 เงื่อนไข 1.แหล่งที่มาของเงิน 2.ประโยชน์ที่จะได้รับ 3.ความเสี่ยงของนโยบายนั้นๆ ซึ่งกกต.ไม่มีอำนาจที่จะไปอนุญาตให้ใครหาเสียงได้ หรือไม่ได้ แต่ขอให้พรรคการเมืองจัดทำข้อมูลให้ครบใน 3 เงื่อนไข เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะออกเสียงลงคะแนนให้หรือไม่ ถ้านโยบายนั้นจะทำให้การเงินการคลังของประเทศเสียหาย ก็จะมีรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจตามมาตรา 245 โดยระบุว่าให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำความเห็น ถ้าพบว่านโยบายจะสร้างความเสียหายต่อการเงินการคลังของประเทศ ให้หารือร่วมกันกับกกต. และป.ป.ช แต่ถ้าดำเนินการนโยบายนั้นๆแล้วเกิดการทุจริต ก็จะเป็นหน้าที่ของป.ป.ช.ในการตรวจสอบ ซึ่งกฎหมายออกแบบมาอย่างถูกต้องครอบคลุมแล้ว

เมื่อถามว่าในการชี้แจงของพรรคเพื่อไทยได้ระบุแหล่งที่มาของเงินว่ามาจากพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี นายแสวง กล่าวว่า ณ วันที่ออกนโยบายพรรคการเมืองมีเวลาคิด ซึ่งนโยบายคือกรอบที่วางไว้กว้างๆ เวลาจะนำมาใช้จริงก็ต้องมาปรับ เช่น นโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลเมื่อมีการมารวมกันในการจัดทำนโยบายก็ต้องมีการถอยคนละก้าวเพื่อให้สามารถเดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งบางนโยบายอาจไม่ดำเนินการในปีนี้ ตนหมอว่าการที่พรรคการเมืองพยายามทำตามนโยบายเป็นเรื่องที่ดีของการเมืองไทย ส่วนดีหรือไม่ต้องรอดู ซึ่งมีกระบวนการในการตรวจสอบ ซึ่งต้องรอดูว่าจะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน

ถามว่ามีการมาร้องกกต.ให้ตรวจสอบ กกต.จะตรวจสอบเรื่องนี้อย่างไร นายแสวง กล่าวว่า เราจะไม่เอาความรู้สึกของคนมาบริหารประเทศไม่ได้ แต่เราทราบถึงความรู้สึกนั้นว่าประชาชนคาดหวังอย่างไร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะนี้ขยับหมดทั้ง สตง. และป.ป.ช. ในส่วนของกกต.ก็พร้อมร่วมทำงานกับสตง.และป.ป.ช. ขณะที่ป.ป.ช.ตั้งคณะทำงานตรวจสอบในเรื่องนี้ กกต.ก็เข้าให้ข้อมูล โดยเรื่องนี้เป็นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงไม่น่าหนักใจแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นเรื่องเทคนิคทางการเงินต้องถามหน่วยงานอื่น

ถามอีกว่า ก่อนหน้านี้กกต.ได้ยกคำร้องว่านโยบายแจกเงินดิจิทัลไม่ได้เข้าข่ายว่าเป็นการสัญญาว่าจะให้ จะส่งต่อการที่กกต.เข้าร่วมพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ นายแสวง ย้ำว่า นโยบายที่ต้องใช้จ่ายเงินเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์มาตรา 57 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง คือนโยบายก็ต้องว่ากันตามกฎหมาย เมื่อนโยบายผ่านประชาชนจากการเลือกตั้ง ทุกพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายที่ใช้เงินในลักษณะแบบนี้ ประชาชนจะต้องพิจารณาใน 3 เงื่อนไขไม่ใช่กกต.ที่เป็นผู้พิจารณา โดยกกต.ดูเพียงว่าพรรคการเมืองเสนอครบตาม 3 เงื่อนไขหรือไม่

"ประชาชนต้องดูว่า 3 เงื่อนไขว่าประชาชนจะเลือกคุณไหม มันเสี่ยงหรือคุ้มค่าหรือไม่ แล้วก็ไปโหวตถ้าโหวตไม่ผ่านก็ไม่ผ่านตั้งแต่ประชาชน ถ้าผ่านด่านประชาชนแล้วก็จะต้องถึงด่านรัฐธรรมนูญต่อ แล้วมาด่านป.ป.ช.ต่อไป ระบบวางไว้แบบนี้ อย่าว่าต่อๆทำตามกฎหมายเราไม่ได้ทำตามความรู้สึกคน" นายแสวง กล่าวว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.หายห่วง! ชูเลือกตั้งอบจ. รู้สึก ‘ปลอดภัย’

"แสวง" ปลุกเจ้าหน้าที่ กกต.! ยันไม่ได้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยหลังจากที่ได้ลงตรวจเยี่ยมการสมัครรับเลือกตั้งที่ปราจีนบุรี ไม่คิดว่าผู้สมัครนายก อบจ.คนไหนจะสร้างความรุนแรง

ดร.ณัฏฐ์ มองการเมืองไทยปี 68 'รัฐบาลอิ๊งค์' มีเสถียรภาพ อยู่ยาวถึงปี 70

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้การเมืองไทยปี 2568 “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” กุมเสียงข้างมาก รัฐบาลมีเสถียรภาพ แม้เจอโรครุมเร้า นักร้องเรียนรายวัน ยังไม่มีตัวแปรใดล้มรัฐบาล ฟันธง รัฐบาลอยู่ยาวถึงปี 2570

เลขาฯกกต. ย้ำเจ้าหน้าที่จัดเลือกตั้งอบจ. ภายใต้กรอบกฎหมาย เป็นธรรม สุจริต

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​ เป็นประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมอบรมเสริมสร้างความรู้เท่าทันการกระทำผิดทางการเมืองในการเลือกตั้ง อบจ.” ที่องค์การบริหาร

ภูมิใจไทย เฮ! รอดคดียุบพรรค

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย พ.ต.ท. ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ รองเลขาธิการ กกต. , น.ส.โชติกา แก้วผล ผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัดปราจีนบุรี และคณะ ร่วมสังเกตการณ์การรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.ปราจีนบุรีและนายก อบจ.จังหวัดปราจีนบุรี ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี