‘จเด็จ’ สงสัย แก้รธน. แล้ว ปชช.ได้ประโยชน์อะไร มองมีแต่จะสร้างความแตกแยกเพิ่ม ชี้ยิ่งทำประชามติ-ตั้งส.ส.ร. ยิ่งเสียงบฯ เผย สว.ค่อนสภาไม่เอาด้วย
30 ต.ค.2566-ที่รัฐสภา นายจเด็จ อินสว่าง สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการรับฟังความเห็นในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ทางกมธ.พัฒนาการเมืองฯ กำลังรับฟังกันอยู่ แต่ในมุมมองของตน ตนว่าคำถามหนึ่งที่ไม่ค่อยได้พูดให้ประชาชนทราบว่า จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม แก้แล้วได้ประโยชน์อะไร ที่ตนพูดไม่ได้หมายความว่า ไม่เห็นด้วย แต่ช่วยไตร่ตรองให้ดีว่า อะไรที่ทำแล้วเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนก็ควรทำ หากแก้แล้วประชาชนมีงานทำมากขึ้น มีความสมดุลของรายได้เพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียนดีขึ้น ตนว่าก็ควรแก้ แต่ตนยังไม่เห็นประโยชน์ เป็นการแก้เอามัน ไม่ได้แก้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน
ถามว่า ขณะนี้ยังไม่ต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายจเด็จ กล่าวว่า ยังไม่ต้องเร่งทำ หากกังวลเรื่องอำนาจสว. ชุดนี้ ก็จะหมดลงในเดือนพ.ค. 2567 ไม่ต้องกังวลเรื่องเหล่านี้ ตรงกันข้ามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะก่อให้เกิดการถกเถียง แสดงความเห็นต่าง ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่อคนในชาติ ที่สำคัญประชาชนประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติได้อะไรขึ้นมา ซึ่งขณะนี้พวกเราอยู่กันอย่างมีความสุขแล้ว
“ตั้งแต่พรรคการเมืองประกาศจะแก้รัฐธรรมนูญแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร แก้เพื่ออะไร ยิ่งไปตั้ง ส.ส.ร. และทำประชามติ ยิ่งทำให้เปลืองงบประมาณมากมาย ผมว่าลองคิดให้ดีๆ ส่วนทางออกผมมองว่า เราก็ต้องมีการพูดคุยหามุมมองกัน ผมว่าในที่สุดแล้วก็คงไปไม่ถึงทำประชามติเพื่อยกร่างใหม่”
ซักว่า หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าที่มารัฐธรรมนูญปี 2560 มาจากการทำรัฐประหารจึงต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายจเด็จ กล่าวว่า ก็พูดวนอยู่อย่างนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการทำรัฐประหาร แต่ก็มาจากการทำประชามติ รับฟังความคิดเห็นประชาชนเช่นกัน ประชาชนก็ได้แต่นั่งมองว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะดีขึ้น เมื่อประชาชนจะมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่านี้ในหลายๆ ด้าน พูดกันตรงนี้ดีกว่า
เมื่อถามต่อว่า หากเสนอเข้าที่ประชุมสภาฯ นายจเด็จจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ นายจเด็จ กล่าวว่า ตนจะดูว่าเขาจะยังแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือจะแก้เป็นรายมาตรา ตนก็จะอภิปรายว่าในแต่ละมาตราที่จะแก้นั้น เป็นประโยชน์กับประชาชนหรือไม่ หากแก้ทั้งฉบับตนก็ไม่เอาด้วยอยู่แล้ว ส่วนมีสว. คนอื่นๆ คิดเช่นเดียวกันกับตนด้วยหรือไม่นั้น ก็ค่อนสภาฯ ที่คิดแบบนี้
ถามว่า แม้จะยกเว้นการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ทางสว. ก็ยังคงไม่เห็นด้วยใช่หรือไม่ นายจเด็จ กล่าวว่า ต้องดูอีกที เพราะหมวด 1 และหมวด 2 มีกว่า 38 มาตรา ซึ่งหลีกเลี่ยงยาก มีหลายอย่างที่ควรคำนึงให้มาก และที่สำคัญคือประชาชนได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาจากการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)
‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก
ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
พรรคร่วมรบ.เห็นต่างไร้ปัญหา
เปิดผลโหวต กม.ประชามติ ภท.งัดมติวิป รบ.ไฟเขียวฉบับ กมธ.ร่วมฯ ผงะ รทสช. 25 คนล่องหน
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
'เอกนัฏ' มั่นใจไม่กระทบเอกภาพรัฐบาล ปมโหวตต่างกฎหมายประชามติ
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคร่วมรัฐบาลโหวตแตกต่างร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติว่า สส.พรรครทสช.