31 ต.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุม คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)ว่า ที่ประชุม ก.ร.ได้พิจารณาเลขาสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ โดยมีมติเห็นชอบให้ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ ในฐานะรักษาการเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนต่อไป โดยตนจะเสนอชื่อนายอาพัทธ์ เพื่อโปรดเกล้าฯต่อไป
ทั้งนี้เหตุผลที่เห็นชอบร.ต.ต.อาพัทธ์ เป็นเลขาธิการสภาฯนั้น เพราะมีความอาวุโสสูงสุด มีประสบการณ์ทางด้านการประชุม และด้านกฎหมายรอบด้านมาแล้ว จึงเป็นบุคคลที่สมควรเสนอ ก.ร. และก.ร.ก็เห็นชอบตามที่รัฐสภาเสนอ ซึ่งกระบวนการเป็นไปตามกฎของ ก.ร. คือ ต้องมีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน ซึ่งคณะกรรมทั้ง 3 คน เห็นชอบให้ร.ต.ต.อาพัทธ์ เป็นผู้ที่มีคะแนนสูงสุด ตนจึงได้นำชื่อเสนอ ก.ร.ในวันนี้ ซึ่งตนไม่ได้มีปัญหาอะไร
นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า รายชื่อผู้สมัครมีทั้งหมด 5 คนจาก 6 คน ซึ่งมีผู้อาวุโสน้อยที่สุด และติดภารกิจต่างประเทศ จึงได้สละสิทธิ์ ทำให้เหลือ 5 คน ซึ่งได้มีการพิจารณาจากคะแนนของคณะกรรมการคัดเลือกทั้งความ อาวุโส อำนาจการบริหารงาน รวมทั้งให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ด้วย ส่วนที่ก่อนหน้านี้มีผู้สมัคร 3 คน ก็ได้มีคำสั่งยกเลิกไปแล้ว เพราะเห็นว่าผู้สมัครยังน้อยไป เนื่องจากมีรองเลขาฯถึง 6 คน แต่สมัครเพียง 3 คน ดังนั้นจึงคิดว่าควรเปิดโอกาสอีกครั้งเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่สุด
“ผมได้ยืนยันกับที่ประชุมก.ร.ว่าการแต่งตั้งคราวนี้นอกจากจะมีกรรมการแล้ว ผมขอยืนยันว่าเราใช้กฎของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 อย่างเคร่งครัด คือไม่มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง จากสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกรัฐสภา หรือบุคคลอื่น แต่ให้เป็นไปตามความสามารถทุกประการ ซึ่งไม่มีใครสงสัยอะไร”นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว
เมื่อถามว่า ในรอบแรกที่มีผู้สมัคร 3 คน และมีการร้องเรียนทำให้ต้องยกเลิกใช่หรือไม่ ประธานสภาฯ กล่าวว่า มีการร้องเรียนอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สาระสำคัญคือ เราต้องการให้มีผู้สมัครจำนวนมาก เพื่อที่จะให้มีการคัดเลือกด้วยความรอบคอบ และไม่มีการครหาว่าจะมีการล็อกให้คนนั้นคนนี้ จึงได้ชี้แจงชัดเจนว่าให้ทุกคนที่มีคุณสมบัติพร้อมก็ให้มาสมัคร ไม่มีการแทรกแซง ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามนั้น ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรที่ตนรับผิดชอบเขาได้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และเมื่อจะมีการเลื่อนระดับสูงก็ไม่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ราชการทั้งหลายมีกำลังใจว่าใครมีความรู้ ความสามารถ ก็จะได้รับการสรรหาได้ ไม่ใช่ว่ามีความหวั่นวิตกว่าจะมีการแทรกแซงว่ามีการล็อกคนนั้นคนนี้ ยืนยันว่าในยุคที่ตนเป็นประธานสภาฯไม่มีเรื่องแบบนี้แน่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?
ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา
'ครูหยุย' แนะรัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ เป็นของขวัญวันเด็ก แทนให้คำขวัญ
'ครูหยุย' แนะรัฐบาลเปลี่ยนจากให้คำขวัญวันเด็ก เป็นมอบของขวัญที่มีค่า ประกาศเจตนารมณ์ 'ไม่โกง-ซื่อสัตย์สุจริต-ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลวงเด็ก'
'พท.' เดินหน้าดันร่างแก้ รธน. ไม่แตะหมวดพระมหากษัตริย์
'วิสุทธิ์' เผย 7 ม.ค.นี้ เตรียมขอมติ 'สส.พท.' ชงร่างแก้ รธน. ย้ำสาระสำคัญ ไม่แก้หมวด1-2 ประเมินหากทำแบบสุดโต่ง อาจเกิดขัดแย้งรอบใหม่
'ประธานสภาฯ' อวยพรปีใหม่คนไทย ให้มีความสุข แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งปวง
ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคำอวยพรเนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ ปี 2568 ที่กำลังจะมาถึงนี้
ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน
'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้
'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)